วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

“รสชาติแห่งชีวิตคือความเสื่อม เพราะชีวิตนี้น้อยนัก”

“รสชาติแห่งชีวิตคือความเสื่อม เพราะชีวิตนี้น้อยนัก”

บางคนเข้าใจว่ารสชาติของชีวิตคือความสุขหรือความทุกข์ยาก  แต่ในทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้ว่า  “บัณฑิตพึงทราบความที่ชีวิตคืออายุนั้นเป็นของน้อยโดยอาการ ๒ อย่าง คือ

๑. ชื่อว่าน้อย เพราะความที่มีชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไป

๒. ชื่อว่าน้อย เพราะความที่ชีวิตนั้นประกอบด้วยขณะคือครู่เดียว”

ฝูงโคอันนายโคบาลย่อมต้อนไปฉันใด ชีวิตนี้ก็ฉันนั้นอันชราย่อมต้อนไปสู่สำนักแห่งความตาย

จริงอยู่ เพราะพระบาลีว่า “โย  ภิกฺขเว  จิรํ  ชีวติ,  โส  วสฺสสตํ  อปฺปํ  วา  ภิยฺโย” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นอยู่นาน, บุคคลนั้นก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้าง” เพราะฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าน้อย เพราะความที่ชีวิตนี้เป็นไปกับด้วยรสคือความเสื่อมสิ้นไปนั่นเอง.

สาระธรรมจากอรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓ ในเทวตาสังยุต สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

20/4/65

"วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว" จังหวัดอุบลราชธานี

มีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว ตกแต่งอย่างงดงาม เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยมีแนวคิดจำลองวัดให้เป็นเขาพระสุเมรุ ตรงกลางของอุโบสถเป็นที่ตั้งของพระประธาน ฉากหลังเป็นต้นโพธิ์



Previous Post
Next Post

0 comments: