วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คนไม่น่าคบ

คนไม่น่าคบ

ปทุมํว  มุขํ  ยสฺส,    วาจา  จนฺทนสีตลํ;
มธุ  ติฎฺฐติ  ชิวฺหคฺเค,    หทเยสุ  หลาหลํ;
ตาทิสํ  โนปเสเวยฺย,     ตํ  มิตฺตํ  ปริวชฺชเย.

คนหน้าบานเหมือนดอกบัว,  มีวาจาเย็นดุจไม้แก่นจันทน์;
คำพูดหวานติดอยู่ที่ปลายลิ้น   แต่ในใจเขามีพิษร้าย
อย่าคบหาสมาคมคนเช่นนั้น,   ควรละเว้นมิตรนั้นให้ไกลลิบ.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๑๑, กวิทัปปณนีติ ๒๔๓, โลกนีติ ๘๘)

ศัพท์น่ารู้ :

ปทุมํว ตัดบทเป็น ปทุมํ+อิว, ปทุมํ (ดอกบัว, บัวหลวง) ปทุม+สิ นป., อิว เป็นนิบาตบอกอุปมา

มุขํ (หน้า, ปาก, มุข) มุข+สิ นป. (ต้นฉบับเป็น มุขยสฺส ได้แก้เป็น มุขํ ยสฺส ตามกวิทัปปณนีติและโลกนีติ)

ยสฺส (ของผู้ใด) ย+ส สัพพนาม

วาจา (วาจา, คำพูด) วาจา+สิ อิต.

จนฺทนสีตลํ (เย็นเหมือนไม้แก่นจันทน์) จนฺทน+สีตล > จนฺทนสีตล+สิ, จนฺทน (ไม้จันทน์, ต้นไม้จันทน์) ป.นป., สีตล (ที่เย็น, ที่หนาว) ค. วิ. จนฺทนํ วิย สีตลํ ยสฺสาติ จนฺทนสีตลา, วาจา (หรือ จนฺทนสีตลํ, วจนํ) (ชื่อว่า จนฺทนสีตลา วาจา เพราะเป็นวาจามีความเย็นดุจไม้แก่นจันทน์) อุปมาปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, (ศัพท์นี้ในกวิทัปปณนีติ และ โลกนีติ เป็น จนฺทนสีตลา มีลิงค์เสมอกันกับ วาจา ถือว่าเหมาะสมกว่า)

มธุ (น้ำผึ้ง, รสหวาน) มธุ+สิ (หมายถึง คำพูดที่ไพเราะ)

ติฎฺฐติ (ตั้งอยู่, ดำรง, ยืน) √ฐา+อ+ติ กัตตุวาจก ภูวาทิคณะ แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)

ชิวฺหคฺเค (ปลายลิ้น) ชิวฺหา (ลิ้น), + อคฺค (ปลาย, ยอด) > ชิวฺหคฺค+สฺมึ

หทเย (หทัย, หัวใจ) หทย+สฺมึ

หลาหลํ (ร้ายแรง, พิษร้าย) หล+อาหล > หลาหล+สิ

วิสํ (ยาพิษ, พิษ) วิส+สิ

ตาทิสํ (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+อํ

โนปเสเวยฺย ตัดบทเป็น น+อุปเสเวยฺย, น (ไม่, หามิได้, อย่า) เป็นนิบาต, อุปเสเวยฺย (เข้าไปเสพ, เข้าไปหา, คบหา) อุป+√เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก (สัททนีติ ธาตุมาลาเป็น สิ ธาตุ, ส่วนธาตวัตถสังคหะ เป็น เสว ธาตุ ก็มี)

ตํ (นั้น) ต+อํ สัพพนาม

มิตฺตํ (มิตร, เพื่อน, เกลอ) มิตฺต+อํ

ปริวชฺชเย (พึงเว้น) ปริ+√วชฺช+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก

ในโลกนีติ คาถา ๘๘ และกวิทัปปณนีติ คาถา ๒๔๓ มีข้อความเหมือนกัน คือ มีเพียง ๔ บาทคาถาเท่านั้น โดยแบ่งเป็นสองคาถา, แต่ในธัมมนีตินี้ ท่านได้นำคาถาสองคาถามารวมกัน โดยการตัดเติม จึงเป็นคาถา ๖ บาท, เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาให้ยิ่งขึ้นไป ขอนำคาถาทั้งสองจากคัมภีร์กวิทัปปณนีติมาแสดงไว้ ดังนี้.

(๑) คาถาที่ ๒๔๓.

ปทุมํว  มุขํ  ยสฺส,   วาจา  จนฺทนสีตลา;

ตาทิสํ  โนปเสเวยฺย,   หทเย  ตุ  หลาหลํ.

ผู้ใดมีหน้าบานเหมือนดอกบัว  มีวาจาเยือกเย็นดุจไม้จันทร์หอม

ไม่ควรคบหาคนเช่นนั้น  เพราะในใจเขาคละเคล้าด้วยยาพิษร้าย.

(๒) คาถาที่ ๒๒๓.

ทุชฺชโน  ปิยวาที  จ,   เนตํ  วิสฺสาสการณํ;

มธุ  ติฎฺฐติ  ชิวฺหคฺเค,    หทเย  หลาหลํ  วิสํ.

คนชั่ว พูดจาดีเป็นที่น่ารัก  ข้อนั้นมิใช่เหตุที่ต้องสนิทสนมด้วย

คำหวานปานน้ำผึ้งตั้งอยู่ที่ปลายลิ้นเขา  แต่ในใจเขามีพิษร้ายแรงแอบแฝงอยู่.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้ใดมีหน้าเบิกบานดั่งดอกบัว วาจาเย็นดั่งไม้จันทน์  นั่นคือน้ำผึ้งอยู่ที่ปลายลิ้น แต่ในใจหล่อไปด้วยน้ำพิษแรงกล้า สูเจ้าไม่ควรคบคนเช่นนั้น พึงหลีกเลี่ยงมิตรเช่นนั้นเสีย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนมีหน้าบานดังดอกบัว  พูดเย็นเหมือนไม้จันทน์  นั่นคือน้ำติดปลายลิ้น  แต่ในใจหล่อด้วยพิษอันแรงกล้า  สู่เจ้าอย่าคบคนเช่นนั้นเลย  จงหลีกเลี่ยงให้ไกลลิบเทียวนะ.

มิตฺตกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงมิตร 

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

Buddha statue near belum Buddhist caves, Andhra Pradesh, India.







Previous Post
Next Post

0 comments: