วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

หลักการบูชา

หลักการบูชา

ปิฎฺฐิโตกฺกํ  นิเสเวยฺย,    นิเสเว  อคฺคิ  กุจฺฉินา;
สามีนํ  สพฺพกาเยน,    ปรโลกํ  อมุฬฺหโก.

พึงเอาหลังบูชาตะวัน  พึงเอาท้องบูชาไฟ  พึงให้กายทั้งสิ้นบูชาเจ้านาย  คนบูชาโลกหน้า ชื่อว่าไม่งมงาย.

ธรรมนีติ นิสสยกถา ๙๑, โลกนีติ ๑๒๔, มหารหนีติ ๑๙๓

ศัพท์น่ารู้ :

ปิฎฺฐิโตกฺกํ ตัดบทเป็น ปิฏฺฐิโต+อกฺกํ, ปิฏฺฐิ+โต = ปิฏฺฐิโต (ข้างหลัง, ด้านหลัง), อกฺก+อํ = อกฺกํ (ซึ่งพระอาทิตย์, ตะวัน)

นิเสเวยฺย (พึงคบ, พึงติดตาม, พึงบูชา) นิ+√เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

นิเสเว (พึงคบ, พึงติดตาม, พึงบูชา) นิ+√เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิ.​ กัตตุ. แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง.

อคฺคิ = อคฺคึ (ซึ่งไฟ) อคฺค+อํ

กุจฺฉินา (ด้วยท้อง, -ครรภ์, -โพรง, -ภายใน) กุจฺฉิ+นา

สามีนํ = สามิกํ ? (ซึ่งเจ้านาย, จ้าว, เจ้า) สามิก+อํ

สพฺพกาเยน (ด้วยกายทั้งหมด) สพฺพ (ทั้งปวง) + กาย (กาย, กอง, ฝูง, หมู่,​ ประชุม) > สพฺพกาย+นา

ปรโลกํ (โลกอื่น, โลกหน้า, ชาติหน้า) ปร (อื่น, ต่าง,​ ภายนอก, เบื้องหน้า) + โลก (โลก, สัตว์, พลเมือง) > ปรโลก+อํ

อมุฬฺหโก (คนไม่หลง, คนไม่งมงาย) น+มุฬฺหก > อมุฬฺหก+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

พึงบูชาตะวันข้างหลัง (หาความชอบจาก) พึงบูชา  ไฟข้างท้อง (หันหน้าสู้) พึงบูชาจ้าวทุกทางไป  (บากหน้าสู้) ผู้บูชาโลกหน้า คือผู้ไม่งมงาย.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ควรบูชาตะวันข้างหลัง  ควรบูชาไฟข้างท้อง  ควรบูชาเจ้านายทุกทางไป  แต่ผู้บูชาโลกหน้าคือผู้ไม่งมงาย.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ศิลปินเดี่ยวดังยาก , นายที่ไม่น่าคบ , เพื่อนที่ไม่น่าคบ , หลักการบูชา , คนที่ไม่ควรคบ , พึงอาศัยคนดี เพื่อนไม่จริง , ไม้มีผล คนมีบุญ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย

ชมซากุระและสักการะพระพุทธรูปอุชิคุไดบุทสึ หลวงพ่อโตปางยืนสูงที่สุดในญี่ปุ่น

พระพุทธรูปอุชิคุไดบุทสึ (Ushiku Daibutsu) เป็นพระพุทธรูปปางยืนที่หล่อจากทองสัมฤทธิ์ สูง 120 เมตร (ส่วนของรูปปั้นสูง 100 เมตร ส่วนฐานสูง 20 เมตร) หนักถึง 4,000 ตัน  โดยในปี 1995 ได้รับการบันทึกจากกินเนสส์บุ๊คว่าเป็นพระพุทธรูปปางยืนหล่อจากทองสัมฤทธิ์ที่สูงที่สุดในโลก  (อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสถิติที่ว่านี้ก็ถูกโค่นไปแล้วโดยพระพุทธรูปในพม่าและจีน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก)








Previous Post
Next Post

0 comments: