ตัดไฟแต่ต้นลม
เยน มิตฺเตน สํสคฺคา, โยคกฺเขโม วิหียติ;
ปุพฺเพวชฺฌภวํ ตสฺส, รกฺเขยฺยกฺขึว ปณฺฑิโต.
เพราะการคลุกคลีกับมิตรใด ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ย่อมเสื่อม
บัณฑิตพึงรักษาการครอบงำ จากมิตรนั้น ตั้งแต่แรกนั่นเทียว เหมือนคนรักษาอยู่ซึ่งตวงตาฉะนั้น.
(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๔, มหารหนีติ ๑๕๖)
ศัพท์น่ารู้ :
เยน (ใด) ย+นา สัพพนาม
มิตฺเตน (ด้วยมิตร) มิตฺต+นา
สํสคฺคา (เพราะคบหา, คลุกคลี) สํสคฺค+สฺมา
โยคกฺเขโม (ความเกษมจากโยค, ความปลอดภัยจากกิเลส) โยค+เขม > โยคกฺเขม+สิ
วิหียติ (ย่อมเสื่อม) วิ+√หา+ย+เต ภูวาทิ. กัมม. ในเพราะ ย ปัจจัย แปลงที่สุดธาตุ อี แน่นอน § ยมฺหิ ทา-ธา-มา-ฐา-หา-ปา-มห-มถาทีนมี. (รู ๔๙๓)
ปุพฺเพวชฺฌภวํ ตัดบทเป็น ปุพเพ+เอว+อชฺฌภวํ (ในก่อน, เบื้องต้น + นั่นเทียว + การครอบงำ)
ตสฺส (แห่ง...นั้น) ต+ส สัพพนาม
รกฺเขยฺยกฺขึว ตัดบทเป็น รกฺเขยฺย+อกฺขึ+อิว (ดุจคนรักษาดวงตาฉะนั้น) ศัพท์นี้ในธัมมนีติ เดิมเป็น รกฺเขยฺยคฺคึว ตัดบทเป็น รกฺเขยฺย+อคฺคึ+อิว (ดุจคนรักษาไฟฉะนั้น) น่าจะเป็นคำที่ยังคัดลอกมาผิด เพราะในมหารหนีติ เป็น รกฺเข อกฺขิว ปณฺฑิโต ซึ่งเป็นข้อความชัดเจนและถูกต้อง. รกฺเขยฺย มาจาก √รกฺข+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. อิกฺขึ มาจาก อิกฺขิ+อํ เป็นนปุงสกลิงค์. อิว ศัพท์เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ.
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
ส่วนในมหารหนีติ คาถา ๑๕๖ มีข้อความต่างกันกับในธัมมนีติ ตังนี้
เยน มิตฺเตน สํสคฺโค, โยคกฺเขโม วิหียติ;
ปุพฺเพว ชฺฌาภวนฺตสฺส, รกฺเข อกฺขิว ปณฺฑิโต.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
เพราะเหตุที่สมาคมกับมิตรใด ความปลอดจากทุกข์ กลับเสื่อมหาย
บัณฑิตพึงระวังเสียแต่ต้นมือ ซึ่งความที่มิตรนั้นจะครอบงำ เสมือนระวังดวงตาฉะนั้น.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
เพราะเหตุที่บุคคลคบคนใด ความปลอดภัยย่อมเสื่อมคลาย
บัณฑิตต้องระวังแต่ต้นมือ เพื่อมิให้เพื่อนคนนั้นครอบงำได้ เสมือนระวังดวงตา ฉะนั้น.
____
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน , มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร
วัดขอนชะโงก จังหวัดสระบุรี
0 comments: