จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์
พระจันทร์ที่ปราศจากมลทินมีหมอกเป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์
จิตที่ปราศจากอุปกิเลส (อุปกิเลส คือ สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว หรือธรรมที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง) ชื่อว่าบริสุทธิ์
กิเลสชื่อว่าเป็นมลทินของจิต เพราะกิเลสทำให้จิตมัวหมอง ไม่บริสุทธิ์ และด่างพร้อย เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่มีมลทินคือกิเลส ชื่อว่าผ่องใส
จิตจะผ่องใสได้ต้องทำให้ตัณหาสิ้นไป (ตัณหา คือ ความทะยานอยาก หรือความใคร่ในกาม) ดังพระบาลีว่า
จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ วิปฺปสนฺนมนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
“เราเรียกผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีภพเครื่องเพลิดเพลินสิ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์ที่ปราศจากมลทินนั้นว่า เป็นพราหมณ์” ดังนี้ ฯ
_____
สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรค (เรื่องพระจันทาภเถระ)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
1/8/65
คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี
0 comments: