วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565

วิธีครองใจคน

วิธีครองใจคน

ลุทฺธมตฺเถน  คณฺเหยฺย,   ถทฺธมญฺชลิกมฺมุนา;
ฉนฺทานุวตฺติยา  มุฬฺหํ,   ยถาภูเตน  ปณฺฑิตํ.

ครองใจคนโลภจัดด้วยการแบ่งให้,  ครองใจคนกระด้างด้วยการอ่อนโยน;
คนหลงด้วยคล้อยตามความประสงค์,  ครองใจบัณฑิต พึงใช้ความจริง.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๑, มหารหนีติ ๑๔๘, กวิทัปปณนีติ ๒๑๗, โลกนีติ ๗๘)

ศัพท์น่ารู้ :

ลุทฺธมตฺเถน  ตัดบทเป็น ลุทฺธํ+อตฺเถน

ลุทฺธํ  (คนขี้โลภ, ราคจริต) ลุทฺธ+อํ

อตฺเถน  (ทรัพย์, ประโยชน์, ต้องการ, เนื้อความ, อรรถะ) อตฺถ+นา

คณฺเหยฺย:  (จับ, ถือ, ยึด, ชนะ, ครอง) √คห+ณฺหา+เอยฺย กัตตุวาจก คหาทิคณะ ลง ณฺหา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า คหาทิโต ปฺปณฺหา. (รู ๕๑๗), ลบ ห ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (รู ๕๑๘) = ค+ณฺหา+เอยฺย

ถทฺธมญฺชลิกมฺมุนา  ตัดบทเป็น ถทฺธํ+อญฺชลิกมฺมุนา *** เดิมเป็น ถทฺธมญฺชถิกมฺมุนา ได้แก้เป็น ถทฺธมญฺชลิกมฺมุนา เพื่อความเหมาะสมและถูกต้อง.

ถทฺธํ: (คนกระด้าง, แข็งทื้อ, โมหจริต) ถทฺธ+อํ

อญฺชลิกมฺมุนา: (กรรมคืออัญชลี, กระทำการนอบน้อม, -อ่อนโยน) อญฺชลิ-, อญฺชลี+กมฺม > อญฺชลิกมฺม+นา

ฉนฺทานุวตฺติยา: (คล้อยตามความประสงค์, -ต้องการ, -ฉันทะ) ฉนฺท+อนุวตฺติ > ฉนฺทานุวตฺติ+นา

มูฬฺหํ: (คนหลง, ซื่อบื้อ, คนงมงาย, โมหจริต) มูฬห+อํ

ยถาภูเตน: (ตามความเป็นจริง) ยถา+ภูต > ยถาภูต+นา

ปณฺฑิตํ: (คนฉลาด, คนมีปัญญา, บัณฑิต) ปณฺฑิต+อํ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

พึงยึดใจคนโลภ ด้วยแบ่งประโยชน์ให้ คนหยิ่งโดยยกเมือไหว้

คนโง่โดยคล้อยตามใจ  แต่บัณฑิตต้องโดยความจริงใจ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ต้องเอาใจคนโลภจัดด้วยการแบ่งให้บ้าง  พึงเอาใจคนหยิงด้วยยอมนบไหว้

พึงเอาใจคนโง่ด้วยคล้อยตาม  แต่เอาใจบัณฑิตตามความจริง.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 




Previous Post
Next Post

0 comments: