วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

ที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก

ที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก

[ณ บ้านกลันทะ ไม่ไกลจากกรุงเวสาลี มีลูกเศรษฐีคนหนึ่งชื่อสุทินน์ ซึ่งได้บวชเป็นพระภิกษุมาช่วงหนึ่ง พ่อแม่พยายามพูดหลายครั้งให้สึกแต่ก็ไม่ยอมสึก จนมาวันหนึ่งแม่ได้พาภรรยาเก่าที่คบกันมาก่อนบวช (ปุราณทุติยิกา) มาหาพระสุทินน์ในป่ามหาวัน]

แม่:   ตระกูลเรามีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ถ้าเจ้าไม่สึกออกมาดูแลสมบัติ เจ้าก็ควรมีลูกสืบสกุลไว้หน่อย สมบัติเราจะได้ไม่ถูกกษัตริย์ลิจฉวียึดไป

พระสุทินน์:  ถ้าเป็นเรื่องมีลูก น่าจะพอทำให้แม่ได้

[พระสุทินน์จึงจับแขนภรรยาเก่าเข้าไปในป่า เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยห้ามไว้ หลังจากนั้นนางก็ท้อง แต่พระสุทินน์กลับเกิดความรู้สึกหดหู่ เศร้าหมอง ทุกข์ใจที่ไม่สามารถทำตัวให้บริสุทธิ์ได้จนพระรูปอื่นทักว่าเปลี่ยนไป พระสุทินน์จึงเล่าให้ฟัง จนเรื่องไปถึงพระพุทธเจ้า]

พระพุทธเจ้า:  สุทินน์ ข่าวว่าเธอเสพเมถุน (มีเพศสัมพันธ์) กับภรรยาเก่านี่ จริงหรือ?

พระสุทินน์:  เป็นเรื่องจริงท่าน

พระพุทธเจ้า:  เธอทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควร ใช้ไม่ได้ เธอบวชแล้ว ทำไมทำตัวให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ธรรมะที่เราบอก เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ให้ละวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่นี่เธอกลับมีความกำหนัด อยากได้

เราเคยบอกไม่ใช่หรือว่าให้รู้ความอยากในกาม และละวางความอยากนั้นเสีย

การกระทำของเธอมีโทษ เธอเป็นคนแรกที่ทำอกุศล ทำให้คนเขาเสื่อมศรัทธา จากนี้เราจะบัญญัติข้อวินัยว่า ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก (ประเภทของโทษในการทำผิดวินัยขั้นหนักที่สุด คือ ขาดจากความเป็นพระทันที คำว่าปาราชิก แปลว่าผู้พ่ายแพ้ คือพ่ายแพ้ตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติตามวินัยได้)

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 1 (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เล่ม 1 ปฐมปาราชิกกัณฑ์), 2559, น.351-369

ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 1),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 2),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 3),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 4),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 5),  จะสอนใครเป็นคนแรกดี,  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 1),  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 2),  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 3),  ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง,  ส่งพระสงฆ์ออกไปแสดงธรรมแก่หมู่ชน,  จะตามหาผู้หญิงหรือตามหาตัวเอง,  วิธีที่ทำให้ชฎิลยอมรับสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนที่มาของวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา,  ที่มาของคู่สาวกพระพุทธเจ้า,  ให้ได้พบธรรมที่ดี,  ที่มาของอุปัชฌายะ (ผู้คอยสอดส่องเอาใจใส่)ที่มาของการเข้าพรรษา





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: