วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

บุญกรรมต้องทำเอง

บุญกรรมต้องทำเอง

อตฺตนาว  กตา  ลกฺขี,    อลกฺขี  อตฺตนา  กตา;
น  หิ  ลกฺขึ  อลกฺขิญฺจ,    อญฺโญ  อญฺญสฺส  การิโต.

บุคคลสร้างสิริมงคลด้วยตนเอง  และสร้างสิ่งที่มิใช่สิริมงคลด้วยตนเอง  เพราะคนอื่นจะสร้างสิริมงคลหรือสิ่งที่  มิใช่สิริมงคลให้คนอื่นหาได้ไม่.-๑

(ธรรมนีติ ธนกถา ๘๐, มหารหนีติ ๒๕๐, ขุ. ชา. ๒๗/๘๘๕ สิริกาฬกัณณิชาดก)

ศัพท์น่ารู้ :

อตฺตนาว ตัดบทเป็น อตฺตนา+เอว (ด้วยตนนั่นเทียว, ด้วยตนเท่านั้น)

กตา (ถูกกระทำแล้ว) กร+ต > กต+สิ

ลกฺขี, (โชคดี, ศรี, สิริมงคล, สมบัติ, บุญ, วาสนา) ลกฺขี+สิ (อิต.)

อลกฺขี (ไม่มีโชค, ไม่มีศรี, ไม่มีสมบัติ, หมดบุญ, สิ้นวาสนา) น+ลกฺขี > อลกฺขี+สิ

อตฺตนา (ด้วยตนเอง) อตฺต+นา

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

หิ (ที่แท้, ที่จริง, จริงอยู่) นิบาต

ลกฺขึ (ซึ่งสิริมงคง) ลกฺขี+อํ

อลกฺขิญฺจ ตัดบทเป็น อลกฺขึ+จ (และซึ่งสิ่งที่มิใช่สิริมงคล) อลกฺขี+อํ

อญฺโญ (คนอื่น) อญฺญ+สิ สัพพนาม

อญฺญสฺส (แก่ผู้อื่น) อญฺญ+ส สัพพนาม

การิโต (ให้กระทำ) กร+เณ+อิ+ต > การิต+สิ

ส่วนในมหารหนีติ (คาถา ๒๕๐) คาถานี้ มีการใช้ศัพท์ที่ต่างกันนิดหน่อย ดังนี้.

อตฺตนา  กุรุเต  ลกฺขี,  อลกฺขีจาปิ  อตฺตนา;

น  หิ  ลกฺขี  อลกฺขี จ,  อญฺโญ  อญฺญสฺส  กุรุเต.

แต่ในพระบาฬี-ชาดก (ขุ. ชา. ๒๗/๘๘๕, สิริกาฬกัณณิชาดก) มีข้อความดังนี้.

อตฺตนา  กุรุเต  ลกฺขึ,  อลกฺขึ  กุรุเตตฺตนา;

น  หิ  ลกฺขึ  อลกฺขึ  วา,  อญฺโญ  อญฺญสฺส  การโก.

-๑ คำแปล จากคำนำหนังสืออุปปาตสันติ โดยพระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ความมีบุญวาสนาตนก็ทำไว้เอง ความเสื่อมบุญวาสนา  ตนก็ทำไว้เอง ความมีบุญวาสนาหรือเสื่อมบุญวาสนา  คนอื่นทำให้แก่คนอื่นไม่ได้เลย ฯ

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ความมีบุญวาสนา ตนก็ทำไว้เอง  ความเสื่อมบุญวาสนา ตนก็ทำไว้เอง  ความมีบุญหรือมีกรรม  ใครทำให้ใครไม่ได้เลย.

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali





Previous Post
Next Post

0 comments: