คนพาลสำคัญผิด
กาลกฺเขเปน หาเปติ, ทานสีลาทิกํ ชโฬ;
อถิรํปิ ถิรํ มญฺเญ, อตฺตานํ สสฺสตีสมํ.
คนพาลย่อมยังคุณมีทานศีลเป็นต้น ให้เสื่อมเสียไป โดยใช้เวลาให้ผ่านไปเปล่า
เขาสำคัญแม้สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง และสำคัญตนเองว่าเที่ยงอยู่เสมอ.
(ธรรมนีติ ๑๑๓ ทุชชนกถา, มหารหนีติ ๑๑๕)
ศัพท์น่ารู้ :
กาลกฺเขเปน (โดยการสิ้นไปแห่งกาล) กาล+เขปน > กาลกฺเขปน+นา
หาเปติ (ให้สิ้นไป, ให้เสื่อมไป) √หา+ณาเป+ติ ภูวาทิ. เหตุกัตตุ.
ทานสีลาทิกํ (กุศลกรรมมีทานและศีลเป็นต้น) ทาน+สีล+อาทิก > ทานสีลาทิก+อํ
ชโฬ (โง่, เขลา, เชื่องช้า, ทึบ) ชฬ+สิ
ในสัททนีติ ธาตุมาลา ท่านรวมศัพท์ที่หมายถึงคนพาล รวม ๑๙ ศัพท์ ไว้ดังนี้
พาโล อวิทฺวา อญฺโญ จ, อญฺญาณี อวิจกฺขโณ;
อปณฺฑิโต อกุสโล, ทุมฺเมโธ กุมติ ชโฬฯ
เอฬมูโค จ นิปฺปญฺโญ, ทุมฺเมธี อวิทู มโค;
อวิญฺญู อนฺธพาโล จ, ทุปฺปญฺโญ จ อวิทฺทสุฯ
ศัพท์น่ารู้ :
อถิรํปิ (แม้ที่ไม่มั่นคง) อถิรํ+อปิ, น+ถิร > อถิร+อํ, อปิ เป็นนิบาต
ถิรํ (ที่มั่นคง) ถิร+อํ
มญฺเญ (พึงสำคัญ, พึงรู้สึก) √มน+ย+เอยฺย ทิวาทิ. กัตตุ. แปลง นฺย เป็น ญ แล้วซ้อน ญฺ, แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง รวมเป็น มญฺเญ.
อตฺตานํ (ซึ่งตน, ตัวเอง) อตฺต+นํ
สสฺสตีสมํ (ที่เสมอด้วยความเที่ยง, -ไม่เปลื่นแปลง -ไม่แปรผัน) สสฺสติ+สม > สสฺสตีสม+อํ
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนโง่ย่อมยังทานศีลแลความดีอื่น ๆ ให้เสื่อมไป โดยเวลาล่วงไปเปล่า เขาสำคัญเห็นแม้คนมั่นคง ว่าเป็นคนเหลวไหล แต่ตัวเขาเอง เขาสำคัญว่า เป็นคนมั่นคง.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
คนโง่ ย่อมทำความดีต่าง ๆ มีทาน ศีลเป็นต้น ให้เสื่อมไปตามเวลาที่ล่วงไปเปล่า เขาเห็นคนที่มั่นคงว่าไม่มั่นคง แต่เห็นตัวเขาเองที่ไม่มั่นคงเลย ว่ามั่นคง.
______
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร
"วัดขุนอินทประมูล" จ.อ่างทอง
ประดิษฐานพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ซึ่งมีพุทธลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี ภายในวัดมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว และศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล
0 comments: