วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

“หากลมหายใจยังอยู่ จงรู้คิดพิจารณา”

“หากลมหายใจยังอยู่ จงรู้คิดพิจารณา”

ลมหายใจ มิใช่แค่ลมที่ปอดสูบเข้าออกทางจมูกหรือทางปากเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นอารมณ์ให้จิตระลึกถึงและเกิดความรู้สึกตัวได้ด้วย เป็นการเจริญสติปัญญา.  หมอโบราณท่านกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้ายเรียกว่า “จับลมปราณ” 

หากจะกำหนดรู้ลมหายใจมิใช่แค่ใช้สติระลึกถึงลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ยังต้องใช้ปัญญารู้สภาวะของลมหายใจเข้าออกที่มากระทบกับกายปสาทด้วยว่า “มันมีความเย็นร้อนหรืออ่อนแข่งหย่อนตึงหรือไม่” กำหนดรู้โดยความเป็นขันธ์ ๕ คือ ลมหายใจก็ดี กายปสาทก็ดี ความเย็นร้อนก็ดี จัดเป็นรูปขันธ์ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ การกระทบกันก็ดี การระลึกนึกถึงลมหายใจก็ดี ความรู้แจ้งอารมณ์ตามที่เป็นจริงก็ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ ความจำได้หมายรู้การกระทบกันและจุดที่ลมกระทบกับกายปสาท จัดเป็นสัญญาขันธ์ สภาวะที่เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น จัดเป็นวิญญาณขันธ์ 

เมื่อกำหนดรู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้  หากยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ก็จะเห็นความเป็นอนิจจังทุกขังและอนัตตา จะเข้าใจชีวิตผ่านลมปราณนี้ว่า “มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาวะที่มิใช่ตัวตน” อันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่านกลาง และดับไปในที่สุดอย่างแน่นอน.

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ), 22/4/64



Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: