วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เห็นผิดเป็นพาล

๑๐. ทุชชนกถา - แถลงทุรชน

เห็นผิดเป็นพาล

กตฺวาน  กุสลํ  กมฺมํ,     กตฺวานกุสลํ  ปุเร;
สุขิตํ  ทุกฺขิตํ  โหนฺตํ,     โส  พาโล  โย  น  ปสฺสติ.

สัตวทั้งหลายที่เสวยความสุข  เพราะได้ทำกุศลไว้ในกาลก่อน
ที่เสวยทุกข์เพราะทำอกุศลกรรม  ผู้ที่ไม่เห็นเช่นนี้ จัดว่าเป็นพาล.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๒, มหารหนีติ ๑๑๓)

ศัพท์น่ารู้ :

กตฺวาน  (กระทำแล้ว) √กร+ตฺวาน > กตฺวาน+สิ

กุสลํ  (กุศล, ความดี) กุสล+อํ

กมฺมํ  (กรรม, การกระทำ) กมฺม+อํ

กตฺวานกุสลํ  ตัดบทเป็น กตฺวาน+อกุสลํ (เพราะกระทำอกุศลกรรม) ในมหารหนีติ เป็น กตฺวา จากุสลํ ปุเร; ถือว่าชัดเจนกว่า.

ปุเร  (ในกาลก่อน, เมื่อก่อน) ปุร+สฺมึ

สุขิตํ  (ความสุข, ผลที่เป็นสุข, ที่เสวยสุข) สุขิต+อํ

ทุกฺขิตํ  (ความทุกข์, ผลที่เป็นทุกข์, ที่เสวยทุกข์) ทุกฺขิต+อํ

โหนฺตํ  (มีอยู่, เป็นอยู่) √หู+อ+อนฺต > โหนฺต+อํ (ในมหารหนีติ บาทคาถาที่ ๓ นี้ เป็น สุขิตทุกฺขิตา โหนฺติ แบ่งเป็นประโยคหนึ่งต่างหาก ก็ใช้ได้เหมือนกัน)

โส  (...นั้น) ต+สิ สัพพนาม

พาโล  (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ

โย  (..ใด) ย+สิ สัพพนาม

น  (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ปสฺสติ  (ย่อมเห็น) √ทิส+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง § ทิสสฺส ปสฺส-ทิสฺส-ทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)

ส่วนในมหารหนีติ คาถาที่ ๑๑๓ ในบาทคาถาที่ ๓ มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้

กตฺวาน  กุสลํ  กมฺมํ,    กตฺวา  จากุสลํ  ปุเร;

สุขิตทุกฺขิตา  โหนฺติ,  โส  พาโล  โย  น  ปสฺสติ.

คนจะมีสุขหรือมีทุกข์  เพราะเคยได้ทำกุศลกรรม  

และอกุศลกรรมไว้แต่ปางก่อน  ผู้ที่ไม่ทราบชื่อว่าเป็นคนพาล.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ความถึงสุขมีเพราะความดี  ความถึงทุกข์มีเพราะทำชั่วไว้ก่อน  ผู้ไม่เห็นดั่งนี้ เป็นพาล.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

มีสุขได้เพราะทำดีไว้ก่อน  มีทุกข์ก็เพราะทำชั่วไว้ก่อน  ผู้ไม่เห็นเช่นนี้ เป็นคนพาล.

______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

"วัดมณีวงศ์" จ.นครนายก

มีไฮไลท์ คือ "วังรัตนมณีมหานครบาดาลนาคราช" หรือ "วังพญานาค" ประดิษฐานพระรัตนมณีมหาบาดาล พระพุทธรูปองค์ใหญ่สีทองอร่าม เด่นตระหง่านท่ามกลางประติมากรรมปูนปั้นพญานาคทั้ง 4 ตระกูล





Previous Post
Next Post

0 comments: