วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

การล้างบาปในศาสนาพุทธ

การล้างบาปในศาสนาพุทธ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้

คำว่า “บาป” ในที่นี้ มีความเข้าใจที่ แตกต่างกันอยู่ คือ ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจคำนี้ว่า “คือวิบากของกรรมชั่วที่ต้อง ชดใช้” แต่ในศาสนาพุทธมุ่งหมายถึงสภาวะที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นเหตุ ให้ทำทุจริตทางกาย วาจา ใจ นั่นก็คือกิเลสนั่นเอง ฉะนั้น คำถามนี้จึงตอบ ได้ว่า เฉพาะบุญอย่างเดียวยังล้างบาปไม่ได้ บุญช่วยได้แต่ชะลอวิบากกรรม ไว้ชั่วคราวเท่านี้ และไม่มีวิธีการใดที่จะลบล้าง

กรรมที่ทำไปแล้วด้วยเจตนาได้

แต่พระพุทธเจ้าทรงพบเงื่อนไขว่า กรรม..ลบล้างไม่ได้ก็จริง แต่ สามารถหลีกหนี้ไปให้พ้นจากการต้องรับวิบากกรรมได้ ด้วยการกำจัดเชื้อที่ ทำให้ต้องเกิดอีก เพราะเมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องรับวิบากกรรมใด ๆ อีกต่อไป

เชื้อที่ก่อให้เกิดการเกิดใหม่ก็คือ “กิเลสตัณหา” นั่นเอง ซึ่งสามารถ ชำระล้างได้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วย “มรรคญาณ” ที่เกิดจากการเจริญ วิปัสสนาในพระพุทธศาสนา เพียงเท่านั้น

ศาสนาพุทธล้างบาปได้หรือไม่?   ตอบว่า : ศาสนาพุทธล้างบาปให้ ใครไม่ได้ นอกจากผู้นั้นจะได้ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาทำมรรคญาณให้เกิดขึ้น ด้วยตนเอง ซึ่งมรรคญาณนี้แหละเป็นคุณเครื่องชำระล้างบาป ได้อย่าง แท้จริง มิใช่เพียงแค่ความเชื่อลมๆ แล้งๆ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงแล้วก็จะ รู้แจ้งสภาวะจิตของตนเองว่า ล้างบาปได้แล้วหรือยัง ไม่ต้องให้ใครมาบอก

หรือบงการ เหมือนกับเราลิ้มรสมะนาวแล้วรู้ว่าเปรี้ยวโดยไม่ต้องไปเชื่อใคร หรือให้ใครมาบอก อีกต่อไป

พระพุทธเจ้าตรัสถึงมุนีผู้ล้างบาปได้แล้วไว้ว่า “บุคคลผู้เป็นมุนีทาง กาย เป็นมุนี้ทางวาจา เป็นมุนี้ทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะแล้ว เป็นมุนี้ผู้สมบูรณ์ ด้วยโมเนยยธรรม เป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว”

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า “ล้างบาปได้แล้ว เพราะเป็นผู้ชำระล้าง บาปทั้งปวง.ทั้งภายในและภายนอกได้แล้ว ด้วยมรรคญาณ”

มรรคญาณ คือ ญาณที่ทำหน้าที่ประหารกิเลส หรือจะกล่าวว่าล้าง กิเลสก็ได้ เป็นญาณลำดับขั้นที่ ๑๔ ในญาณ ๑๖ ที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนา ภาวนาเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน เท่านั้น ซึ่งแบ่งความสามารถในการ ประหาณกิเลสออกเป็น ๔ ขั้น ดังนี้

๑. โสดาปัตติมรรคญาณ ทำหน้าที่ประหาณสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส (มิจฉาทิฏฐิ และวิจิกิจฉา) ได้เด็ดขาด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา จนสำเร็จญาณนี้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นผู้มีศีล ๕ อยู่โดย ปกติ (โดยไม่ต้องรักษา) มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ไม่ตกไปในนรกอีก แล้ว มีความแน่นอนที่จะสำเร็จพระอรหันต์อีกไม่เกิน ๗ ชาติ

๒. สกทาคามิมรรคญาณ ไม่ได้ประหาณกิเลส เพียงแต่บรรเทาราคะ โทสะให้เบาบาง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าเป็นพระสกทาคามี มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เมื่อเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา หรือ มนุษย์ก็เกิดได้เพียง ๑ ครั้ง

๓. อนาคามิมรรคญาณ ทำหน้าที่ประหาณราคะ โทสะ ได้โดยเด็ด ขาดสิ้นเชิง และบรรเทาโมหะให้เบาบาง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าเป็นพระอนาคามี

๔. อรหัตตมรรคญาณ ประหาณสังโยชน์ที่ผูกมัดใจ

ได้ทั้ง ๑๐ ประการ โดยเด็ดขาด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าบรรลุ อรหันต์โดยสมบูรณ์ นับว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุ ให้เกิดบาป และไม่มีกิเลสให้ถือกำเนิดในภพใหม่อีกต่อไป” พระอรหันต์ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ต้อง ไม่แก่ไม่ต้องตาย

ไม่ต้องรับวิบากกรรมใดๆ อีกต่อไป

🙏🙏🙏

(บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หมายถึง พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป เป็นผู้มี ความเห็นชอบ (ม.อ.อ. (บาลี) ๓/๑๒๗/๓๔, องเอกก.อ. (บาลี) ๑/๒๖๘/๕๐๒) ดูใน อง.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑๐๗/๒๕๐. bey ๖๘

ล้างบาปด้วยมรรคญาณ (ขุ.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๑๗๓)

ที่มา : http://dhamma.serichon.us





Previous Post
Next Post

0 comments: