วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

มงคลที่ ๑๗ ญาตกานญฺจ สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - การสงเคราะห์ญาติ เป็นอุดมมงคล

มงคลที่ ๑๗ การสงเคราะห์ญาติ - ญาตกานญฺจ สงฺคโห

ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้ คือ  ๑. เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้  ๒. เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย  ๓. เมื่อขาดยานพาหนะ  ๔ .เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน ๕. เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ๖. เมื่อคราวมีธุระการงาน  ๗. เมื่อคราวถูกใส่ความหรือมีคดี

การสงเคราะห์ญาติ ทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่ - ในทางธรรม ก็ช่วยแนะนำให้ทำบุญกุศล ให้รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา  - ในทางโลก ก็ได้แก่  ๑. ให้ทาน คือการสงเคราะห์เป็นทรัพย์สิน หรือเงินทองเพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์หรือความลำบากตามแต่กำลัง  ๒. ใช้ปิยวาจา คือการพูดเจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน สุภาพ และประกอบไปด้วยความปรารถนาดี  ๓. มีอัตถจริยา คือการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์กับเขา อาจช่วยเหลือด้วยแรงกาย กำลังใจ หรือด้วยความสามารถที่มี  ๔. รู้จักสมานัตตตา คือการวางตัวให้เหมาะสม อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ถือตัว

ที่มา : http://www.dhammathai.org 

ญาตกานญฺจ สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - การสงเคราะห์ญาติ เป็นอุดมมงคล

ญาตะกา นามะ มาติโต วา ปิติโต วา ยาวะ สัตตะมาติมะหะยุคา สัมพันธาติ อิธะ วิตตันติ.  บัดนี้ จักได้วิสัชนาใน ญาตะกะนัญจะ สังคะโห ตามพระบาลีอรรถกถาว่า ญาตะกา นามะ มาติโต เป็นต้น ดำเนินความว่า บุคคลผู้มีใจโอบอ้อมยินดีในที่จะสงเคราะห์แก่ญาติทั้งหลาย ที่เป็นฝ่ายบิดามารดานับเนื่องมา ๗ ชั่วตระกูล

กิริยาว่าญาติทั้งหลายฝ่ายบิดามารดา มีความยากจนอนาถาหาที่พึ่งไม่ได้ บุคคลที่เป็นญาติสงเคราะห์เอาใจใส่ ให้ข้าวน้ำผ้านุ่งผ้าห่มที่อยู่ที่อาศัย หรือให้ทุนไปค้าขายและให้พาหนะวัวควายช้างม้าไปทำไร่ไถนา และเรือแพนาวาเ้ครื่องใช้สอยน้อยใหญ่ เวลาเจ็บไข้ พาหยูกยารักษาพยาบาล เกิดถ้อยความช่วยเหลือกันแก้ไขให้ญาติทั้งหลายมีความสุขกายสุขใจหรือมีการงานสิ่งไรก็ช่วยให้สำเร็จ.

สงเคราะห์แก่ญาติอย่างนี้ ชื่อว่า สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรมนั้น คือ ชักชวนหมู่ญาติให้ก่อสร้างกุศล มีให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาเป็นต้น จนถึงให้บวชบรรพชาออกธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ให้ศีกษาเล่าเรียนเป็นที่สุดเรียกว่า  ญาตะกานัญจะ  สังคะโห สงเคราะห์แก่ญาติของตน จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

อนึ่ง การสงเคราะห์แก่ญาติทั้งหลายนี้ เป็นประเพณีแห่งโพธิสัตว์เจ้า ได้กระทำมาแต่กาลก่อน ให้เห็นชัดเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่นนิทานเรื่องพญาสุนัข พญานกกระจาบและเศรษฐีไม่มีบุตร ฯลฯ 

ที่มา : http://larnbuddhism.com

มงคลที่ 1 , มงคลที่ 2 , มงคลที่ 3มงคลที่ 4 , มงคลที่ 5 , มงคลที่ 6 , มงคลที่ 7 มงคลที่ 8 , มงคลที่ 9 , มงคลที่ 10 , มงคลที่ 11 , มงคลที่ 12 , มงคลที่ 13 , มงคลที่ 14 , มงคลที่ 15 , มงคลที่ 16 , มงคลที่ 17 , มงคลที่ 18 มงคลที่ 19 , มงคลที่ 20 , มงคลที่ 21 , มงคลที่ 22 , มงคลที่ 23 , มงคลที่ 24 มงคลที่ 25 , มงคลที่ 26 , มงคลที่ 27 , มงคลที่ 28 , มงคลที่ 29 , มงคลที่ 30 , มงคลที่ 31 , มงคลที่ 32 , มงคลที่ 33 มงคลที่ 34 , มงคลที่ 35 , มงคลที่ 36มงคลที่ 37มงคลที่ 38 ฯ


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: