สมณะ คือผู้สงบ
เพราะฉะนั้น จึงไม่ง่ายสำหรับความเป็นสมณะของคนบางคน
เพราะว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้น หามิได้, ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบแล้วดำรง (ตน) อยู่ ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะแท้จริง
สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“น มุณฺฑเกน สมโณ อพฺพโต อลิกํ ภณํ
อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ.
โย จ สเมติ ปาปานิ อณุํ ถูลานิ สพฺพโส
สมิตตฺตา หิ ปาปานํ สมโณติ ปวุจฺจตีติ” ฯ
แปลว่า
“ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ เพราะศีรษะโล้น, ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภ จะเป็นสมณะอย่างไรได้
ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ โดยประการทั้งปวง, ผู้นั้น เรากล่าวว่า "เป็นสมณะ" เพราะยังบาปให้สงบแล้ว” ดังนี้ ฯ
อธิบายความหมายแห่งคำในพระคาถานั้นดังนี้
ข้อว่า “ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ เพราะศีรษะโล้น” ทรงหมายถึง ผู้เว้นจากศีลวัตรและธุดงควัตร ผู้กล่าวมุสาวาท ผู้ประกอบด้วยความอยากในอารมณ์อันยังไม่ถึง (อยากมี อยากเป็น) และด้วยความโลภในอารมณ์อันถึงแล้ว (ตระหนี่ในสิ่งที่มีอยู่) จักชื่อว่าเป็นสมณะเพราะเหตุสักว่าศีรษะโล้นอย่างไรได้ ?
ส่วนข้อว่า “ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ โดยประการทั้งปวง” ทรงหมายถึง ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ, ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เป็นสมณะ" เพราะยังบาปเหล่านั้นให้สงบแล้ว ดังนี้ ฯ
สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัตถวรรค (เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ
23/7/65
จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์
0 comments: