วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗)

จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗)

ว่าด้วยจักรวรรดิวัตร-หลักการบริหารแผ่นดินของพระเจ้าจักรพรรดิ  เนื้อหาในจักกวัตติส่วนที่เป็น “จักรวรรดิวัตร” ต้นฉบับบาลีพระไตรปิฎกและคำแปลเป็นดังนี้ -

(พระราชาองค์ใหม่ทูลถามพระราชบิดาซึ่งเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่บัดนี้ออกผนวชเป็นฤษี)

กตมํ  ปเนตํ   เทว   อริยํ   จกฺกวตฺติวตฺตนฺติ ฯ   พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้นเป็นไฉน?  

(ราชฤษีตรัสตอบ)  เตนหิ  ตฺวํ  ตาต.  จักกวัตติวัตรเป็นเช่นนี้นะพ่อ :-  

ธมฺมํเยว  นิสฺสาย  พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น  ธมฺมํ  สกฺกโรนฺโต  สักการะธรรม  ธมฺมํ  ครุกโรนฺโต  ทำความเคารพธรรม  ธมฺมํ  มาเนนฺโต  นับถือธรรม  ธมฺมํ  ปูเชนฺโต  บูชาธรรม   ธมฺมํ  อปจายมาโน  ยำเกรงธรรม  ธมฺมทฺธโช  มีธรรมเป็นธงชัย  ธมฺมเกตุ  มีธรรมเป็นยอด  ธมฺมาธิปเตยฺโย  มีธรรมเป็นใหญ่     ธมฺมิกํ  รกฺขาวรณคุตฺตึ  สํวิทหสฺสุ  จงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองอันเป็นธรรม -  

อนฺโตชนสฺมึ  ในชนภายใน (คือคนใกล้ชิด เช่นพระราชวงศ์และข้าราชบริพาร)   พลกายสฺมึ  ในหมู่พล (คือกำลังพลในกองทัพ)  ขตฺติเยสุ  ในหมู่กษัตริย์ผู้ได้รับราชาภิเษก  อนุยนฺเตสุ  ในหมู่กษัตริย์ประเทศราช       พฺราหฺมณคหปติเกสุ   ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี   เนคมชานปเทสุ   ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย   สมณพฺราหฺมเณสุ   ในพวกสมณพราหมณ์  มิคปกฺขีสุ  ในเหล่าเนื้อและนก

มา  ว  เต  ตาต  วิชิเต  อธมฺมกาโร  ปวตฺติตฺถ   การกระทำสิ่งที่เป็นอธรรมอย่าเป็นไปในแว่นแคว้นของลูก   เย  จ  เต  ตาต  วิชิเต  อธนา  เตสญฺจ  ธนํ  อนุปฺปทชฺเชยฺยาสิ   อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของลูกไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย

เย จ  เต  ตาต  วิชิเต  สมณพฺราหฺมณา  มทปฺปมาทา  ปฏิวิรตา  ขนฺติโสรจฺเจ  นิวิฏฺฐา  เอกมตฺตานํ  ทเมนฺติ  เอกมตฺตานํ  สเมนฺติ  เอกมตฺตานํ  ปรินิพฺพาเปนฺติ   อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดในแว่นแคว้นของลูกงดเว้นจากความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนอย่างเด็ดเดี่ยว สงบระงับอยู่อย่างเด็ดเดี่ยว ดับกิเลสอยู่อย่างเด็ดเดี่ยว   เต  กาเลน  กาลํ  อุปสงฺกมิตฺวา  ปริปุจฺเฉยฺยาสิ  ปริปเญฺหยฺยาสิ   พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นโดยกาลอันสมควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า -

กึ  ภนฺเต  กุสลํ  ท่านเจ้าข้า กุศลคืออะไร  กึ  ภนฺเต  อกุสลํ   ท่านเจ้าข้า อกุศลคืออะไร  กึ  สาวชฺชํ   กรรมมีโทษคืออะไร   กึ  อนวชฺชํ   กรรมไม่มีโทษคืออะไร   กึ  เสวิตพฺพํ  กรรมอะไรควรเสพ (คือควรประพฤติปฏิบัติ)  กึ  น  เสวิตพฺพํ  กรรมอะไรไม่ควรเสพ  

กึ  เม  กริยมานํ  ทีฆรตฺตํ  อหิตาย  ทุกฺขาย  อสฺส   กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อโทษเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน  กึ  วา  ปน  เม  กริยมานํ  ทีฆรตฺตํ  หิตาย  สุขาย  อสฺสาติ  หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อสุขสิ้นกาลนาน   เตสํ  สุตฺวา   พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว

ยํ  อกุสลํ  ตํ  อภินิวชฺเชยฺยาสิ  สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย  ยํ  กุสลํ  ตํ  สมาทาย  วตฺเตยฺยาสิ   สิ่งใดเป็นกุศล พึงประพฤติสิ่งนั้นให้มั่นคง   อิทํ  โข  ตาต  ตํ  อริยํ  จกฺกวตฺติวตฺตนฺติ ฯ   ดูก่อนพ่อ นี้แลคือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น

ที่มา: จักกวัตติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๑ ข้อ ๓๕

หมายเหตุ:   ภาษาบาลีคัดจากพระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ คำแปลภาษาไทยนั้นปรับแต่งจากที่ท่านแปลไว้เดิมตามที่เห็นว่าจะได้อรรถรสตรงตามสำนวนบาลี 

นักเรียนบาลีท่านอื่นๆ สามารถปรับหรือแปลเป็นอย่างอื่นอีกได้ นี่เป็นเสน่ห์หรือความอร่อยอย่างหนึ่งของการเรียนบาลี คือการได้ขบความตามถ้อยคำบาลีเพื่อให้เข้าถึงอรรถรสของต้นฉบับให้ได้มากที่สุดหรือตรงที่สุด 

จากจุดนี้ จะเห็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมโบราณาจารย์จึงกวดขันให้รักษาสืบทอดต้นฉบับบาลีไว้ให้แม่นยำเที่ยงตรงที่สุด ก็คือเพื่อจะได้มีต้นฉบับไว้ยืนยันว่า ที่เอามาพูดเอามาสอนกันอย่างนั้นๆ ต้นฉบับจริงๆ ท่านว่าไว้อย่างไร และตรงนี้อีกเช่นกันที่เราในปัจจุบันนี้ละเลยกันมาก คือเชื่อตามที่มีคนเอามาพูด แต่ไม่พิสูจน์ไปให้ถึงต้นน้ำต้นทาง

ทุกวันนี้เราจึงได้ฟัง “ธรรมะของข้าพเจ้า” อื้ออึงไป โดยที่ไม่รู้ว่านั่นเป็น “ธรรมะของพระพุทธเจ้า” หรือเปล่า

ตอนหน้า: จักกวัตติวัตรที่ผู้รู้ท่านนำมาแสดง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย, ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔, ๑๑:๓๔

จักกวัตติสูตรศึกษา (๒๐) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๙) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๘) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๗) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๖) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๕) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๔) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๓) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๒) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๑) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๑๐) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๙) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๘) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๗) , จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๖)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๕), จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๔)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๓)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๒)จักกวัตติสูตรศึกษา (๐๑)




Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: