วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก...

คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก...

๑. ประกอบด้วยความเชื่อมั่นในสิ่งดีงาม ละอายต่อบาป สะดุ้งกลัวต่อความผิด ชอบการเรียนรู้มาก ปรารภความเพียรอยู่เสมอ มีสติมั่นคง และมีปัญญา

๒. คบหาสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นมิตรสหาย

๓. คิดสิ่งใดก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

๔. ปรึกษาการใดก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

๕. พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

๖. ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม

๗. มีความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ เช่นเห็นว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เป็นต้น

๘. มีความเอื้อเฟื้อในการให้ทาน เช่น ให้ของบริสุทธิ์ ให้ของประณีต ให้ตามกาล ให้ของที่สมควรแก่เขา รู้จักพิจารณาเลือกให้เหมาะสม ให้เป็นประจำไม่ตระหนี่ ทำจิตให้ผ่องใสในขณะที่กำลังให้ ให้แล้วก็เบิกบานใจ โดยเข้าใจถึงผลทานที่จะมีตามมา เป็นต้น

สาระธรรมในจรณะ ๑๕ ในส่วนของสัปปุริสธรรม ๘ (ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ  22/6/65

ความประพฤติที่ดีงาม

๑. มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในศีล

๒. ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำจิตใจ คือเมื่อรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ให้สำรวมอินทรีย์เหล่านั้น

๓. รู้จักพิจารณาก่อนรับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก รู้จักประมาณในการบริโภคมิใช่เพื่อสนุกสนานหรือมัวเมา

๔. ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป หมั่นประกอบความตื่นไม่เห็นแก่นอนมากนัก

สาระธรรมในจรณะ ๑๕ (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ 21/6/65

“บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี​ , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก  , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง

“อุโบสถเงินหลังแรกของโลก” วัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่


Related Posts

  • บุญเกิดจากการบูชาด้วยดอกบัวบุญเกิดจากการบูชาด้วยดอกบัวพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า“ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพญาเนื้อ​​  ผู้ไม่มีความกลัวเกรง  สามารถวิ่งไป… Continue Reading
  • "อย่าเป็นดุ้นฟืนเผาศพ""อย่าเป็นดุ้นฟืนเผาศพ"ดุ้นฟืนเผาศพ ใช้ทำกิจอะไรๆ ในที่ไหนๆ ก็ไม่ได้ เพราะเขาถือกันว่าเป็นของอัปมงคล คือปราศจากมงคล เป็นเหตุแห่งความไม่เจริญ และเป็นลางร้าย ฉันใด… Continue Reading
  • ฐิตา สทฺธา มหปฺผลา - ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วมีผลมาก“ฐิตา  สทฺธา  มหปฺผลา.   ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วมีผลมาก”พระอานนทเถระในอดีตชาติทรงเป็นพระราชกุมารพระนามว่าสุมนะ เป็นน้องชายต่างมารดากับพระบรมศา… Continue Reading
  • ผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้ผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้พระโสปากเถระได้ประกาศประวัติในอดีตชาติของตนไว้ว่า“พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ  ได้เสด็จมายังสำนักของข้าพเจ้า  ผู้กำลังทำคว… Continue Reading
  • บุญของผู้มีความเพียรนำพาธุระบุญของผู้มีความเพียรนำพาธุระคำว่า “นำพา” หมายถึง เอาใจใส่, เอื้อเฟื้อ, คอยเป็นธุระ.บุคคลผู้ทำหน้าที่ของตนด้วยความเพียร เอาใจใส่ต่อการงาน มีความเอื้อเฟื้อ และคอย… Continue Reading

0 comments: