ทุกข์เกิดเพราะตัณหา คือ
๑. เพราะยังมีความโลภ หรือความอยากได้ที่ไม่สามารถให้อิ่มได้
๒. เพราะยังไม่ได้ทำความดีไว้ มัวแต่เพลิดเพลินสนุกสนาน
๓. เพราะยังมีเครื่องพัวพัน หรือยังมีเครื่องผูกรัด เช่นความยึดถือว่ากายหรือตัวว่าเป็นของตนอยู่เป็นต้น
๔. เพราะมีความกลัวตาย เหตุเพราะไม่สามารถพ้นจากความตายไปได้
๕. เพราะยังมีการตั้งความปรารถนาที่ชื่อว่า ภวเนตฺติ (ธรรมชาตินำไปสู่ภพ) สัตว์ทั้งหลายนั้นอาศัยความสำราญจึงเป็นผู้แสวงหาความสุข เมื่อเสวงหาความสุขก็ปรารถนาความยั่งยืน แต่กลับเป็นผู้เข้าถึงชาติชราและมรณะอันเป็นทุกข์ในวัฏฏะที่ยาวนาน ดังนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงถูกตัณหานี้นำไปสู่ที่ที่ตนปรารถนาแล้วๆ เหมือนโคทั้งหลายที่ถูกเชือกผูกคอไว้ถูกนำไปสู่ที่ฆ่าฉะนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงประสพทุกข์เพราะตัณหา แม้ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกได้ เหมือนต้นไม้ที่ยังมีรากสมบูรณ์ฉะนั้น
ดังพระพุทธพจน์ว่า
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทเฬฺห
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต
นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนนฺติ ฯ
แปลว่า
“ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึงบุคคลตัดแล้ว ก็ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด, ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น” ดังนี้ ฯ
สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรค (เรื่องนางลูกสุกร)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ
19/8/65
วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓ ภูมิ ,
ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) ,
ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิด ,
คนที่เทวดารัก ,
ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี ,
สมณะ คือผู้สงบ ,
จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ ,
คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... ,
คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี ,
คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ ,
ศีล ,
ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ ,
บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง ,
ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง ,
เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ ,
บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ
"วัดเขาช่องกระจก" จ.ประจวบคีรีขันธ์
ตั้งอยู่บนยอดเขาช่องกระจก ริมอ่าวประจวบ มีบันไดทางขึ้น 396 ขั้น ด้านหลังศาลากลางจังหวัด ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระบรมสารีริกธาตุ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์เมืองประจวบได้ทั้งสามอ่าว
0 comments: