วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง

ความกังวล มักเกิดจากความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ อย่าง

ตัณหาคือความอยากของบุคคล มี ๓ อย่าง ได้แก่

๑. กามตัณหา  คือความอยากได้สิ่งต่างๆ มาบำรุงบำเรอความสุขทางกายและใจ

๒. ภวตัณหา  คือความอยากอยู่ในฐานะที่ตนพึงใจ

๓. วิภวตัณหา  คือความอยากพ้นไปจากสภาพไม่พึงใจที่ตนเป็นอยู่หรือประสบอยู่

เพราะความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ซึ่งมีมากและเพื่อตอบสนองความต้องการของตนนั้นและเพราะความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากพ้นไปจากสภาพไม่พึงใจที่ตนเป็นอยู่หรือประสบอยู่ จึงทำให้เกิดความกังวลใจหรือความทุกข์ใจนั่นเอง

เพราะฉะนั้น  อย่าวิตกกังวลให้มากเลย มันจะก่อให้เกิดความตึงเครียดและความอิดโรยของร่างกายได้ จงรู้จักการปล่อยวางบ้าง เพราะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้ามันจะเป็นของเรา ตามบุญของเรา มันก็ต้องเป็นของเราแน่นอน ส่วนของสิ่งใดมันจะไม่เป็นของเรา  เพราะเราไม่มีบุญที่จะได้มัน ก็ไม่เห็นจะเป็นไรเลย ถ้าไม่ได้มันก็ไม่ถึงกับตายหรอก  

ฉะนั้น  จงอย่ายึดมั่นกับวัตถุสิ่งของหรือกับความสุข ให้มากไปกว่าความพอดีหรือความพอเพียงเลย.

มีพระบาลีว่า  “นตฺถิ  กิญฺจนํ”  ความว่า   “อย่ามีความกังวล”  กล่าวคืออย่ามีความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ เหล่านั้น ส่วนบุคคลใดผู้ไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือตัณหาราคะเป็นต้น บุคคลนั้นชื่อว่าไม่มีความยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไรๆ จึงไม่มีความวิตกกังวล ดังนี้ ฯ

_________

สาระธรรมจากอรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรค (เรื่องพระธรรมทินนาเถรี)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ

3/7/65

เครื่องกั้นมิให้สิ้นไปจากอาสวะบางครั้งต้องอยู่คนเดียวให้เป็น , มัวร่าเริงหรือเพลิดเพลินอะไรกันหนอ ? , เหตุที่จะนำสุขมาให้ คือการรักษาคุ้มครองจิตไว้ให้ได้ , ลมรังควานต้นไม้ที่ทุพพลภาพได้ฉันใด , จิตประณีตเริ่มจาก , คุณสมบัติของคนดีเริ่มจาก , “บัณฑิตนั้น พึงเป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม” ,  ถ้าเจอคนแบบนี้ไม่ต้องกลัว ไม่เท่าไรหรอก ? , อาปายิกสูตร , ตาดีได้ ตาร้ายเสีย ? , เหตุเกิดแห่งอกุศลกรรม , การจะไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือคบค้ากัน หรือคบค้าสมาคมกัน , อามิสกับธรรมพระพุทธองค์มักแสดงไว้คู่กันเสมอ , ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ,  เหตุไฉนผิวพรรณจึงผ่องใส ? , ทุกข์ปรากฎที่ไหนต้องดับที่นั้น , รู้เพื่อละ , การดับทุกข์ได้จริงและถูกต้อง ต้องไม่ทำบาปดับทุกข์ , การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเป็นการดี

วัดพระธาตุวาโย อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา​


Previous Post
Next Post

0 comments: