วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พูดมากเจ็บคอ

พูดมากเจ็บคอ

โย  ธุวานิ  ปริจชฺช,    อธุวาโนปเสวติ;
ธุวานิ  ตสฺส  นสฺสนฺติ,    อธุเวสุ  กถาว  กา.

ผู้ใดละทิ้งการงานที่แน่นอน  ไปทำการงานที่ไม่แน่นอน,  การงานที่แน่นอนของเขาย่อมเสียหาย  จะกล่าวไปไยถึงการงานที่ไม่แน่นอนเล่า!

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๐, มหารหนีติ ๑๔๗, จาณักยนีติ ๖๓)

ศัพท์น่ารู้ :

โย  (..ใด) ย+สิ, สัพพนาม

ธุวานิ  (๑ นป. พระนิพพาน; ๒ ค. ยั่งยืน, มั่นคง, เที่ยงแท้, แน่นอน; ธุวํ อ. ยั่งยืน, เที่ยงแท้, แน่นอน) ธุว+โย, ในที่นี้ใช้เป็นวิเสสนะของ กมฺมานิ (การงาน ท.)

ปริจฺจชฺช  (สละแล้ว, ให้, บริจาค) ปริ+√จช+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น ย, ชฺย เป็น ช แล้วซ้อน ชฺ

อธุวาโนปเสวติ  เป็นบทสนธิ, ตัดบทเป็น อธุวานิ+อุปเสวติ (กิจที่ไม่ใช่แน่นอน, ไม่ยั้งยืน +ส้องเสพ, คบหา) น+ธว > อธุว+โย = อธุวานิ; อุป+√เสว+อ+ติ ตามธาตวัตถสังคหะ หรือ อุป+√สิ+อ+ติ ตามสัททนีติ ธาตุมาลา ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

ตสฺส  (...นั้น, ของเขา) ต+ส, สัพพนาม

นสฺสนฺติ  (ฉิบหาย, เสียหาย) √นส+ย+อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ.

อธุเวสุ  (ในกิจที่ไม่แน่นอน, -ไม่มั่นคง ท.) อธุว+สุ

กถาว  กา  (จะป่วยกล่าวไปไย) กถา+เอว กา; กถา (ถ้อยคำ, การกล่าว) + เอว (นั่นเทียว) + กา (อะไร) นิยมแปลรวมกันว่า „จะป่วยกล่าวไปไย“

ขอนำคาถาเดียวกันนี้ จากคัมภีร์อื่น ๆ มาเทียบเคียงไว้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาให้ยิ่งขึ้นไป แก่ท่านผู้สนใจใฝ่รู้ ต่อไป.

ในคัมภีร์มหารหนีติ คาถา ๑๔๗ มีข้อความเหมือนกันเกือบทุกประการ ดังนี้

โย  ธุวานิ  ปริจฺจชฺช,   อธูวานฺยุปเสวติ;

ธุวาปิ  ตสฺส  นสฺสนฺติ,   อธุเวสุ  กถาว  กา.

ส่วนในคัมภัร์จาณักยนีติ คาถา ๖๓ ต่างกันบ้างพอสมควร ดังนี้

โย  ธุวานิ  ปริจฺจชฺช,   อธุวํ  ปริเสวติ;

ธุวานิ  ตสฺส  นสฺสนฺติ,   อธุวํ  นฎฺฐเมว  จ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ผู้ใดเว้นกิจที่ (เห็นผล) แน่นอนเสียเข้าไปส้องเสพ  แต่กิจที่ไม่แน่นอน 

กิจที่แน่นอนของเขาเสียหาย  ในกิจที่ไม่แน่นอน ก็ไม่ต้องพูดถึง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ผู้ใดเว้นกิจการที่เห็นผลแน่นอนแล้ว  ไปแสวงหากิจการที่ไม่แน่นอน

กิจการที่มีผลแน่นอนแล้วย่อมเสียหาย  ไม่ต้องพูดถึงกิจการที่ไม่แน่นอน.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 





Previous Post
Next Post

0 comments: