จิตประณีตเริ่มจาก…
ฌาน คือภาวะจิตที่สงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก เกิดจากการเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ หรือสมาธิที่เจริญตามแนวของสัมมาสมาธิเป็นการตั้งจิตมั่นชอบ
องค์ฌานมี ๕ คือ
๑. วิตก (ตรึก)
๒. วิจาร (ตรอง)
๓. ปีติ (อิ่มใจ)
๔. สุข (สบายใจ)
๕. เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา)
ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่างฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ
สาระธรรมในจรณะ ๑๕ ในส่วนของฌาน ๔ (ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์หรือการเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ)
พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
24/6/65
คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก... , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” , ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย , เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี , ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือประชาชนรู้จักกันทั่วแล้ว เมื่อจะแนะนำพร่ำสอนผู้อื่นต้องระวังให้มากขึ้นไปอีก , ตราบใดที่ยังหมั่นทำความดีอยู่เสมอ ตราบนั้นชื่อว่ายังมีความหวัง , กรรมที่มีความเบียดเบียน คือกรรมที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน , เกิดเป็นคนควรมีศักดิ์ศรี คือความภูมิใจในตัวเอง
0 comments: