ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้
เพราะฉะนั้น ความเดือดร้อนในภายหลังย่อมมีเพราะกระทำกรรมใด กรรมนั้นผู้เป็นบัณฑิตไม่พึงกระทำ
มีพระพุทธพจน์ว่า
“น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ วิปากํ ปฏิเสวตีติ ฯ
แปลว่า
“บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ร้องไห้จนมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้วไม่ดีเลย” ดังนี้ ฯ
ท่านอธิบายความไว้ว่า “บุคคลกระทำกรรมใดที่สามารถจะให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้งหลายมีนรกเป็นต้น กรรมนั้นจัดเป็นกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร เมื่อตามระลึกถึงกรรมนั้นก็เดือดร้อนใจ ต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้เสวยผลกรรม ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกในภายหลัง ในขณะที่ระลึกถึงแล้วๆ กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้วไม่ดี ไม่งามเลย” ดังนี้ ฯ
____
สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรค (เรื่องชาวนา)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 5/7/65
บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี
วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย
ที่มา : Wikipedia , ภาพ : นักรบตะวันออก
0 comments: