วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มิตรภาพมั่นคง

มิตรภาพมั่นคง

ตสฺมา  นาภิกฺขณํ  คจฺเฉ,    น  จ  คจฺเฉ  จิราจิรํ;
กาเลน  ยาจํ  ยาเจยฺย,    เอวํ  มิตฺตา  น  ชียเร.

เหตุนั้น จึงไม่ควรไปมาหากันพร่ำเพรื่อ  แต่ก็ไม่ควรเหินห่างกันจนเกินไป
และขอสิ่งที่ควรขอตามกาลอันควร  อย่างนี้ มิตรทั้งหลายย่อมไม่จืดจาง.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๓, มหารหนีติ ๑๕๓, ขุ. ชา. ๒๘/๕๕ มหาโพธิชาดก)

ศัพท์น่ารู้ :

ตสฺมา  (เพราะเหตุนั้น, เพราะฉะนั้น) ต+สฺมา เป็นสัพพนาม

นาภิกฺขณํ  ตัดบทเป็น น+อภิกฺขณํ (เนื่อง ๆ, บ่อย ๆ, พร่ำเพรื่อ หามิได้) อภิกฺขณ+อํ = อภิกฺขณํ

คจฺเฉ  (พึงไป, ควรไป) √คมุ+อ+เอยฺย แปลง ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ. (รู ๔๔๒)

น  (ไม่, หามิได้) จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต,

คจฺเฉ  (ควรไป) √คมุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

จิราจิรํ  (นานแสนนาน, นานเกิน, เนิ่นนาน) จิร+อจิร > จิราจิร+อํ

กาเลน (ตามกาล) กาล+นา

ยาจํ  (สิ่งที่ควรขอ) ยาจ+อํ หรือ ยาจนฺต+สิ = ยาจํ (ขออยู่, เมื่อขอ)

ยาเจยฺย (พึงขอ, ควรขอ) √ยาจ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

เอวํ  (อย่างนี้) นิบาต

มิตฺตา  (มิตร, เพื่อน ท.) มิตฺต+โย

  (ไม่, หามิได้)

ชียเร  (ย่อมแก่, หง่อม, จืดจาง, แหนงหน่าย) √ชร+อ+อนฺติ แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เหตุนั้น ไม่ควรไปหากันให้บ่อยนักแลไม่พึงเหินห่าง กันเนิ่นนาน 

พึงขอกันตามเวลาอันควร อย่างนี้  ความเป็นมิตรจึ่งจะไม่จืดจาง.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ไม่ควรไปมาหาสู่กันบ่อยเกินไป  แต่ก็ไม่ควรเหินห่างให้เนิ่นนานนัก

ควรขอกันในคราวที่ควรขอ  อย่างนี้ความเป็นเพื่อนก็จะไม่จึดจางไป.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 






Previous Post
Next Post

0 comments: