วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

ลักษณะของสัตบุรุษคนดีน่านับถือ

ลักษณะของสัตบุรุษคนดีน่านับถือ

ในสัปปุริสสูตร (พระสูตรว่าด้วยสัตบุรุษ หรือคนมีคุณธรรมประพฤติอยู่ในศีลในธรรม) พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า   “ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก คือ แก่มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร อำมาตย์ และสมณพราหมณ์

สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก คือ แก่มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร อำมาตย์ และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามีเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก” ดังนี้

และพระพุทธองค์ยังได้ตรัสเป็นพระคาถาประพันธ์แสดงลักษณะของสัตบุรุษคนดีน่านับถือนั้นไว้ในท้ายพระสูตรว่า

“สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์   เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก   เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว  เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร   เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม  สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์  มีหิริ (ความละอายต่อบาป) ในใจ  ดุจแท่งทองชมพูนุท  แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา” ดังนี้

เพราะฉะนั้น สัตบุรุษตามนัยแห่งสัปปุริสสูตรนี้ต้องประกอบด้วยธรรมที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ คือ

๑. หิโต  เป็นผู้ประพฤติเพื่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก

๒. พหุสฺสุโต  เป็นผู้เรียนมาก

๓. สีลวา  เป็นผู้มีศีลและวัตรอันดีงาม

๔. ธมฺมคุตฺโต  เป็นผู้คุ้มครองธรรม (หมายถึงไม่ทำอะไรด้วยความผลุนผลันตามอำนาจแห่งอคติคือความลำเอียง)

๕. ธมฺเม  ฐิโต  เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม (หมายถึงตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรมและสัปปุริสธรรมเป็นต้น)

๖. สจฺจวาที  เป็นผู้กล่าวแต่คำสัตย์

๗.หิรี  เป็นผู้มีความละอายต่อบาป (รวมทั้งมีโอตตัปปะ คือความเกรงกลัวต่อผลของบาปด้วย)

หากเป็นคนดีมีศีลธรรมประจำใจแล้วก็ไม่ต้องกลัว เพราะธรรมและเทพเทวาทั้งหลายย่อมช่วยรักษา ใครๆก็ติเตียนไม่ได้ แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ ดังนี้.

สาระธรรมจากสัปปุริสสูตร

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ  15/3/65

ปราสาทนครหลวง หรือ พระนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ปราสาทนครหลวงสร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นโดยเอาปราสาทนครหลวง เข้าไปไว้ในเขตของวัดด้วย และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม

ปราสาทนครหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในชื่อ พระนครหลวง

Prasat Nakhon Luang

Prasat nakhon Luang is located in amphoe Nakhon Luang near River Pa Sak, Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province. The word "Nakhon Luang" is derived from "Muang Phra Nakhon Luang" aka "Sriyasothornpura" in Cambodia. The temple's architectural quality imitated Pra Sat Sila in Kingdom of Cambodia, ordered by King Pra Sat Thong in 1631 after he had occupied the throne for two years. The castle was built near Wat Thep Chandra to celebrate the king's honor that he could take Cambodia back.The castle used to be kings' rural residence when travelling to praise Buddha footprint in Saraburi and staying over night while going to Lopburi. The Prasat was gorgeously yellow. Then the mondop was built, following by four Buddha footprints inside the castle. Later these building were renovated and noticeably became more like western and Chinese, but the residences next to the castle are ruins. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn came here to perform the castle opening ceremony in 1995.Initially, the construction of the castle began by making the soil hill. The whole castle was made of bricks and cement. It was surrounded by triforium in square shape and also Prang Tid and Prang Rai. Another interesting place nearby is Sarn Prachan Loy (Floating Moon Pavillion). It is in front of the castle. The building is a tetrahedron with Floating Moon made of huge granite plate from Wat Thep Chandra Loy inside. There is also Wat Mai Pra Chum Pon anear. It has beautiful Ayutthaya Period's style of Ubosot and Buddhaprang.Don't forget to see Prasat Nakhon Luang in the countryside when visiting Ayutthaya. As it's not very crowded so it fits those who love peaceful tourist attractions to enjoy seeing stunning architectur.

Source: https://www.tourismthailand.org/Attraction/prasat-nakhon-luang

ภาพ :  นักรบตะวันออก





Previous Post
Next Post

0 comments: