ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด มารย่อมรังควานบุคคลผู้ประมาทได้ฉันนั้น
บุคคลผู้ประมาท คือคนที่ขาดความรอบคอบหรือขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตัว
๑. ขาดความรอบคอบ เพราะมักตามเห็นอารมณ์ว่างามอยู่เสมอ (ติดอยู่ในกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ)
๒. ขาดความระมัดระวัง ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลายเพราะทะนงตัว (ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
๓. ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่พิจารณาก่อนรับประทานอาหาร บริโภคเพื่อสนุกสนานหรือมัวเมา
๔. เกียจคร้านไม่อยากทำงาน คือมักอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เวลาเย็นแล้ว ยังเช้าอยู่ หิวนัก ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน และมีความเพียรเลวเป็นคนเห็นแก่การดื่มกิน เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน เกียจคร้านเห็นแก่นอน คบคนชั่วเป็นมิตร
สมดังพระพุทธพจน์ว่า
สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ
มารย่อมรังควานคนที่ตามเห็นอารมณ์ว่างามอยู่ ผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ผู้เกียจคร้านมีความเพียรเลว เหมือนลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพ (ต้นไม้ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง) ได้ฉะนั้น ฯ
สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรค
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
25/6/65
จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง
0 comments: