วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565

กาลทาน คือทานที่ควร ทานที่มาถึงแล้วตามกาล

กาลทาน คือทานที่ควร ทานที่มาถึงแล้วตามกาล

กาลทานนั้นพระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า “กาลทานานีติ  ยุตฺตทานานิ,  ปตฺตทานานิ  อนุจฺฉวิกทานานีติ  อตฺโถ” แปลความว่า  “กาลทาน คือ ทานที่ควร (หรือ) ทานที่มาถึงแล้ว (ตามกาลเวลา)  อธิบายว่า ทานอันสมควร (แก่กาลหรือแก่ผู้รับ) ดังนี้

พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในกาลทานสูตรว่า  “ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน (จัดตอนรับอาคันตุกะ)

๒. ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป (จัดเลี้ยงส่งผู้เตรียมจะย้าย)

๓. ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เป็นไข้ (ดูแลพิเศษในยามป่วยไข้)

๔. ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง (แบ่งปันในยามข้าวยากหมากแพง)

๕. ทายกย่อมให้ข้าวอย่างดีและผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล (ถวายแก่ท่านผู้มีศีลก่อนแล้ว ตนก็บริโภคภายหลัง)

ดูกรภิกษุทั้งหลายกาลทาน ๕ ประการนี้แล” ดังนี้ ฯ  ในพระพุทธพจน์นั้นพระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า 

ในข้อว่า  “ทายกย่อมให้ข้าวอย่างดีและผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล” หมายถึง ทายกถวายข้าวกล้าดีเลิศและผลไม้ดีเลิศที่ออกคราวแรกจากสวนแก่ท่านผู้มีศีลก่อนแล้ว ตนก็บริโภคภายหลัง

พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาประพันธ์ไว้อีกว่า  “บุคคลผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้ เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส  ทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์

ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนาหรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น  ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง  เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น  แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ

เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก  บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก” ดังนี้ ฯ

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้รู้ภาษิตคือคำที่มีคติควรฟังอันได้แก่พระพุทธพจน์นี้แล้วให้ทานที่สมควรที่มาถึงเข้าตามกาลเวลาดังกล่าวมานี้ โดยปราศจากความตระหนี่ การให้ของทำบุญทำทานเช่นนี้ย่อมได้ผลบุญมาก

ส่วนชนเหล่าอื่นผู้อนุโมทนาอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งก็ดี ผู้ทำการช่วยเหลือที่เป็นงานขวนขวายทางกายก็ดี ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญเช่นเดียวกัน

ดังนั้น ผู้ให้ทานพึงเป็นผู้มีจิตไม่เบื่อหน่าย ให้ทานในบุญเขตคือนาบุญที่ๆ ทานที่ให้แล้วมีผลมากเถิด ขออนุโมทนาสาธุ.

สาระธรรมจากกาลทานสูตร,  พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ , 10/3/65

"วัดนาคูหา" จ.แพร่

วัดนาคูหา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป้นวัดที่ตั้งอยู่บนบ้านนาคูหามีสถานที่ตั้งสวยงาม มีพระพุทธรูป พระเจ้าทันใจตั้งเด่นอยู่กลางนา ภายในวัดมีสถานที่ทางธรรมชาติที่สวยงาม มีสะพานไม้ขัวแคร่เชื่อมต่อผ่านทุ่งนาไปยังถ้ำผาสิงห์ เป้นวัดในหมู่บ้านที่อยู่ยอดดอยสูง ห่างจากตัวเมือง แพร่ประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้ถนนหมายเลข 1024 การเดินทางเข้าออกหมู่บ้านถนนผ่านเพียงแค่เส้นเดียว หมู่บ้าน นาคูหาตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ ถือแหล่งโอโซนชั้นดี ติดอันดับ 1 ใน 7 ของประเทศไทย 

Wat Na Khuha is a beautiful Buddhist temple in Suan Khuean Subdistrict, Mueang Phrae District, Phrae Province, Thailand.

Feature - Buddha image Large size in the middle of the field, you can see the beautiful nature around the temple.

History - Wat Na Khuha is a small temple in the midst of a beautiful and peaceful valley. And during the holidays, there will be people and tourists come to visit and pay homage to the Buddha image. Inside the viharn, there is a Buddha image in local style that looks simple but still maintains the unique beauty of Lanna style, for the villagers to pay their respects. "Phra Chao Ton Luang" at Na Khuha Temple is respected by the people in the community. "Phra Ton Luang" can be considered as the only one in Thailand who holds an anchor and has to pray with an anchor only. This anchor is commonly held in the village by praying for blessings in terms of good health and disease-free. Wat Na Khuha is an old temple of Ban Na Khuha. Behind King Ton Luang is a golden yellow corn field. Next will be a verdant rice field with the atmosphere in the evening when the setting sun reflects on the golden King Ton Luang.

Source : https://thailandtourismdirectory.go.th/en/attraction/97396

ภาพ :  นักรบตะวันออก







Previous Post
Next Post

0 comments: