วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สุขเวทนาเป็นประดุจก้อนเหล็กแดงและหิมะ

สุขเวทนาเป็นประดุจก้อนเหล็กแดงและหิมะ

จะเป็นก้อนเหล็กแดงหรือหิมะก็ตาม หากเอามือไปจับนานๆก็จะถูกเผาเหมือนกัน แต่ทั้งสองอย่างนั้นร้อนเหมือนกันหรือไม่ ก็ตอบว่ามิได้ร้อนเหมือนกัน เพราะว่าจับก้อนหิมะมือจะไม่ถูกไหม้เหมือนการจับก้อนเหล็กแดงซึ่งมือจะถูกไหม้ด้วย ก้อนหิมะเย็นก็จริงแต่ทำไมจึงเผามือได้ทั้งที่มิได้มีความร้อน ข้อนี้ฉันใด

สุขเวทนาก็ฉันนั้น เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี  อันที่จริงถ้าเป็นกุศลย่อมเป็นสุขเท่านั้นมิใช่หรือ  แต่สุขเป็นอกุศลได้อย่างไร ?  ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า “บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ เสียงที่รู้ได้ด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย และธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนกำลังได้รับเฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปเป็นต้นเหล่านั้นที่ตนเคยได้เฉพาะในกาลก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น (โสมนัส คือความสุขใจ) โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน” ความสุขใจอันอาศัยเรือนอย่างนี้นี่แหละเป็นอกุศลด้วย  

ส่วนสุขที่เป็นกุศลนั้น ท่านอธิบายว่า “บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปเป็นต้นเหล่านั้นในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น (โสมนัส คือความสุขใจ) โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ (เนกขัมมะ คือการออกบวชหรือการออกจากกาม” ความสุขใจอันอาศัยเนกขัมมะอย่างนี้นี่แหละเป็นกุศลด้วย

เพราะฉะนั้น สุขเวทนาเป็นประดุจก้อนเหล็กแดงและหิมะ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่าเป็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขนั้นย่อมเป็นอกุศลและย่อมเป็นดุจหิมะที่กัดมือหรือเป็นดุจก้อนเหล็กแดงที่เผามือฉะนั้น แต่หากกำหนดรู้ตามความเป็นจริงย่อมเกิดความสุขใจและเป็นกุศลด้วยทั้งไม่ถูกเผาในอบายภูมิ

สาระธรรมจากมิลินทปัญหา

พระมหาวัชระ  เชยรัมย์  (ติกฺขญาโณ) , 5/5/64

มิลินทปัญหา (ตอนที่ 50) ,  (ตอนที่ 49) ,  (ตอนที่ 48) ,  (ตอนที่ 47) ,  (ตอนที่ 46) ,  (ตอนที่ 45) ,  (ตอนที่ 44) ,  (ตอนที่ 43) ,  (ตอนที่ 42) ,  (ตอนที่ 41) ,  (ตอนที่ 40) ,  (ตอนที่ 39) ,  (ตอนที่ 38) ,  (ตอนที่ 37) ,  (ตอนที่ 36) ,  (ตอนที่ 35) ,  (ตอนที่ 34) ,  (ตอนที่ 33) ,  (ตอนที่ 32) ,  (ตอนที่ 31) ,  (ตอนที่ 30) ,  (ตอนที่ 29) ,  (ตอนที่ 28) ,  (ตอนที่ 27) ,  (ตอนที่ 26) ,  (ตอนที่ 25) ,  (ตอนที่ 24) ,  (ตอนที่ 23) ,  (ตอนที่ 22) ,  (ตอนที่ 21 ต่อ) ,  (ตอนที่ 21) ,  (ตอนที่ 20) ,  (ตอนที่ 19) ,  (ตอนที่ 18) ,  (ตอนที่ 17) ,  (ตอนที่ 16) ,  (ตอนที่ 15) ,  (ตอนที่ 14) ,  (ตอนที่ 13) ,  (ตอนที่ 12) ,   (ตอนที่ 11) ,  (ตอนที่ 10) ,  (ตอนที่ 9) ,  (ตอนที่ 8) ,  (ตอนที่ 7) ,  (ตอนที่ 6) ,  (ตอนที่ 5) ,  (ตอนที่ 4) ,  (ตอนที่ 3) ,  (ตอนที่ 2) ,  (ตอนที่ 1) ,  ประโยชน์​การอุปมา​อันได้จากการศึกษา​คัมร์ในทางพุทธศาสนา มีคัมภีร์​มิลินท์​ปัญหาเป็นต้น​ ,   มิลินทปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการไม่เคลื่อนไปก็ปฏิสนธิได้  ,  เหตุไร ตรัสให้คฤหัสถ์โสดาบันกราบไหว้ ลุกรับภิกษุสามเณรปุถุชนเล่า?  ,  นิปปปัญจปัญหา ​- ปัญหา​เกี่ยวกับ​ธรรม​ที่ปราศจาก​เหตุ​ให้เนิ่น​ช้าในวัฏฏทุกข์  ,   ถามว่า​ อานิสงส์​การเจริญเมตตา​ ห้ามอันตราย​ต่างๆ​ เหตุไรสุวรรณ​สามผู้เจริญเมตตา​จึงถูกยิงเล่า?


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: