วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)

ผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน)

กุลบุตรผู้บวชในพระศาสนานี้ ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา (อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ) ปรารถนาแต่จะตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล คือ

๑. ปาติโมกขสังวรศีล คือสำรวมในพระปาติโมกข์

๒. อินทรีย์สังวรศีล คือสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๓. อาชีวปาริสุทธิศีล คือเลี้ยงชีพโดยทางชอบ

๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล คือบริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา

จตุปาริสุทธิศีล คือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการเหล่านี้ จะบริสุทธิ์ได้ กุลบุตรต้องมีธรรม ๔ ประการ คือ  ๑.ศรัทธา ๒.สติ ๓.วิริยะ และ ๔.ปัญญา  จึงจะประกอบตนให้ตั้งในจตุปาริสุทธิศีลนั้นได้อย่างบริสุทธิ์ คือ

๑. บำเพ็ญปาติโมกขสังวรศีลด้วยศรัทธาเป็นสำคัญ

๒. บำเพ็ญอินทรียสังวรศีลด้วยสติเป็นสำคัญ

๓. บำเพ็ญอาชีวปาริสุทธิศีลด้วยความเพียรเป็นสำคัญ

๔. บำเพ็ญการเสพปัจจัยด้วยปัญญาเป็นสำคัญ

กุลบุตรนี้ชื่อว่าผู้ฉลาดในประโยชน์ (ตน) ดังนี้แล.

สาระธรรมจากอรรถกถาเมตตสูตร ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

18/8/65

ความโกรธมีโทษมาก จงหมั่นข่มจิตด้วยมีเมตตาต่อกันเถิดคนที่เทวดารัก , ใจริษยากับใจตระหนี่ไม่ได้ทำให้เป็นคนดูดีมีสง่าราศรี , สมณะ คือผู้สงบ , จิตที่ผ่องใส ใจที่บริสุทธิ์ , คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง... , คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี , คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ 







Previous Post
Next Post

0 comments: