วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓)

จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓)

ดำเนินความตามจักกวัตติสูตร

เป็นอันว่า พระราชาองค์ที่ ๘ หลังจากปกครองบ้านเมืองตามความพอใจส่วนพระองค์อยู่ระยะหนึ่ง ก็กลับมาใช้หลักจักรวรรดิวัตรปกครองบ้านเมืองตามข้อเสนอแนะของกลุ่มบุคคลต่างๆ แต่กระนั้นก็ไม่ได้ใช้หลัก “ธนานุประทาน” คือการจัดการเรื่องทุนทรัพย์ในการเลี้ยงชีพและทุนในการทำมาหากินของประชาราษฎร อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักจักรวรรดิวัตร จึงทำให้คนยากจนแก้ปัญหาด้วยการ ข โ ม ย  ทางการก็แก้ปัญหาด้วยการให้ทุนเลี้ยงชีพและทุนทำมาหากินแก่พวก  ข  โ ม ย   การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้กลายเป็นผล ร้ า ย เ กิ น ค า ด นั่นคือ ประชาชนพากัน ข โ ม ย ข อ ง ผู้อื่นแล้วให้ทางการจับ เพราะรู้ว่าเมื่อ ข โ ม ย แล้วถูกจับ ทางการจะสงเคราะห์ให้ทุนเลี้ยงชีพและทุนทำมาหากิน 

การผิดศีลข้ออทินนาทานจึงแพร่ระบาดไปทั่วแผ่นดิน 

ทางการเห็นว่าใช้วิธีนั้นเท่ากับส่งเสริมให้คนเป็น ข โ ม ย  ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา จึงยกเลิกวิธีให้ทุน เปลี่ยนเป็นใช้ ม า ต ร ก า ร เ  ด็ ด ข า ด  ใคร ข โ ม ย  ถูก จั บ ได้  ป  ร   ะ  ห  า  ร  ช   ี  ว   ิ  ต!  กรรมวิธีในการ   ป  ร  ะ  ห  า   ร   ช     ี ว   ิ ต   กระทำดังนี้ :-

ตํ  ปุริสํ  ทฬฺหาย  รชฺชุยา  ปจฺฉาพาหุํ  คาฬฺหพนฺธนํ  พนฺธิตฺวา   ใช้เชือกเหนียวๆ จั บ หั ว ข โ ม ยนั้น เ อ า มื  อ  ไ พ  ล่  ห  ลั ง  มั  ด ใ ห้ แ  น่   น  ขุรมุณฺฑํ  กริตฺวา   โ  ก  น  ศ   ี ร   ษ  ะ  ให้ โ ล้ น ด้วย  มี  ด  โ ก น   ขรสฺสเรน  ปณเวน  รถิยาย  รถิยํ  สิงฺฆาฏเกน  สิงฺฆาฏกํ  ปริเนตฺวา   แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก พร้อมทั้งตีกลอง ป ร  ะ  ห า  ร  เสียงอึกทึกครึกโครม   ทกฺขิเณน  ทฺวาเรน  นิกฺขมิตฺวา   ออกทางประตูด้านทักษิณ   ทกฺขิณโต  นครสฺส  สุนิเสธํ  นิเสเธสุํ  มูลฆจฺฉํ  อกํสุ  สีสมสฺส  ฉินฺทึสุ  ฯ    ต   ั ด   ศ    ี  ร    ษ   ะ   ข  โ  ม  ย  นั้นที่นอกเมืองทิศทักษิณ (ทั้งนี้เท่ากับ) เป็นการป้องกันไม่ให้ เ กิ ด ข โ ม ย ขึ้นอีก (และ) เป็นกา ร  ขุ  ด  ร  า  ก  ถ  อ  น  โ  ค  น  กั น เลย

ที่มา: จักกวัตติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ข้อ ๔๐

ถึงตอนนี้ ผมเห็นว่ามีเรื่องที่ควรอภิปรายกัน ๒ เรื่อง คือเรื่องการบริหารงานด้วยความความเห็นส่วนตัว และเรื่อง  โ   ท   ษ   ป  ร  ะ  ห  า  ร

เรื่องที่ ๑ ในเมื่อนำหลักจักรวรรดิวัตรกลับมาใช้แล้ว ทำไมพระราชาองค์ที่ ๘ จึงไม่ใช่หลัก “ธนานุประทาน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิวัตรด้วย ทำไมจึงยกเลิกหรือละเว้นไปเสีย การไม่ใช้วิธี “ธนานุประทาน” นี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาใหญ่คือความยากจน 

ความยากจนทำให้ เ กิ ด ข โ ม ย    ขโมย ทำ ใ ห้ เ กิ ด โ ท ษ  ป  ร  ะ  ห า  ร  

สันนิษฐานว่า น่าจะสืบเนื่องมาจากพระราชาองค์ที่ ๘ ทรงใช้ “สมต” หรือความเห็นส่วนพระองค์ปกครองบ้านเมือง และความเห็นส่วนพระองค์นั้นยังฝังอยู่ในพระทัย พูดง่ายๆ ว่า ยังอยากทำอะไรตามความคิดเห็นส่วนตัวอยู่นั่นเอง - มัน “มัน” ดี

หลักจักรวรรดิวัตรจะว่าอย่างไรก็ไม่ขัดข้อง แต่ขอปรับแก้ตรงนี้หน่อย-นี่คือใช้ความเห็นส่วนตัว

อันที่จริง เพราะปกครองบ้านเมืองด้วยความเห็นส่วนตัวนั่นเองจึงเกิดปัญหา กลับมาใช้หลักจักรวรรดิวัตรก็ถือว่ากลับตัวได้ทัน แต่กลับมาพลาดตรงที่-ยังอุตส่าห์เอาความเห็นส่วนตัวเข้าไปแก้ไขหลักจักรวรรดิวัตรเสียอีก จึงทำให้เกิดปัญหาอีก ทั้งๆ ที่่น่าจะเฉลียวใจได้ตั้งแต่แรก

“ความเห็นส่วนตัว” นี้ ดูเหมือนว่าเราในสมัยนี้จะให้ความสำคัญกันมากอยู่ เหมือนกับจะพูดกันเป็นหลักว่า-ต้องเคารพความเห็นส่วนตัวของกันและกัน   นั่นคือ เคารพด้วยเหตุผลเพียงว่า-มันเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ความเห็นนั้นจะถูกจะผิดไม่ต้องคำนึง

ค่านิยม-เคารพความเห็นส่วนตัวด้วยเหตุผลแบบนี้ ผมว่ามี  อั น ต ร า ย  แ ฝ ง อ ยู่ ม า ก  ถ้าหากไม่ใช้เกณฑ์ถูกผิดเป็นเครื่องตัดสินกันไว้บ้าง อะไรที่เป็น “ความเห็นส่วนตัว” จะกลายเป็นถูกไปหมด-ทั้งๆ ที่เห็นกันอยู่ว่าไม่ถูก แต่เพราะความเกรงใจ-ให้เกียรติกัน จึงไม่กล้าค้าน

สภาพอย่างนี้ก็คือที่เราพูดกันเล่นๆ (แต่คือความเป็นจริง) ว่า ไม่ใช้หลักการ แต่ใช้หลักกู

การบริหารส่วนรวมโดยใช้ความเห็นส่วนตัว ในบัดนี้กลายเป็นความชอบธรรมชนิดหนึ่งไปแล้ว ที่เห็นได้ชัดมากก็คือในหน่วยงานที่ผู้บริหารมาสู่ตำแหน่งด้วยการแต่งตั้ง (แม้แต่ที่ใช้ระบบเลือกตั้งซึ่งหลักการดี แต่เวลาปฏิบัติจริงกระบวนการเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งก็ถูกทำให้ผิดเพี้ยนจนเห็นกันว่าเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งไม่ใช่อะไรเลย หากแต่คือเห็นการทำผิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วนั่นเอง!)

ที่น่าคิดอย่างยิ่งก็คือ วัด-ซึ่งเป็นแหล่งที่่ทำหน้าที่ศึกษาจักกวัตติสูตรโดยตรง และควรจะตระหนักถึงโทษภัยของการบริหารส่วนรวมโดยใช้ความเห็นส่วนตัวมากกว่าแหล่งอื่น กลับเป็นแหล่งที่บริหารงานโดยใช้ความเห็นส่วนตัวโดดเด่นมากเป็นพิเศษ นั่นก็คือวัด (แทบ) ทุกวัดบริหารวัดโดยใช้ความเห็นส่วนตัวของเจ้าอาวาสเป็นหลัก  วัดจะไปทางไหน จะเป็นวัดแนวไหน ขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าอาวาสแต่เพียงผู้เดียว 

เปลี่ยนเจ้าอาวาส ทิศทางของวัดก็เปลี่ยน 

แต่ทั้งนี้อาจจมียกเว้นบ้างเฉพาะวัดที่มีหลักการของวัดชัดเจนแน่นอนอยู่ก่อนแล้วว่า-วัดนี้มีอะไรบ้าง ห้ามมีอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง ห้ามทำอะไรบ้าง อุปมาเหมือนมีหลักจักรวรรดิวัตรกำหนดไว้ดีแล้ว เจ้าอาวาสเพียงทำหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักการนั้นๆ เท่านั้น-เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิมีหน้าที่ปฏิบัติตามจักรวรรดิวัตรนั่นเอง

วัดไหนทำได้อย่างนี้ ก็รอดตัวไป   มีบ้างเหมือนกัน แต่น้อยอย่างยิ่ง

หน่วยราชการที่นิยมบริหารงานโดยใช้ความเห็นส่วนตัวเด่นชัดมากก็คือหน่วยทหาร อาจเป็นเพราะธรรมชาติของทหารต้องการ  ค ว า ม เ ด็ ด ข า ด จ  ริ ง  จั ง ทันที ซึ่ง “ความเห็นส่วนตัว” สามารถตอบสนองลักษณะงานแบบนี้ได้ดีที่สุด 

ทหารไม่ชอบที่จะมานั่งประชุมถามกันว่าเอาไงดี แต่ชอบที่จะให้สั่งออกไปเลยว่าเอางี้  กรมในสมัยผมต้องเป็นอย่างนี้ ผมจะเอายังงี้  กองทัพในสมัยผมต้องเป็นอย่างนี้ ผมจะเอายังงี้

เพราะฉะนั้น พอเปลี่ยนเจ้ากรม เปลี่ยนผู้บัญชาการ ทิศทางของกองทัพก็มักจะเปลี่ยนไปด้วย   และส่วนมากก็จะประกาศย้ำด้วยว่า ผมเกษียณแล้วใครจะเอายังไงก็ตามใจ ผมไม่ยุ่งด้วย แต่สมัยผม ผมจะเอาอย่างนี้   คือท่านมองอนาคตของหน่วยงานแค่เวลาที่ท่านยังอยู่ในราชการเท่านั้น ต่อจากนั้นจะเป็นอย่างไร “ผมไม่ยุ่งด้วย” 

สมบัติของแผ่นดินจึงเหมือนกับเป็นของเล่นส่วนตัว เล่นเสร็จ ท่านก็ทิ้ง ก็ท่านบอกแล้ว “ผมไม่ยุ่งด้วย” 

ถ้าขยายให้กว้างไปถึงการบริหารแผ่นดิน ก็เหมือนกับประกาศว่า “ผมพ้นตำแหน่งไปแล้ว ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรผมไม่ยุ่งด้วย แต่เมื่อผมยังอยู่ในตำแหน่ง ผมจะเอาอย่างนี้”  ผลที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานแบบนี้ก็คือ ไม่มีนโยบายอะไรที่ยั่งยืนถาวร-ซึ่งในหลายๆ เรื่องควรต้องมี ตัวอย่างเช่น --

ผู้บริหารบ้านเมืองจะอบรมกลมเกลาปลูกฝังเด็กไทยให้มีลักษณะนิสัยเป็นเช่นไร?

ไม่มีใครบอกได้ ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครกำหนด ไม่มีใครทำ ไม่มีใครรับผิดชอบ   พวกหนึ่งมาแล้วก็ไป นโยบายที่เคยทำก็หายตามไปด้วย พวกที่มาใหม่ก็มาคิดนโยบายใหม่ พวกแล้วพวกเล่า   เด็กไทยจะมีลักษณะนิสัยอย่างไรก็ปล่อยกันไปตามบุญตามกรรม  แล้วจะแก้ไขกันอย่างไร?  ความจริงทางแก้นั้นมีอยู่ นั่นคือหลักอปริหานิยธรรม อยู่ในข้อแรกนั่นเลย คือ -

อภิณฺหสนฺนิปาตา  สนฺนิปาตพหุลา   หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

ที่มา: มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ ข้อ ๖๘

อยากจะใช้ความเห็นส่วนตัวรึ ได้เลย แต่ต้องเอามาคัดกรองกันก่อนในที่ประชุม ไม่ใช่พอคิดได้ก็สั่งตูม ฟันชัวะ แบบนั้นพลาดได้ง่าย ช่วยกันคัดกรองก่อน พลาดยากหน่อย    แต่หน่วยงานของเราก็แทบจะไม่ได้เอาหลักอปริหานิยธรรมมาใช้ - พูดอย่างไม่เกรงใจ อาจไม่รู้จักด้วยซ้ำไป ยิ่งการประชุมหารือก่อนตัดสินใจสั่งการด้วยแล้ว ยิ่งแทบไม่มี ส่วนมากเราชอบคิดคนเดียว สั่งคนเดียว ใหญ่คนเดียว แล้วเราก็บอกกันว่าแบบนั้นคือนักบริหารที่มีประสิทธิภาพ

สมัยยังรับราชการ ผมเคยเป็นผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ผมใช้หลัก “หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์” ประชุมผู้บริหารภายในกองทุกสัปดาห์ ยึดหลักการ-อนุศาสนาจารย์ทหารเรือจะทำอะไรหรือจะไม่ทำอะไร ต้องออกไปจากโต๊ะประชุม ไม่ใช่ออกไปจากความต้องการของผู้อำนวยการ

ผลปรากฏว่า เสียงตอบรับกลับมาคือ-นาวาเอกทองย้อยเป็นนักวิชาการที่ดี แต่เป็นนักบริหารที่ห่วยแตก

เรายังติดอยู่กับระบบ-ผมจะเอายังงี้ ชัวะ   คุณต้องทำยังงี้ ชัวะ   ต้องเอายังงี้ ชัวะ   ชัวะ ชัวะ ชัวะ  แบบนี้จึงจะเป็นนักบริหารที่มีประสิทธิภาพ

หลักอปริหานิยธรรมปลูกไม่ขึ้นในการบริหารงานของหน่วยราชการไทย แต่ก็ไม่แน่ ถ้าปลูกถูกวิธี อาจจะขึ้นงามดีก็เป็นได้

ที่ว่ามานี้คือเรื่องที่ควรอภิปรายกันเรื่องแรก-การบริหารงานด้วยความความเห็นส่วนตัว 

ส่วนเรื่องที่ ๒-เรื่องโทษประหาร ขอยกไปไว้ตอนหน้าครับ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย,  ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔,  ๑๕:๔๓

จักกวัตติสูตรศึกษา (๒๐) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๙) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๘) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๖) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๔),  จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๑)จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๐)จักกวัตติสูตรศึกษา (๙)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๘)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๖)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๕), จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๑)




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: