วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ

อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ 

อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ แต่ธรรมสองอย่างนี้ห่างกันเป็นประดุจเส้นขนาน คือเส้นทางแห่งโลกียะและเส้นทางแห่งโลกุตระ

ดังปรากฏในสันถารวรรค ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ตติยปัณณาสก์ พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นลำดับ ดังนี้

๑. สันถาระ  คือการรับรอง มี ๒ อย่าง คือ

๑.๑ อามิสสันถาร (การรับรองด้วยอามิส) เป็นการใช้ปัจจัย ๔ คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพื่อปกปิดช่องว่างระหว่างตนและคนอื่น ชื่อว่าอามิสสันถาร

๑.๒ ธัมมสันถาร (การรับรองด้วยธรรม) เป็นการใช้ธรรม ๔ คือการต้อนรับด้วยการพูดจาปราศรัย ด้วยคำพูดที่สุภาพอ่อนโยน ด้วยคำพูดที่อ่อนหวาน และด้วยคำพูดประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อปกปิดช่องว่างระหว่างตนและคนอื่น ชื่อว่าธรรมสันถาร

๒. ปฏิสันถาระ  คือการตอนรับ (การต้อนรับด้วยอามิสและการต้อนรับด้วยธรรม) มีนัยอย่างเดียวกันกับสันถาระ

๓. เอสนา  คือการเสาะหา (การเสาะหาอามิสและการเสาะหาธรรม)

๔. ปริเยสนา  คือการแสวงหา (การแสวงหาอามิสและการแสวงหาธรรม)

๕. ปริเยฏฐิ  คือการค้นหา (การค้นหาอามิสและการค้นหาธรรม)

๖. ปูชา  คือการบูชา (การบูชาด้วยอามิสและการบูชาด้วยธรรม)

๗. อติเถยยะ  คือของตอนรับ (ของต้อนรับแขกคืออามิสและของต้อนรับแขกคือธรรม)

๘. อิทธิ  คือความสำเร็จ (ความสำเร็จทางอามิสและความสำเร็จทางธรรม)

๙. วุฑฒิ  คือความเจริญ (ความเจริญด้วยอามิสและความเจริญด้วยธรรม)

๑๐. รัตนะ  คือแก้วอันประเสริฐ (รัตนะคืออามิสและรัตนะคือธรรม)

๑๑. สันนิจยะ  คือการสะสม (การสะสมอามิสและการสั่งสมธรรม)

๑๒. เวปุลละ  คือความไพบูลย์ (ความไพบูลย์แห่งอามิสและความไพบูลย์แห่งธรรม)

บรรดาธรรมทั้ง ๒ อย่างนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ธรรมเป็นเลิศกว่าอามิส”

เพราะฉะนั้น ผู้แสวงหาที่พึ่งอันประเสริฐแห่งตนจงให้ความสำคัญในธรรมให้ยิ่งกว่าอามิสเถิด ฯ

สาระธรรมจากสันถารวรรค ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ตติยปัณณาสก์

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

9/5/65 

เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย

"พระเจ้าใหญ่" วัดหงษ์ จังหวัดบุรีรัมย์

เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ปางสมาธิ สร้างด้วยศิลาแลง ศิลปะแบบพื้นเมือง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง อายุประมาณ 300 ปีเศษ สันนิษฐานว่า สร้างโดยช่างสกุลลาว ศิลปะล้านช้าง 

Previous Post
Next Post

0 comments: