วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

ที่มาของการห้ามรับเงินทอง

ที่มาของการห้ามรับเงินทอง

[ณ วัดเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ พระอุปนันทศากยบุตรรับของฉันจากครอบครัวหนึ่งอยู่เป็นประจำ เช้าวันหนึ่ง เนื้อที่เตรียมไว้จะถวายให้พระอุปนันทะถูกเด็กที่บ้านขอไป เจ้าของบ้านจึงกล่าวกับพระอุปนันทะว่า]

เจ้าของบ้าน:  เนื้อที่เตรียมจะถวายให้กับท่าน มีเด็กที่บ้านขอไปแล้ว แต่ผมได้เตรียมเงินกหาปณะหนึ่ง (เงินตราสมัยอินเดียโบราณ 1 กหาปณะมีค่าเท่ากับ 4 บาท) เพื่อซื้อของถวายให้ท่านแทน ไม่ทราบว่าท่านจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายดี

พระอุปนันทะ:  เธอกะว่าจะใช้เงินนั้นซื้อของบริจาคให้เราอยู่แล้วใช่ไหม ?

เจ้าของบ้าน:  ใช่ครับ

พระอุปนันทะ:  ถ้างั้น เธอก็เอาเงินนั้นแหละให้เรา

[เจ้าของบ้านก็ยื่นให้ไป แต่ก็ตำหนิอยู่ว่าพระพวกนี้รับเงินเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งพระรูปอื่นที่ได้ยินแล้วไม่สบายใจก็ไปเล่าให้พระพุทธเจ้าฟัง]

พระพุทธเจ้า:  อุปนันทะ มีข่าวว่าเธอรับเงิน จริงหรือเปล่า?

พระอุปนันทะ:  เป็นความจริงท่าน

พระพุทธเจ้า:  การกระทำของเธอไม่เหมาะไม่ควร ใช้ไม่ได้ ทำไมถึงไปรับเงินเขา สงฆ์ไม่ควรทำ ทำให้คนเขาเสื่อมศรัทธา

ต่อไปนี้ ภิกษุรูปไหนรับเงินทอง ให้รับเงินทอง หรือยินดีเงินทองที่เก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โทษจากการทำผิดวินัยซึ่งต้องละสิ่งของที่ทำให้ต้องโทษนั้น)

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 3 (พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เล่ม 3 และภาค 2 เล่ม 1 นิสสัคคิยกัณฑ์), 2559, น.885-887

ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 1),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 2),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 3),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 4),  ช่วง 35 วันแรกหลังการตรัสรู้ (ตอน 5),  จะสอนใครเป็นคนแรกดี,  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 1),  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 2),  สอนธรรมะครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ (ตอน 3),  ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง,  ส่งพระสงฆ์ออกไปแสดงธรรมแก่หมู่ชน,  จะตามหาผู้หญิงหรือตามหาตัวเอง,  วิธีที่ทำให้ชฎิลยอมรับสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนที่มาของวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา,  ที่มาของคู่สาวกพระพุทธเจ้า,  ให้ได้พบธรรมที่ดี,  ที่มาของอุปัชฌายะ (ผู้คอยสอดส่องเอาใจใส่)ที่มาของการเข้าพรรษา, ที่มาของการกำหนดวินัยสงฆ์ข้อแรก


Ancient Buddhist money (kahapana)

Kahapana was the name of an ancient Indian coin. It was either gold, silver, or copper. Its shape was round or rectangular. In Sanskrit it was called a purana or "punch marked coin," in England a "crown."

Kahapanas are mentioned in early Buddhist literature, where their role was as a means of payment on the Indian subcontinent of antiquity. It is also in evidence in excavations.

In the story of the cat (Babbu Jataka) of the Pali canon, a rich mouse (the Bodhisatta) is so revered that the others daily bring him a kahapana with which he buys food. With this same food they then ransom from the claws of cats.

Ancient Buddhist money (kahapana)



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: