วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อาปายิกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ)

อาปายิกสูตร (พระสูตรว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปสู่อบายภูมิ)

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ (ถ้า) ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก

บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารี

๒. บุคคลที่ตามกำจัดท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยกรรมที่ไม่มีมูลอันเป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์

๓. บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามไม่มี” แล้วถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล (ถ้า) ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก” ดังนี้ ฯ

ในอาปายิกสูตรนั้นท่านพระอรรถกถาจารย์อธิบายเนื้อความไว้ดังต่อไปนี้

๑. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาปายิกา เพราะจะไปสู่อบาย

๒. สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เนรยิกา เพราะจะไปสู่นรก

๓. บทว่า “ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้” คือ ไม่ละกรรมชั่วทั้ง ๓ มีการปฏิญาณตนว่า “เป็นพรหมจารี” เป็นต้นนี้

๔. บทว่า “บุคคลที่ไม่ใช่พรหมจารี” ได้แก่ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เทียม หรือผู้มีปฏิญาณอย่างนี้ว่า “แม้เราก็เป็นพรหมจารี” โดยไม่ละอากัปกิริยา(ที่ชั่ว)ของพวกเขา

๕. บทว่า “ตามกำจัด” คือ ด่า บริภาษ ติเตียน

๖. บทว่า “โทษในกามไม่มี” คือ ผู้ซ่องเสพกิเลสกามและวัตถุกามโดยคิดว่า “มันไม่มีโทษ” (อันที่จริงกิเลสกามและวัตถุกามมีโทษมาก)

๗. บทว่า “แล้วถึงความเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย” คือ ถึงความเป็นผู้จะต้องดื่ม ถึงความเป็นผู้จะต้องบริโภค ถึงความเป็นผู้จะต้องดื่มกิน เหมือนการดื่มน้ำของผู้กระหายน้ำ ด้วยจิตปราศจากความรังเกียจ (ในกามทั้งหลาย)

๘. บทว่า “บุคคลที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้” คือ บุคคลที่มีวาทะและทิฏฐิในลัทธิที่มีความเชื่อถือผิดๆ

๙. ในพระสูตรนี้ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว คือบุคคลที่ไม่ละบาปกรรม ๓ ประการนี้ ต้องไปอบายภูมิ ต้องไปนรก ต้องเวียนวายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอย่างยาวนาน ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอาปายิกสูตร ตติยปัณณาสก์ ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย 

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 15/5/65

ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ?เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน 

2,300 years old Standing Buddha paintings in Dhammachakra mudra in Pitalkhora Buddhist caves.

The Pitalkhora Buddhist Caves, in the Satmala range of the Western Ghats of Maharashtra, India, are an ancient Buddhist site consisting of 14 rock-cut cave monuments which date back to the third century BCE, making them one of the earliest examples of rock-cut architecture in India. 









Previous Post
Next Post

0 comments: