วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

กุศลธรรมนำสุข

กุศลธรรมนำสุข

เตเนว  มุนินา  วุตฺตํ,   ธมฺมา  เย  เกจิ  โลกิยา;

ตถา  โลกุตฺตรา  เจว,   ธมฺมา  นิพฺพานคามิโน.

เพราะเหตุนั้นแล พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งโลกียธรรมและ

โลกกุตตรธรรมก็ตาม กุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเป็นทางดำเนินไปสู่นิพพานเหมือนกัน.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๗, มหารหนีติ ๑๖๐)

ศัพท์น่ารู้ :

เตเนว  ตัดบทเป็น เตน+เอว (เพราะเหตุนั้นนั่นเทียว)

มุนินา  (พระมุนี,​ พระพุทธเจ้า) มุนิ+นา

วุตฺตํ  (กล่าวแล้ว, ถูกกล่าวแล้ว) √วจ+ต > วุตฺต+สิ (กัมมวาจก ใส่คำว่า วจนํ มาเป็นประธานในประโยค)

ธมฺมา  (ธรรม ท.) ธมฺม+โย

เย  เกจิ  (เหล่าใดเหล่าหนึ่ง,​ ทั้งปวง) ย+โย > เย, กึ+โย > เก +จิ = เย เกจิ สัพพนาม

โลกิยา  (ที่เป็นโลกีย์, ธรรมแบบชาวโลก) โลกิย+โย

ตถา  (เหมือนกัน, เหมือนอย่างนั้น) เป็นนิบาต, (ข้อควรทราบ เดิมในคาถา เป็น ตตา โลกุตฺตรา เจว, ได้แก้เป็น ตถา โลกุตฺตรา เจว, ให้ตรงตามคัมภีร์มหารหนีติ ซึ่งถือว่าเป็นสำนวนที่ถูกต้องกว่า.)

โลกุตฺตรา  (ทีเป็นโลกุตตระ, ธรรมที่พ้นไปจากโลกียะ) โลก+อุตฺตร > โลกุตฺตร+โย

เจว  (ด้วยนั่นเทียว) นิบาต

ธมฺมา  (ธรรมทั้งหลาย) ธมฺม+โย

นิพฺพานคามิโน  (เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพนาน, ปฏิปทาให้บรรลุพระนิพพาน) นิพฺพาน+คามี > นิพฺพานคามี+โย

ส่วนในคัมภีร์มหารหนีติ คาถา ๑๖๐ มีข้อความที่คล้ายกัน ดังนี้.

เตเนว  มุนินา  วุตฺตํ,  เยเกจิ  โลกิยา  ธมฺมา;
ตถา  นิพฺพานคามีโน, สนฺติ  โลกุตฺตรา  ธมฺมาฯ

เพราะเหตุนั้น พระมุนีเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตรธรรม ธรรมเหล่านั้น  ย่อมนำไปสู่นิพพานเหมือนกัน.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะเหตุนั้น พระมุนีจึงว่า ธรรมเหล่าใดก็ตาม  อันเป็นโลกีย์ แลที่เป็นโลกุตฺตระอันจะถึงนิพพาน  ก็เหมือนกัน.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เพราะฉะนั้น พระมุนีจึงกล่าวว่า  ธรรมเหล่าใดทั้งที่เป็นโลกิยะและ  โลกุตตรธรรมเหล่านั้นทั้งหมด จะนำให้ถึงนิพพาน.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

"วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว" จ.เพชรบูรณ์

วัดที่งดงามแห่งเขาค้อ รายล้อมด้วยทิวเขาและสายหมอก ภายในวัดตกแต่งด้วยถ้วยกระเบื้อง หินสีต่างๆ รวมถึงองค์พระพุทธรูปสีขาวซ้อนกัน 5 องค์ หรือ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ มองเห็นโดดเด่นแต่ไกล

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง...

คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง...

คนที่ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน จัดเป็นผู้มีความดำริอันจมดิ่งลง จัดเป็นผู้เกียจคร้าน คนเช่นนี้ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษอันต่างโดยคุณมีปัญญาเป็นต้น

ดังพระพุทธพจน์ว่า

“อุฏฺฐานกาลมฺหิ  อนุฏฺฐหาโน   

ยุวา  พลี  อาลสิยํ  อุเปโต

สํสนฺนสงฺกปฺปมโน  กุสีโต

ปญฺญาย  มคฺคํ  อลโส  น  วินฺทติ”

แปลว่า

“ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมลงแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา”

ท่านอธิบายความหมายของคำไว้ดังนี้ว่า

คำว่า “ไม่ขยัน”  คือไม่พยายาม.  

คำว่า “ยังหนุ่มแน่น”  คือ เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคนรุ่นหนุ่ม.  

คำว่า “มีกำลัง”  คือ ทั้งถึงพร้อมด้วยกำลัง.  

คำว่า “เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน”  คือ เป็นผู้เข้าถึงซึ่งความเป็นผู้เกียจคร้าน กินแล้วๆ ก็นอน

คำว่า “มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมลงแล้ว” คือ ผู้มีจิตประกอบด้วยความดำริอันจมดิ่งลงแล้ว เพราะมิจฉาวิตก (ความตรึกนึกคิดในทางที่ผิด) ๓ ประการ คือ

๑. กามวิตก ตรึกนึกคิดในเรื่องกาม

๒. พยาบาทวิตก ตรึกนึกคิดในการพยาบาทปองร้ายคนอื่น

๓. วิหิงสาวิตก ตรึกนึกคิดในการเบียดเบียนคนอื่น

คำว่า “ขี้เกียจ”  คือ ผู้ไม่มีความเพียร.  

คำว่า “เกียจคร้าน”  คือ บุคคลนั้นเกียจคร้านมาก

ดังนั้น เมื่อไม่เห็นอริยมรรคอันพึงเห็นด้วยปัญญา จึงชื่อว่า ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้บรรลุคุณวิเศษอันต่างโดยคุณมีฌานเป็นต้น

เพราะฉะนั้น เด็กหรือวัยรุ่นที่ขยันในกาลที่ควรขยัน ย่อมประสบความสำเร็จได้ ดังนี้.

_____

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรค (เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ

22/7/65

"พระใหญ่" จ.ภูเก็ต

หรือ "พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี" ประดิษฐานบนยอดเขานาคเกิด คล้ายกับพระพุทธรูปประจำฮ่องกง The Hong Kong Big Buddha ศิลปะแบบร่วมสมัย ประดับผิวด้วยหินอ่อนหยกขาวสุริยกันตะ จากพม่า


คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดีคนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ , ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ใบไม้หนึ่งกำมือ

ใบไม้หนึ่งกำมือ

[ณ ป่าสีสปา ใกล้นครโกสัมพี พระพุทธเจ้าได้หยิบใบประดู่ลาย 2-3 ใบขึ้นมาแล้วกล่าวกับเหล่าภิกษุว่า]

พ:  ใบประดู่ลาย 2-3 ใบที่เราถืออยู่กับใบที่อยู่บนต้นในป่าไม้ประดู่ลายนี้ ส่วนไหนมีมากกว่ากัน? 

ภ:  ใบที่ท่านถืออยู่มีน้อยกว่าที่อยู่บนต้น

พ:  เช่นกันภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่ไม่ได้บอกพวกเธอนั้นมีมาก ที่ไม่บอกเพราะการรู้สิ่งเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ได้รู้เพื่อความดับ ความสงบ การรู้แจ้งและพ้นทุกข์ 

แล้วเราได้บอกอะไร เราบอกว่านี้คือทุกข์ นี้คือสาเหตุที่ทำให้ทุกข์ นี้คือการไม่ทุกข์ นี้คือวิธีที่จะไม่ทุกข์ ที่บอกเพราะการรู้สิ่งเหล่านี้จะทำให้เบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบ การรู้แจ้งและพ้นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ พวกเธอจึงควรเพียรพยายามเรียนรู้ว่า นี้คือทุกข์ นี้คือสาเหตุที่ทำให้ทุกข์ นี้คือการไม่ทุกข์ นี้คือวิธีที่จะไม่ทุกข์

_______

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 31 (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สีสปาสูตร ข้อ 1712), 2559, น.448

Credit:เพจ พระพุทธเจ้าพูดอะไร

เมื่อไม่ยึดติดยินดีในสิ่งใดแม้แต่ชีวิตและร่างกาย ก็จะไม่ทุกข์ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ไปได้ , 'ความอยาก' ทำให้เราเวียนว่ายไม่จบสิ้น , อะไรที่จะทำให้เราอยู่อย่างเป็นสุข? , อะไรที่ทำให้จิตเศร้าหมอง?





คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่

คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่

คนโง่ที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต แม้มาอยู่ในสำนักเรียนก็ไม่ยอมเข้าเรียน ไม่ยอมรับฟังคำสั่งสอนโดยเคารพเดินเข้าๆ ออกๆ ห้องเป็นว่าเล่น มักอวดว่าตนรู้แล้วเรื่องแค่นี้ เพื่อนๆเรียนไม่เก่งเหมือนตน ไม่ใส่ใจท่องสูตรแห่งธรรมและวินัย ติดอบายมุข ไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติที่ควรบำเพ็ญ นี่แหละคนโง่ที่อวดฉลาด

แต่คนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญคือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่ คือความเป็นคนเขลานั้นด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา" คนโง่นั้นก็พอจะเป็นบัณฑิตได้บ้าง หรือพอจะเป็นเช่นกับบัณฑิตได้บ้าง ก็เพราะเขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" จึงเข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่นซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิตนั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว ย่อมเป็นบัณฑิต หรือเป็นบัณฑิตยิ่งกว่าก็ได้ ดังนี้.

________

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรค (เรื่องโจรผู้ทำลายปม)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

20/7/65

ศีลชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี

"พุทธอุทยานมาฆบูชาอนุสรณ์" จ.นครนายก

ประดิษฐานพระพุทธรูปปางแสดงโอวาทปาติโมกข์องค์ใหญ่ ล้อมรอบด้วยพระพุทธรูป 1,250 องค์ แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชา ที่พระสาวกทั้ง 1,250 องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย


សារធម៌ “សមណៈ”

សារធម៌ “សមណៈ”

សមណៈ  ប្រែថា  អ្នកស្ងប់ បានដល់ អ្នកស្ងប់កិលេសផ្លូវកាយ វាចា ចិត្ត មានសេចក្ដីប្រព្រឹត្តរៀបរយ សង្រួមប្រយ័ត្ន មិននិយាយរាយមាយឥតប្រយោជន៍ទៅតាមក្រសែកិលេស។

សមណៈ ក្នុងព្រះពុទ្ធសាសនា បានដល់ព្រះភិក្ខុសង្ឃ អ្នកលះនូវការចិញ្ចឹមជីវិតបែបគ្រហស្ថ រស់នៅតាមវិថីព្រះពុទ្ធសាសនា។

ព្រះពុទ្ធសាសនា សង្កត់ធ្ងន់ឲ្យព្រះភិក្ខុសង្ឃយកចិត្តទុកដាក់និងពិចារណាភាវៈជាសមណៈយ៉ាងខ្លាំង ព្រោះជាគោលដៅនៃការបួសក្នុងព្រះពុទ្ធសាសនា។

សមណៈក្នុងព្រះពុទ្ធសាសនា មានតួនាទីគឺការបដិបត្តិដើម្បីធ្វើឲ្យកិលេសស្ងប់ សមដូចបាលីថា “សមិតបាបត្តា  សមណោតិ  វត្តព្វោ”  អ្នកដែលហៅថា សមណៈ ព្រោះស្ងប់រម្ងប់បាបហើយ។ 

ពាក់ព័ន្ធនឹងសមណៈនេះ មានពាក្យដែលគប្បីសិក្សានិងពិចារណាដូចតទៅនេះ 

១. សមណសញ្ញា  គឺ ការកំណត់ដឹងក្នុងចិត្តថា ខ្លួនជាសមណៈ មានភេទខុសពីគ្រហស្ថ មានការចិញ្ចឹមជីវិតរស់នៅអាស្រ័យអ្នកដទៃ មានកិរិយាមារយាទត្រូវសង្រួម។

២.សមណសារូប គឺ កិរិយាមារយាទសមគួររបស់សមណៈ ដូចជា ការដេក ដើរ ឈរ អង្គុយ បរិភោគ និយាយស្ដី ធ្វើ គិត ត្រូវឲ្យសមរម្យ ត្រូវហ្វឹកហាត់ អភិវឌ្ឍខ្លួន មិនគួរធ្វេសប្រហែស។

៣. សមណវិស័យ គឹ ខេត្តដែនកំណត់ ដែលព្រះភិក្ខុសង្ឃអាចធ្វើបាន និយាយបាន ឬសម្ដែងចេញ ត្រូវពិនិត្យពិចារណាយ៉ាងហ្មត់ចត់ ច្បាស់លាស់គ្រប់ជុ្រងជ្រោយ ព្រោះនឹងកើតផលប៉ះពាល់ដល់ស្ថាប័នទូទាំងសង្ឃមណ្ឌល។

៤. សមណធម៌ គឺ គោលធម៌សម្រាប់ព្រះភិក្ខុសង្ឃអ្នកបួសក្នុងព្រះពុទ្ធសាសនា ជាវត្តបដិបត្តិដោយចំពោះដែលហៅថា ត្រៃសិក្ខា (សីល សមាធិ បញ្ញា) សរុបរួមក្នុងគន្ធធុរៈនិងវិបស្សនាធុរៈ។

៥. សមណសតិ គឺ រលឹកជានិច្ចថាខ្លួនជាភិក្ខុសង្ឃ ជាអ្នកបួស មានជីវិតខុសពីអ្នកស្រុក មានតួនាទីក្នុងភេទជាភិក្ខុសង្ឃ មិនភ្លេចស្ថានភាពខ្លួនជាភិក្ខុសង្ឃ ហើយវង្វេងផ្លូវទៅធ្វើខ្លួនបែបគ្រហស្ថ ៕

ថ្ងៃទី២០ កក្កដា ២០២២

ព្រះមហាអូផាត ឋិតញាណោ





អត្ថបទផ្សេងៗ៖ ជួនកាល “រាជសីហ៍ឈរយ៉ាងសង្ហា” ក៏ធ្លាប់ជា “ឆ្កែទាល់ច្រក” ពីមុនមកដែរ , សេចក្តីប្រមាទជាផ្លូវនៃសេចក្តីស្លាប់ "មហាសង្រ្កាន្តឆ្នាំថ្មី វិថីជីវិតស្ថិតលើគន្លងធម៌" , ការធ្វើដំណើររបស់ដួងវិញ្ញាណក្រោយមរណកាល , ទិវាបុណ្យវិសាខបូជា , អត្ថន័យនិងសារសំខាន់នៃថ្ងៃបុណ្យវិសាខបូជាមានអ្វីខ្លះទៅ ? , សេចក្តីប្រមាទជាផ្លូវនៃសេចក្តីស្លាប់ "មហាសង្រ្កាន្តឆ្នាំថ្មី វិថីជីវិតស្ថិតលើគន្លងធម៌" , ករុណាយ  ទិនំ  ហោតិ  មាឃបូជាធ  សាសនេ  :  មាឃបូជាទិវានៃសេចក្ដីស្រឡាញ់ , ជីវិតត្រូវសិក្សា បញ្ញាត្រូវអប់រំ , គុណធម៌ទាំង១០​ ជាទ្រព្យរបស់អ្នកដឹកនាំ , អប្បកញ្ចិទំ ជីវិតមាហុ ធីរា​ - ​ជាការពិតណាស់ ប្រាជ្ញទាំងឡាយបានពោលទុកថា ជីវិតនេះខ្លីណាស់ , តួនាទីរបស់ព្រះភិក្ខុសង្ឃមានអ្វីខ្លះទៅ? , អានិសង្ស​របស់និច្ចសីល ឬហៅថាសីល ៥ មានអ្វីខ្លះទៅ? , លោកវជ្ជកថា , សំណាកស្លាកស្នាមព្រះពុទ្ធបដិមារបស់លាវដែលនៅសេសសល់បន្ទាប់ពីទីក្រុងវៀងច័ន្ទន៍ត្រូវបានដុតបំផ្លាញចោល​ , ជីវិតត្រូវសិក្សា បញ្ញាត្រូវអប់រំ , "ពលធម៌" មានន័យយ៉ាងម៉េចទៅ ? , ទោសនៃការសេពគ្រឿងស្រវឹងដែលកើតក្នុងជីវិតអ្នកប្រព្រឹត្ត ,​ រើសយកអាជីពណា ត្រូវក្លាហានក្នុងអាជីពនោះ
คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี

คนทำชั่วก็เป็นคนชั่ว ส่วนคนทำดีก็เป็นคนดี

แต่กรรมดีและกรรมชั่วบางครั้งชาตินี้เราอาจจะยังไม่ได้เห็นผลของกรรมนั้น เพราะเราเกิดมาแล้วยังต้องเสวยผลของกรรมเก่าอยู่

ท่านอธิบายไว้ว่า

บุคคลผู้ประกอบบาปกรรมมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนบาป

ท่านกล่าวว่า “ก็คนบาปแม้นั้น เมื่อยังเสวยสุขอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งสุจริตกรรมในปางก่อนอยู่ จึงเห็นแม้บาปกรรมว่า “ดี”

เพราะบาปกรรมของเขานั้นยังไม่ให้ผลในปัจจุบันภพหรือสัมปรายภพเพียงใด คนทำบาป ย่อมเห็นบาปว่า “ดี” เพียงนั้น

แต่เมื่อใดบาปกรรมของเขานั้นให้ผลในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพ เมื่อนั้น คนทำบาปนั้น เมื่อเสวยกรรมกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันภพ และทุกข์ในอบายในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็นบาปว่า “ชั่ว” ถ่ายเดียว

ส่วนบุคคลผู้ประกอบกรรมดีมีสุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนดี

ท่านกล่าวว่า “คนทำกรรมดีแม้นั้น เมื่อเสวยทุกข์อันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งทุจริตในปางก่อน ย่อมเห็นกรรมดีว่า “ชั่ว”

เพราะกรรมดีของเขานั้นยังไม่ให้ผลในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพเพียงใด คนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่า “ชั่ว” อยู่เพียงนั้น

แต่เมื่อใด กรรมดีนั้นให้ผล เมื่อนั้นคนทำกรรมดีนั้น เมื่อเสวยสุขที่อิงอามิสมีลาภและสักการะเป็นต้นในปัจจุบันภพ และสุขที่อิงสมบัติอันเป็นทิพย์ในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็นกรรมดีว่า “ดีจริงๆ” ดังนี้

ดังพระพุทธพจน์ว่า

ปาโปปิ  ปสฺสติ  ภทฺรํ     ยาว  ปาปํ  น  ปจฺจติ
ยทา  จ  ปจฺจติ  ปาปํ     อถ  (ปาโป)  ปาปานิ  ปสฺสติ.
ภทฺโรปิ  ปสฺสติ  ปาปํ    ยาว  ภทฺรํ  น  ปจฺจติ
ยทา  จ  ปจฺจติ  ภทฺรํ     อถ (ภทฺโร)  ภทฺรานิ  ปสฺสติ.

แปลความว่า

“แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด บาปเผล็ดผล, เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว

ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี” ดังนี้แล ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรค (เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

21/7/65

คนที่อวดฉลาดมักไม่รู้สึกตัวว่าตนโง่ศีล , ชีวิตมิได้มีแต่วันนี้ , บุญบาปล้วนแต่เป็นเครื่องข้อง , ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง , เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะ , บางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี









ผลของการมีสติรู้ตัวทุกลมหายใจ

ผลของการมีสติรู้ตัวทุกลมหายใจ

[ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้านั่งอยู่กลางแจ้งในคืนพระจันทร์เต็มดวงท่ามกลางภิกษุสงฆ์ที่นิ่งเงียบ]

...ถ้าฝึกสติให้รู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) บ่อยๆ จะทำให้มีสติรู้เห็นความเป็นไปทางร่างกาย ความรู้สึก จิตใจ และสรรพสิ่งต่างๆอย่างเท่าทันตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน 4)

เพิ่มพูนเหตุปัจจัยที่จะทำให้เห็นแจ้ง (โพชฌงค์ 7) จนเกิดความรู้แจ้ง (วิชชา - คือสามารถระลึกชาติ รู้การเกิดดับของสัตว์ทั้งหลาย รู้แนวทางดับกิเลสที่ฝังลึกอยู่ในจิต) และคลายความยึดมั่นถือมั่น หลุดพ้นจากกิเลส (วิมุตติ) ได้ในที่สุด...

__________

ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 22 (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ภาค 3 เล่ม 1 อานาปานสติสูตร), 2259, น.342

Credit:เพจ พระพุทธเจ้าพูดอะไร

บทความอื่นๆ: ใบไม้หนึ่งกำมือเมื่อไม่ยึดติดยินดีในสิ่งใดแม้แต่ชีวิตและร่างกาย ก็จะไม่ทุกข์ , ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ไปได้ , 'ความอยาก' ทำให้เราเวียนว่ายไม่จบสิ้น , อะไรที่จะทำให้เราอยู่อย่างเป็นสุข? , อะไรที่ทำให้จิตเศร้าหมอง?


"วัดบึงลัฏฐิวัน" จ.พระนครศรีอยุธยา

ประดิษฐาน “พระพุทธเมตตาชยันตีศรีโสภณอโยธยา” ปางคันธราช ประดับกระเบื้องโมเสคสีขาวรอบๆ องค์พระ ล้ำค่าศิลปะ ขนาดหน้าตัก 19 เมตร กราบพระธาตุหลวงปู่ชา เป็นสาขาที่ 20 วัดหนองป่าพง 

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ปรับความเข้าใจเสียใหม่ กับประโยคที่ว่า "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น​ ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น"

ปรับความเข้าใจเสียใหม่ กับประโยคที่ว่า "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น​ ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น"

ประโยคที่ว่า "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น​ ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น"  คนส่วนมาก รวมทั้งเราด้วย ก็จะเข้าใจว่า พระท่านบอกให้ปลงว่า

ไปไม่กลับ ก็ = ตาย

หลับไม่ตื่น ก็ = ตาย 

ฟื้นไม่มี ก็ = ตาย

หนีไม่พ้น ก็ = ตาย  ใช่ไหม?  แต่พระท่านแสดงธรรมว่า 

เราท่านทั้งหลายเข้าใจความหมายผิดหมดเลย เราควรจะทำความเข้าใจเสียใหม่ ให้ถูกต้อง จะได้ไปสอนลูกหลานให้เข้าใจ ดังนี้

"ไปไม่กลับ" หมายถึง 'กาลเวลา' ที่หมุนผ่านไป ไม่มีวันหวนกลับ อดีตล่วงไปแล้ว เหลือแต่ปัจจุบัน ควรใช้เวลาสร้างแต่ความดีให้คุ้มค่า

"หลับไม่ตื่น" หมายถึง คนที่ยังหลงอยู่กับ 'โมหะ' ความหลงใน 'กิเลส' สร้างแต่บาปกรรม ไม่ยอมทำความดี เหมือนคนที่หลับไหล ไม่ยอมตื่นรับรู้ตามความจริง

"ฟื้นไม่มี" หมายถึง 'สังขารของเราที่ร่วงโรยไป' ในแต่ละวัน ไม่สามารถย้อนคืนความหนุ่มความสาวได้

"หนีไม่พ้น" หมายถึง 'กรรม' ที่เราสร้างมาในแต่ละวัน ไม่มีวันที่เราจะหนีกรรมนั้นพ้น

สรุปว่า ท่านบอกให้เรา 

ไม่ประมาทใน 'กาลเวลา'

ไม่ประมาทใน 'กิเลส'

ไม่ประมาทใน 'สังขารที่ล่วงไป'

ไม่ประมาทใน 'การสร้างบุญกุศล'

_______

บทความอื่นๆ

เมื่อไม่ยึดติดยินดีในสิ่งใดแม้แต่ชีวิตและร่างกาย ก็จะไม่ทุกข์ทำอย่างไรจะออกจากทุกข์ไปได้ , 'ความอยาก' ทำให้เราเวียนว่ายไม่จบสิ้น , อะไรที่จะทำให้เราอยู่อย่างเป็นสุข? , อะไรที่ทำให้จิตเศร้าหมอง?








What is Buddhism?

What is Buddhism?

Buddhism, one of the oldest 
faiths in the world, began some
2600 years ago in the Indian continent. The term ‘Buddhism’ is a western 

translation of ‘Buddhadhamma’, which simply means the teachings of the Buddha. It is based on 45 years’ teaching by the Buddha. ‘Buddha’ means an enlightened being, who  possess three qualities; Purity, Compassion and Wisdom. It also means realizing the truth about the way things really are. One of the most remarkable ideas in Buddhism is that  of being ‘open for criticism’. We are invited to test in our own experience its Truths, to find peace, to work toward Enlightenment. 

The Buddha’s discussions with critics have been faithfully recorded and passed down. They revealpatient explanations of his discoveries and analysis of his critics’ beliefs.Some people say that Buddhism is not a religion, and  some say it is a religion and in some ways it is a way of life. Buddhism encourages freethinking on the basis of universal truth. It is a religion of self-help, inspiring every individual to examine it before putting it into practice. Its ideas and views are compatible with modern science, valuable and robust. Buddhism speaks about the problems and sufferings of life and encourages us to overcome them through individualeffort and realization. It doesn’t rely on superstition or an outside invisible power. 

Buddhism believes that everything in the world as commonly perceived is imperfect, unsatisfactory. This can beovercome by following the teaching of the Buddha - by living a moral life and practicing ‘insight meditation’. 

The human mind has the ability to watch its own workings! It is called kammatthana, a meditation. There are two kinds of meditation; concentration or calming mind (samatha) and insight meditation. Insight meditation, called vipassana, begins in the simplest way by sitting quietly, attending to a  simple sensation such as the air we breathe passing the nostrils.

 Distracting thoughts arise spontaneously – bringing the attention back to the breathing has the effect of ‘calming  the mind’. Today, Buddhism is practiced by about 500 million people around the world, mostly in China, Bhutan, Myanmar, Cambodia, Japan, Korea, Malaysia, Sikkim, Singapore, Sri Lanka, India, Nepal, Taiwan, Tibet, Thailand, Laos, and Vietnam. It is also rapidly growing in the West. In Britain alone there are over 130,000 Buddhists and about 400 Buddhist organizations. In Germany, Switzerland, USA and Australia also, Buddhism is rapidly growing. 

Tiratana; Triple Gem 

The main factors of the Buddhism are; the Buddha, the Dhamma and the Sangha, also known as the triple gem (Tiratana). The Buddha is the founder of this dispensation and his teachings are known Dhamma. All the teachings are collected in 'Tipitaka', the three baskets of scriptures. It is a Buddhist scripture recorded in ancient language called 'Pali'. The Sangha means a community of his followers, particularly ordained disciples, who are the heirs of the Dhamma. 

Source:  Your Questions, My Answers on Buddhism & Experience

by Ven. S.M. Sujano

______________________

Other articles: Karaniya Metta Sutta Chanting , Mangala Sutta Chanting - The greatest blessing ,  Are Buddhists Idol Worshippers? ,  Attainment of Buddhahood , Faith, Confidence and Devotion , Loving-Kindness , Can We Justify War? , Dreams and Their Significance ,  Buddhism and Women  , Modern Religion , Is Buddhism a Theory or a Philosophy? , Hi Beloved Community! , Are Buddhists really idol worshippers?  , Which is the Proper Religion? , Religion in a Scientific Age , How to Save Yourself , Why is there no Peace? , You Protect Yourself , Moral and Spiritual Development , Do It Yourself , Everything is Changeable , The Meaning of Prayer , What is the purpose of life? , The Buddha's Silence , Kathina Robe Dana festival  , What is Kamma?  , The teachings of Buddha , What is Kamma? , Pavāranā day ,  The Law Of Karma , The First Buddhist Council , Practical Vipassana Meditational Exercises By Ven. Mahasi Sayadaw , There are six supreme qualities of DhammaBuddhist Paintings: The Life of the BuddhaThe life of the Buddha , What is Buddhism? , A Basic Buddhism Guide , The Eight-Fold Path is the fourth of the Four Noble Truths - the first of the Buddha's teachings ,  A Gift of Dhamma , WHAT DID THE BUDDHA TEACH? , THE FOUR NOBLE TRUTHS , A Dhammatalk by Ajahn Chah: The Four Noble Truths , The Middle Way of Buddhism , The Path to Peace , The Middle Way Within , The Training of the Heart , Right Practice - Steady Practice , Question and Answer about Dhamma (QA1 - QA10) , Question and Answer about Dhamma (QA11-QA18) , Questions and Answers with Ajahn Chah , A Dhammatalk by Ajahn Chah:  Questions and Answers , Even One Word Is Enough , Right Restraint , Listening Beyond Words , Where did the Buddha enter Nibbāna? , Knowing the World , Wholehearted Training , Understanding Dukkha , Monastery of Confusion , It Can Be Done , About Being Careful , Unshakeable Peace , Suffering on the Road , Clarity of Insight , Evening Sitting , Transcendence , "Not Sure!" - The Standard of the Noble Ones , Sense Contact - the Fount of Wisdom , In the Dead of Night... , The Flood of Sensuality , Sammā Samādhi - Detachment Within Activity , Maintaining the Standard , Understanding Vinaya , Dhamma Fighting , Toward the Unconditioned , Still, Flowing Water , ''Tuccho Pothila'' - Venerable Empty-Scripture , Living in the World with Dhamma , Meditation , Our Real Home , Why Are We Here? , Making the Heart Good , Epilogue , Right View - the Place of Coolness ,  No Abiding , Convention and Liberation , The Peace Beyond , The Path in Harmony , On Meditation , Training this Mind ,  Just Do It! , Reading the Natural Mind , Living With the Cobra , The Two Faces of Reality , Dhamma Nature , The Last Message of the Buddha , The towering Phra Buddha Maha Nawamin of Wat Muang is one of the tallest statues in the world , "Happy Honey Full Moon Day" , Phra Phuttha Rattana Mongkhon Mahamuni at Wat Bhurapha Piram , The Big Buddha Phuket , Wat Muang, largest sitting Buddha statue in Thailand , The Big Buddha (Hong Kong) , Wat Tham Pha Daen a beautiful hill top temple , WatYaiChaiMongkol (Mongkhon), Ayutthaya, Thailand. , The sacred Buddha head in the roots of the Bodhi Tree. , Wat Phai Lom

Colossal Buddha head, in the Ratnagiri Museum, Orissa state of India.



วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน

เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน

ปพฺเพ  ปพฺเพ  กเมนุจฺฉุ,    วิเสสรสวาคฺคโต;
ตถา  สุเมตฺติโก  สาธุ,    วิปริตฺโตว  ทุชฺชโน.

อ้อยย่อมมีรสหวานอร่อยจาก  ปลายไปหาโคนทีละปล้อง ๆ ฉันใด   มิตรดี มีน้ำใจงาม ก็เหมือนกันฉันนั้น  ส่วนมิตรชั่วมีลักษณะตรงข้ามนั่นเทียว.

(ธรรมนีติ มิตตกถา ๑๐๖, มหารหนีติ ๑๕๙, โลกนีติ ๑๖๒)

ศัพท์น่ารู้ :

ปพฺเพ  ปพฺเพ  (ข้อ, ปล้อง, ทีละปล้องๆ) ปพฺพ+สฺมึ

กเมนุจฺฉุ  ตัดบทเป็น กเมน+อุจฺฉุ (ตามลำดับ+อ้อย)

วิเสสรสวาคฺคโต  ตัดบทเป็น วิเสสรสวา+อคฺคโต (มีรสอันอร่อย+จากปลาย), วิเสส (วิเศษ, ล้ำเลิศ)+รสวนฺตุ (มีรส) > วิเสสรสวนฺตุ+สิ = วิเสสรสวา (มีรสวิเศษ, มีรสอร่อย, รสหวานฉ่ำ). อคฺค+โต = อคฺคโต (แต่ปลาย, แต่ยอด)

ตถา  (เหมือนกัน, เหมือนอย่างนั้น) นิบาตบอกอุปมา

สุเมตฺติโก  (มิตรดี, ผู้มีไมตรีที่งาม) สุเมตฺติก+สิ

สาธุ  (ดี, คนดี) สาธุ+สิ

วิปริตฺโตว  ตัดบทเป็น วิปริตฺโต+เอว (ตรงข้างกัน+นั่นเทียว)

ทุชฺชโน  (ทุรชน, คนชั่ว) ทุ+ชน > ทุชฺชน+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

อ้อยมีรสดีลงมาจากปลายเป็นปล้อง ๆ  มิตรย่อมมีลักษณะดีเช่นนั้น แต่ทุรชนตรงกันข้าม.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

อ้อยมีรสหวานจากปลายมาหากกเป็นปล้อง ๆ  เพื่อนดีก็มีลักษณะดีเช่นนั้น แต่ทุรชนตรงกันข้าม.

____

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 ยอดคน มิตรแท้ , เพื่อนแท้ , เพื่อนหายาก , พูดมากเจ็บคอ , วิธีครองใจคน , มิตรภาพจืดจาง , มิตรภาพมั่นคง , ตัดไฟแต่ต้นลม , เพื่อนคู่คิด , เพื่อนดีดุจอ้อยหวาน , กุศลธรรมนำสุข , กัลยาณมิตร , ยอดกัลยาณมิตร , คนอื่นที่ดุจญาติ , คนไม่น่าคบ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 

"วัดพระธาตุดอยพระฌาน" จ.ลำปาง

วัดตั้งอยู่บนภูเขาอันเงียบสงบ เรียกว่า ดอยพระฌาน เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์และทะเลหมอกที่สวยงามของ อ.แม่ทะ ประดิษฐานพระใหญ่ไดบุตซึ องค์พระสีเขียวขนาดใหญ่ และวิหารที่อ่อนช้อยแบบล้านนา

ภาพ:  อนันต์ รักษาวงศ์