วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2564

มงคลที่ ๘ สิปฺปญฺจ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - ความฉลาดในหัตกกรรม เป็นอุดมมงคล


มงคลที่ ๘ การรอบรู้ในศิลปะ - สิปปัญจะ 
๏ ศิลปะต่างอย่างทางอาชีพ  ควรเร่งรีบเรียนรู้ชูศักดิ์ศรี มีบางคนจนอับกลับมั่งมี ฉลาดดีมีศิลป์หากินพอ ๛

ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ  ๑. มีความปราณีต  ๒. ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น  ๓. ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  ๔. ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ  ๕. ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท  ๖. ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน

ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ  ๑. มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ  ๒. หมั่นสังเกตและพิจารณา  ๓. มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน  ๔. เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์ 

ที่มา : http://www.dhammathai.org 

สิปฺปญฺจ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ - ความฉลาดในหัตกกรรม เป็นอุดมมงคล

บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๘ สืบต่อไป ตามพระบาลี อรรถกถาดำเนินความว่า  สิปปัง  นามะ  อะนาคาริยะวะเสนะ เป็นต้น สิปปะ แปลว่า ความฉลาดในกานทำการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยมือ ก็ลักษณะสิปปะนี้ มี ๒ ประการ คือ อนาคาริยสิปปะ ๑ อาคาริยสิปปะ ๑

อาคาริยสิปปะ  นั้น ได้แก่ ศีลปะ ความฉลาดของฆราวาส อนาคาริยสิปปะนั้น ได้แก่ความฉลาดของ บรรพชิต ความฉลาดของบรรพชิตนั้น คือ ฉลาดในการตัดจีวรและเย็บจีวร ย่อมจีวรเป็นต้น ( เช่น พระอานนท์เถระเจ้าได้รับพระพุทธฏีกาตัดเย็บจีวรได้เหมือนกระทงนาของชาวมคธ)

ตามเพศสมณะศากยบุตรในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า อนาคาริยสิิปปะ ความฉลาดของบรรพชิต สมกับพระบาลีที่พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายในสัตตมสูตร ทสกังคุดรว่า อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้มีความฉลาดในกิจต่าง ๆ ทางบรรพชิต พึงกระทำซึ่งกิจน้อยและกิจใหญ่ในพระพระพุทธศาสนา.  กิจน้อยนั้น คือ อาคันตุกกิจ กิจที่จะรับอาคันตุกภิกษุที่มาสู่อาวาส และส่งภิกษุไปในอาวาส และปฎิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ กวาดลานพระอุโบสถและลานพระเจดีย์ และไม้ศรีมหาโพธิ์ และอาวาสเป็นต้น

กิจใหญ่นั้น คือ จัดจีวร เย็บจีวร ย้อมจีวรเป็นต้น จนถึงปฎิสังขรณ์วัดอาวาสกุฎิวิหารที่ชำรุดให้ปกติถาวรเป็นที่สุด กิจทั้งสองนี้ เป็นกิจของภิกษุในพระพุทธศาสนาจะพึงกระทำ ถ้าภิกษุทำได้ดังนี้ จัดว่าเป็นภิกษุผู้ฉลาดในพระพุทธศาสนา ย่อมมีคุณแก่ตนและบุคคลอื่น จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ความฉลาดในบรรพชิต เป็นกิจแห่งพระวินัย มีประโยชน์ใหญ่ในพระพุทธศาสนา 

ที่มา : http://larnbuddhism.com

มงคลที่ 1 , มงคลที่ 2 , มงคลที่ 3มงคลที่ 4 , มงคลที่ 5 , มงคลที่ 6 , มงคลที่ 7 มงคลที่ 8 , มงคลที่ 9 , มงคลที่ 10 , มงคลที่ 11 , มงคลที่ 12 , มงคลที่ 13 , มงคลที่ 14 , มงคลที่ 15 , มงคลที่ 16 , มงคลที่ 17 , มงคลที่ 18 มงคลที่ 19 , มงคลที่ 20 , มงคลที่ 21 , มงคลที่ 22 , มงคลที่ 23 , มงคลที่ 24 มงคลที่ 25 , มงคลที่ 26 , มงคลที่ 27 , มงคลที่ 28 , มงคลที่ 29 , มงคลที่ 30 , มงคลที่ 31 , มงคลที่ 32 , มงคลที่ 33 มงคลที่ 34 , มงคลที่ 35 , มงคลที่ 36มงคลที่ 37มงคลที่ 38 ฯ


Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: