"เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ"
เพราะฉะนั้น จงอย่ารักและอาลัยอาวรณ์ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากนัก เพราะสิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์โศกเสียใจ
ดังพระพุทธพจน์ว่า
อุยฺยุญฺชนฺติ สติมนฺโต น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา โอกโมกํ ชหนฺติ เตติ ฯ
“ท่านผู้มีสติย่อมออก (ย่อมขวนขวายเพื่อออก) ย่อมไม่ยินดี (ย่อมไม่ติด) ในที่อยู่ ย่อมละความห่วงใยไป เหมือนฝูงหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น” ดังนี้ ฯ
ท่านอธิบายไว้ว่า
“ฝูงนกคาบเอาเหยื่อของตนในเปือกตมอันบริบูรณ์ด้วยเหยื่อแล้ว ในเวลาไปก็มิได้ทำความห่วงอาลัยในที่นั้นว่า "น้ำของเรา, ดอกปทุมของเรา, ดอกอุบลของเรา, ดอกบุณฑริกของเรา, หญ้าของเรา" หามีความเสียดายไม่ ย่อมละประเทศนั้น บินไปในอากาศ ฉันใด
พระขีณาสพทั้งหลายนั่นก็ฉันนั้นแล แม้อยู่ในที่ใดที่หนึ่งมีตระกูลเป็นต้น ก็ไม่ข้องอยู่ในที่นั้น แม้ในคราวไป ก็ละที่นั้นไป หามีความห่วงหา หรือหามีความเสียดายว่า "วิหารของเรา, บริเวณของเรา, อุปัฏฐากของเรา" มิได้ ย่อมเที่ยวไป” ดังนี้ ฯ
____
สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อรหันตวรรค (เรื่องพระมหากัสสปเถระ)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 2/7/65
บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก
0 comments: