ความอดทน คือ อะไร ?
ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึงการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของสกปรก หรือของหอม ของดีงามก็ตาม
งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้ นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมข้อหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมข้อนั้นคือ ขันติ
ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้นทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น
ลักษณะความอดทนที่ถูกต้อง
๑. มีความอดกลั้น คือเมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจสนใจแต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือสามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้ายทำอันตรายด้วยอำนาจแห่งความโกรธนั้น ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน มีคำตรัสของท้าวสักกะเป็นข้อเตือนใจอยู่ว่า
“ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธก่อนแล้ว
ผู้นั้นกลับเป็นคนเลวกว่าผู้ที่โกรธก่อน
ผู้ที่ไม่โกรธต่อบุคคลผู้กำลังโกรธอยู่
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ชนะสงครามอันชนะได้ยากยิ่ง” สํ. ส. ๑๕/๘๓๕/๓๒๕
๓. ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหล ด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของเรา
๔. ใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือมีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ ไม่พยาบาท ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบาน
ลักษณะความอดทนนั้น โบราณท่านสอนลูกหลานไว้ย่อๆ ว่า
“ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย”
คนบางคนขี้เกียจทำงาน บางคนขี้เกียจเรียนหนังสือ บา
___
ในทางวิชาการ ท่านว่าคุณธรรมเหล่านี้เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของ ขันติ (เมื่อมีขันติ ก็จะมีคุณธรรมเหล่านี้แฝงอยู่ด้วยเสมอ) กล่าวคือ :
(1) เมตตา = ความรัก (love)
(2) ตีติกขา = ความอดกลั้น (forbearance)
(3) อวิหิงสา = ความไม่เบียดเบียน (tolerance)
(4) อักโกธะ = ความไม่โกรธ (meekness)
(5) โสรัจจะ = ความสงบเสงี่ยม, ความว่านอนสอนง่าย (docility, tractableness)
(6) มัททวะ = ความสุภาพอ่อนโยน (gentleness)
Credit: Sunant Ruchiwet Phramaha
สันโดษ คือ อะไร? , ความกตัญญู คือ อะไร ?
มงคลที่ 1 , มงคลที่ 2 , มงคลที่ 3, มงคลที่ 4 , มงคลที่ 5 , มงคลที่ 6 , มงคลที่ 7 , มงคลที่ 8 , มงคลที่ 9 , มงคลที่ 10 , มงคลที่ 11 , มงคลที่ 12 , มงคลที่ 13 , มงคลที่ 14 , มงคลที่ 15 , มงคลที่ 16 , มงคลที่ 17 , มงคลที่ 18 , มงคลที่ 19 , มงคลที่ 20 , มงคลที่ 21 , มงคลที่ 22 , มงคลที่ 23 , มงคลที่ 24 , มงคลที่ 25 , มงคลที่ 26 , มงคลที่ 27 , มงคลที่ 28 , มงคลที่ 29 , มงคลที่ 30 , มงคลที่ 31 , มงคลที่ 32 , มงคลที่ 33 , มงคลที่ 34 , มงคลที่ 35 , มงคลที่ 36, มงคลที่ 37, มงคลที่ 38 ฯ
0 comments: