ศีล คือการรักษากายวาจาและใจให้เรียบร้อย
๑. การไม่ติเตียนเองและการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศีลอันเป็นไปทางวาจา
๒. การไม่ทำร้ายเองและการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศีลอันเป็นไปทางกาย
๓. ความสำรวมในพระปาติโมกข์คือศีลที่เป็นประธาน ได้แก่ศีล ๕ และ ศีล ๘ สำหรับคฤหัสถ์, ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร, ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ และการปิดทวารคือสำรวมอินทรีย์มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นปาติโมกขสีลกับอินทริยสังวรสีล
๔. ความเป็นผู้รู้จักพอดีคือความรู้จักประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอาชีวปาริสุทธิสีลกับปัจจัยสันนิสิตสีล
อธิบายความเพิ่มเติม
๑. ปาติโมกขสีล ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย
๒. อินทริยสังวรสีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนามีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น
๔. ปัจจัยสันนิสิตสีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา
_____
สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรค (เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
6/7/65
ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี
0 comments: