วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565

ที่ไม่ควรอยู่นาน

๗. เทสกถา - แถลงประเทศ

ที่ไม่ควรอยู่นาน

ธนวา  โชติโย  ราชา,   นที  เวชฺโช  ตถา  อิเม;
ปญฺจ  ยตฺถ  น  วิชฺชนฺติ,   น  ตตฺถ  ทิวสํ  วเส.

ชน ๕ จำพวกนี้ คือ เศรษฐี ๑  นักปราชญ์ ๑ พระราชา ๑ แม่น้ำ ๑  และนายแพทย์ ๑ ไม่มีในประเทศใด,  ไม่ควรอยู่ในประเทศนั้นจนข้ามวัน.

(ธรรมนีติ เทสกถา ๘๑, โลกนีติ ๑๑๓, มหารหนีติ ๗๐, กวิทัปปณนีติ ๑๑๘, จาณักยนีติ ๓๖)

ศัพท์น่ารู้ :

ธนวา (ผู้มีทรัพย์) ธนวนฺตุ+สิ, วิ. ธนํ อสฺส อตฺถีติ ธนวา (ทรัพย์ของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขา ชื่อว่า ธนวา) ตทัสสัตถิตัทธิต ลง วนฺตุ ปัจจัยด้วยสูตรว่า คุณาทิโต วนฺตุ. (รู ๔๐๒) แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)

โชติโย (ผู้มีความรุ่งเรือง, นักปราชญ์) โชติย+สิ (ในโลกนีติเป็น สุตวา แปลว่า นักปราชญ์), จาณักยนีติ เป็น โสตฺถิโย แปลว่า ผู้มีความสวัสดี, พราหมณ์, นักปราชญ์ ?)

ราชา (พระราชา, ผู้นำ) ราช+สิ

นที (แม่น้ำ) นที+สิ

เวชฺโช (หมอ, แพทย์) เวชฺช+สิ

ตถา (เหมือนอย่างนั้น, เหมือนกัน) นิบาตบท

อิเม (เหล่านี้) อิม+โย

ปญฺจ (ห้า) ปญฺจ+โย แปลง โย เป็น อ ด้วยสูตรว่า ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๕๑)

ยตฺถ (ใด) ย+ถ, อสทิสเทฺวภาวะ ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)

น (ไม่, หามิได้) นิบาติบอกปฏิเสธ

วิชฺชนฺติ (มีอยู่) √วิท+ย+อนฺติ, ทิวาทิ. กัตตุ.

น (ไม่, หามิได้) นิบาติบอกปฏิเสธ

ตตฺถ (ในที่นั้น) ต+ถ ปัจจัย

ทิวสํ (สิ้นวัน, ตลอดวัน) ทิวส+อํ

วเส (พึงอยู่, อาศัย, พัก) √วส+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้มีทรัพย์ ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ พระเจ้าแผ่นดิน  แม่น้ำ แพทย์ ห้านี้ ไม่มีในที่ใด บุคคลไม่ควรอยู่  ในที่นั้นจนตลอดวัน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เศรษฐี นักปราชญ์ พระราชาผู้ทรงธรรม แม่น้ำ แพทย์ ๕ อย่างนี้ไม่มีในที่ใด ไม่ควรอยู่ในที่นั้นให้ข้ามวันเลย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ที่ไม่ควรอยู่นาน , ที่ไม่ควรเนานาน , สถานที่ไม่ควรอยู่ , ผู้มีความหวัง , ถิ่นที่ไม่น่าอยู่,  แลหน้าเหลียวหลัง , สุขใดเล่าเท่าถิ่นตน

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

Previous Post
Next Post

0 comments: