วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร

กลฺยาณมิตฺตมาคมฺม, ​   สพฺเพเต  โหนฺติ  ปาณินํ;
ตสฺมา  กลฺยาณมิตฺเตสุ,    กาตพฺพํ  หิ  สทาทรํ.

ต้องอาศัยเพื่อนดี กุศลธรรมทั้งปวง  เหล่านั้น ย่อมมีแก่เหล่าสัตว์มีลมปราณ
เพราะเหตุนั้น จึงควรทำความเอื้อเฟื้อ  ในกัลยาณมิตรทั้งหลายทุกเมื่อเทอญ.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๘, มหารหนีติ ๑๖๑)

ศัพท์น่ารู้ :

กลฺยาณมิตฺตมาคมฺม  ตัดบทเป็น กลฺยาณมิตฺตํ (ซึ่งกัลยาณมิตร) +อาคมฺม (อาศัยแล้ว), กลฺยาณ+มิตฺต > กลฺยาณมิตฺต+อํ = กลฺยาณมิตฺตํ, อา+√คมุ+ตฺวา > อาคมฺม+สิ = อาคมฺม

สพฺเพเต  ตัดบทเป็น สพฺเพ+เอเต หรือจะแยกเป็น สพฺเพ เต ก็ได้ (ทั้งปวง+เหล่านั้น) สัพพนาม, สพฺพ+โย = สพฺเพ (ทั้งปวง), เอต+โย = เอเต (เหล่านั้น)

โหนฺติ  (ย่อมเป็น) √หู+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ปาณินํ  (แก่สัตว์, ผู้มีปราณ, มีลมหายใจ ท.) ปาณี+นํ

ตสฺมา  (เพราะเหตุนั้น, เพราะฉะนั้น, เหตุนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม

กลฺยาณมิตฺเตสุ  (ในกัลยาณมิตร, เพื่อนที่ดีงาม ท.) กลฺยาณมิตฺต+สุ

กาตพฺพํ  (พึงทำ, ควรทำ) √กร+ตพฺพ > กาตพฺพ+สิ

หิ  (จริงอยู่, แน่แท้) นิบาต

สทาทรํ  ตัดบทเป็น สทา (ในกาลทุกเมื่อ) +อาทรํ (ความอาทร, ความเอื้อเฟื้อ), สพฺพ+ทา > สทา, อาทร+สิ > อาทรํ (ในที่นี้ท่านใช้เป็น นปุงสกลิงค์, ส่วนในมหารหนีติมีรูปเป็นเป็นปุงลิงค์ คือ อาทโร)

ในมหารหนีติ คาถา ๑๖๑ มีข้อความต่างกันในบาทคาถาสุดท้าย นิดหน่อย ดังนี้

กลฺยาณมิตฺตมาคมฺม,    สพฺเพ  เต  โหนฺติ  ปาณินํ;

ตสฺมา  กลฺยาณมิตฺเตสุ,    กาตพฺโพ  อาทโร  สทา.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ต้องอาศัยกัลยาณมิตร ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดจึ่งจะมี  แก่ปวงสัตว์ เหตุนั้นจึ่งควรทำความเอื้อเฟื้อในมิตรดี ทั้งหลายในกาลทุกเมื่อเทอญ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ต้องอาศัยกัลยาณมิตร ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด จึงจะปรากฏแก่ปวงสัตว์, เพราะฉะนั้น  จึงต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนทั้งหลายไว้ตลอดกาลเถิด.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

"หลวงพ่อวัดไร่ขิง" จ.นครปฐม

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พุทธลักษณะงดงาม 3 สมัย คือ พระรูปผึ่งผายแบบเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามแบบสุโขทัย และพระพักตร์งดงามแบบรัตนโกสินทร์ ตำนานเล่าว่า หลวงพ่อลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี

Previous Post
Next Post

0 comments: