วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564

พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖,  สิงคาลมาตาออกบวช

พระสิงคาลมาตาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ เดิมมีชื่ออย่างไร ไม่ปรากฏ เมื่อเจริญวัยได้แต่งงาน กับชายหนุ่มผู้มีชาติตระกูล และทรัพย์เสมอกัน อยู่ครองเรือนจนมีบุตร หนึ่งคน บรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อบุตรชายของนางวา “สิงคาลกุมาร” ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึง เรียกนางว่า “สิงคาลมาตา”

สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖

สิงคาลกุมาร เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้น เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติไหว้ทิศทั้ง ๖ เป็นประจำ ทุกวัน คือ  ๑. ทิศเบื้องหน้า (ทิศตะวันออก) ๒. ทิศเบื้องขวาง (ทิศใต้) ๓. ทิศเบื้องหลัง (ทิศตะวันตก) ๔. ทิศเบื้องซ้าย (ทิศเหนือ) ๕. ทิศเบื้องล่าง ๖. ทิศเบื้องบน

วันหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวัน เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาละ ผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีผมและเสื้อผ้าเปียก กำลังประคองอัญชลีไว้ ทิศทั้ง ๖ อยู่จึงตรัสถามว่า :- “สิงคาละ เพราะเหตุไร เธอจึงลุกขึ้นแต่เช้า ทั้งผมและเสื้อผ้าเปียกชุ่ม ทำการไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่อย่างนี้

สิงคาลกุมาร กราบทูลว่า :- “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก่อนที่บิดาของพระพุทธเจ้าจะตาย ได้สั่งให้ข้าพระองค์ไหว้ทิศ ทั้ง ๖ เหล่านี้ ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ และบูชาคำสั่งของบิดา จึงทำอย่างนี้พระเจ้าข้า”

สิงคาละ ตามธรรมเนียมแบบแผน ของพระอริยะนั้น เขาไม่ไหว้ทิศ ๖ กัน อย่างนี้ แต่ ทิศทั้ง ๖ ของพระอริยะนั้น คือ  ๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา  ๒. ทิศเบื้องขวาง ได้แก่ ครูอาจารย์  ๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา  ๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย  ๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ทาสกรรมกร ๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์

ซึ่งกุลบุตร จะต้องบำรุงดูแลรักษา และป้องกันตามสมควรแก่ฐานะ และหน้าที่อย่างถูก ต้องเหมาะสม แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิต ยังสิงคาละให้รื่นเริงบันเทิงใจ เกิด ศรัทธาเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วเสร็จกลับสู่ พระเวฬุวัน

สิงคาลมาตาออกบวช

ต่อมา สิงคาลมาตา หลังจากที่สามีได้ถึงแก่กรรมแล้ว และบุตรชายของนาง ก็เข้าถึงพระ รัตนตรัย นางได้ฟังพระธรรมกถาของพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึง เข้าไปกราบทูลขอบรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรง อนุญาต ให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ ครั้นบวชแล้ว ศรัทธาของนางกลับเพิ่มทวียิ่งขึ้น.  

วันหนึ่ง นางไปยังพระวิหาร ที่ประทับของพระบรมศาสดา เพื่อฟังธรรม เมื่อเห็นพระ พุทธองค์เท่านั้น ยังมิทันที่จะเข้าไปกราบถวายบังคม ได้แต่ยืนเพ่งมองดูพระสิริสมบัติของ พระทศพล อยู่ด้วยกำลังศรัทธาอย่างแรงกล้า

ขณะนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบว่า นางเป็นผู้ดำรงมั่นในศรัทธา จึงตรัสพระธรรม เทศนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แม้นางเองก็อาศัยศรัทธาเป็นที่ตั้ง ส่งจิตไปตามกระแสพระ ธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในขณะที่ยืนอยู่นั้น

ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายใน ตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ได้ทรงสถาปนา พระสิงคาลมาตาเถรี ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลาย ในฝ่ายศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา.

ที่มา : https://www.thammapedia.com/sankha/bhikkhuni_singhalamata.php 




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: