วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564

"พระปูติคัตตติสสเถระ ผู้มีกาย เ น่ า เ ปื่ อ ย"

"พระปูติคัตตติสสเถระ ผู้มีกาย เ น่ า เ ปื่ อ ย"

สมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี มีกุลบุตรคนหนึ่งเป็นชาวเมืองนามว่า "ติสสะ" มีศรัทธาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าในวาระแรก ก็มีความเลื่อมใส ตั้งใจถวายตนในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต เมื่อตัดสินใจแบบนั้นแล้วก็ขอบรรพชาอุปสมบทจากพระศาสดา เมื่อบวชเป็นพระแล้วไม่นานนัก ก็มีกำลังขึ้นฌานโลกีย์ ทรงตัวได้บ้าง ทรงตัวไม่ได้บ้าง กำลังยังไม่มั่นคง

ต่อมาโรคร้ายก็ปรากฏกับร่างกายของท่าน มันเป็นตุ่มเล็กๆนิดๆทั่วตัว ต่อมาเจ้าตุ่มนั้นก็โตขึ้นเท่าเม็ดถั่วเขียว จากเม็ดถั่วเขียวเท่าเม็ดถั่วเหลือง จากเม็ดถั่วเหลืองก็เท่าผลส้ม หนักๆเข้าก็โตเท่าผลมะตูมกระจายเต็มตัวไปหมด พอเม็ดต่างๆ พองใสโตเท่ามะตูมมันก็แตก แตกทั้งหมดเป็นน้ำเหลืองเยิ้มทั้งร่างกาย ท่านก็ลุกไม่ไหว บรรดาพระทั้งหลายก็ปฏิบัติตามกำลัง ต่อมาไม่ช้าไม่นานนักกระดูกของท่านก็แตก ผ้าก็เลอะเทอะไปด้วยน้ำเหลืองน้ำหนอง บรรดาพระสงฆ์หมู่เพื่อน สัทธิวิหาริกทั้งหลายปฏิบัติไม่ไหว เมื่อปฏิบัติไม่ไหวก็พากันทิ้ง ปล่อยให้ท่านนอนรอความตาย

เวลาเช้ามืดวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรวจดูอุปนิสัยของสัตวโลก เรื่องของพระติสสะเถระเข้ามาในข่ายพระญาณของพระองค์ พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงทรงเสด็จออกจากวิหารของพระองค์ ไปเยี่ยมพระติสสะที่กุฏิ ทรงดำริว่า “นอกจากตถาคตเสียแล้ว ไม่มีใครเป็นที่พึ่งแก่เธอได้” จึงเสด็จไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ตั้งเตา รอให้น้ำร้อน แล้วเสด็จไปจับที่ปลายเตียงที่พระเถระนอน ทรงเปลื้องจีวรที่ห่มอยู่ ไปขยำด้วยน้ำร้อน

พระศาสดาทรงอุ้มพระติสสะทางศีรษะ พระอานนท์มาช่วยยกที่ปลายเท้าไปไว้ที่ลานโล่ง พระองค์ทรงราดรดสรีระด้วยน้ำอุ่น ถูสรีระของพระติสสะ แล้วท่านก็เอาผ้าผืนหนึ่งไปชุบน้ำร้อนมาค่อยๆเช็ดตัวของพระติสสะที่น้ำเหลืองเกรอะกรังทั้งตัว เช็ดจนกระทั่งน้ำเหลืองแห้งหมด ร่างกายสะอาดเมื่อจีวรแห้ง พระศาสดาทรงช่วยเธอให้ห่มจีวร ทรงขยำผ้าสบงที่พระเถระนุ่งแล้วผึ่งแดด เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง เวลานั้นพระติสสะเป็นผู้มีสรีระเบา มีอาการปลอดโปร่งขึ้นมา จิตหยั่งลงสู่เอกัคคตารมณ์ มีจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

พระคาถาให้พิจารณากายสังขาร ที่มักใช้ในพิธีบังสุกุลเป็น

หลังจากท่านพระปูติคัสสติสสเถระได้รับการอนุเคราะห์พยาบาลรักษาและอาบน้ำชำระร่างกายแล้ว จิตใจรู้สึกปลอดโปร่งดีแล้ว จิตก็หยั่งลงสู่เอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว ไม่วอกแวก)

พระศาสดา ทรงทราบว่าจิตของพระปูติคัตต์ พร้อมที่จะรับพระธรรมเทศนาแล้ว จึงตรัสพระคาถา ซึ่งในปัจจุบันมักใช้ในการสวดในพิธีบังสุกุลเป็นว่า 

"อจิรํ  วตยํ  กาโย    ปฐวึ อธิเสสฺสติ

ฉุฑฺโฑ  อเปตวิญฺญาโณ    นิรตฺถํว กลิงฺครํ. 

ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว เป็นของหาสาระแก่นสารทำประโยชน์อะไรมิได้ เหมือนขอนไม้หรือท่อนกล้วย ฉะนั้น."

(คำอธิบายเพิ่มเติม : เมื่อระลึกได้เสมอๆเช่นนี้ จักไม่ประมาทปล่อยขัยวันคืนเดือนปีให้ล่วงไปเสียเปล่า จะได้ขวนขวายรีบร้อนบำเพ็ญประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม หรือให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท ให้สมกับเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา) 

จบพระธรรมเทศนา พระติสสเถระบรรลุอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ แล้วก็นิพพานทันที เมื่อพระเถระนิพพานแล้ว พระศาสดาทรงให้จัดฌาปนกิจสรีระของท่าน ทรงเก็บอัฐิธาตุ แล้วโปรดให้สร้างสถูปบรรจุไว้

ภิกษุทั้งหลายสงสัยทูลถามพระศาสดาว่า "ภิกษุผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเช่นนี้ เหตุไรจึงมีร่างกายเปื่อยเน่า และกระดูกแตก"

พระศาสดาตรัสตอบว่า เป็นผลอันเกิดแต่อดีตกรรม

ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "พระกัสสปพุทธเจ้า" พระติสสะเป็นพรานนก ฆ่านกบำรุงอิสรชน คือรับจ้างฆ่านกให้คนใหญ่คนโต นกที่เหลือก็เอาขาย นกที่เหลือจากขายก็หักปีกหักขาเก็บไว้ เพราะคิดว่า ถ้าฆ่าแล้วเก็บไว้มันจะเน่าเสียหมด ตนต้องการบริโภคเท่าใดก็ปิ้งไว้ นกที่เขาหักปีกหักขาไว้นั้นขายในวันรุ่งขึ้น.

วันหนึ่ง เมื่อโภชนะอันมีรสดีของเขาสุกแล้ว เขากำลังเตรียมบริโภค พระขีณาสพองค์หนึ่งมาบิณฑบาตหน้าบ้าน เขาเห็นพระแล้วคิดว่า "เราได้ฆ่าสัตว์มีชีวิตเสียมากมายแล้ว บัดนี้ พระมายืนอยู่หน้าเรือน โภชนะอันดีของเราก็มีอยู่ เราควรถวายอาหารแก่ท่าน"

เขาคิดดังนั้นแล้ว ได้รับบาตรพระใส่โภชนะอันมีรสเลิศจนเต็มบาตรแล้วถวายบิณฑบาตนั้นไหว้พระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญนี้ ขอข้าพเจ้าพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วด้วยเถิด"  พระเถระอนุโมทนาว่า  "จงเป็นอย่างนั้นเถิด"   

พระศาสดาตรัสในที่สุด 

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ผลทั้งหมดได้เกิดแก่ติสสะเพราะกรรมของเขาเอง เพราะทุบกระดูกนก จึงยังผลให้มีร่างกายเปื่อยเน่า กระดูกแตก,  อาหารบิณฑบาตที่ถวายแก่พระขีณาสพ และอธิษฐานเพื่อธรรมยังผลให้เธอบรรลุธรรม คือพระอรหัตผล ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่บุคคลทำแล้วย่อมไม่ไร้ผล"

"อายุ  อุสฺมา  จ  วิญฺญาณํ   ยทา  กายํ  ชหนฺติมํ

อปวิฏฺโฐ  ตทา  เสติ     เอตฺถ  สาโร  น  วิชฺชติ.

เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ได้ทิ้งกายนี้เสียแล้ว เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้งนอนอยู่ จะหาสาระใดใดในกายนี้ไม่มีเลย"

ท่อนไม้ด้วยซ้ำไป ยังมีสาระประโยชน์ในการหุงต้ม หรือทำทัพสัมภาระอย่างอื่นได้ แต่กายนี้ทำอย่างนั้นไม่ได้ มีแต่เป็นเหยื่อของหมู่หนอนและแร้งกา เมื่อตายแล้ว คนที่เคยรักใคร่ก็ไม่ปรารถนาที่จะจับต้อง วิญญาณ หรือจิตจึงเป็นแกนสำคัญให้ร่างกายนี้พอมีค่าอยู่ ปราศจากวิญญาณนี้เสียแล้ว กายนี้ก็กลายเป็นของไร้ค่าทันที

คำว่า "ปูติคตฺต” แปลว่า เ น่ า เ ปื่ อ ย ชื่อของพระเถระจึงถูกเรียกว่า "พระปูติคัตตติสสะเถระ" ก็เมื่อตอนท่านนิพพานแล้ว

"พระพุทธบิดาประชวร เสด็จโปรด กระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน"คนแบบไหนที่เหมาะจะดูแลผู้ป่วย ?"พระปูติคัตตติสสเถระ ผู้มีกาย เ น่ า เ ปื่ อ ย"บทพิจารณาสังขาร "ชีวิตของเรา เป็นของไม่เที่ยง ความตายของเรา เป็นของเที่ยง"พระพุทธเจ้าทรง พ ย า บ า ล ภิ ก ษุ ไ ข  ้





Previous Post
Next Post

post written by:

0 comments: