วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

“ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์”

“ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์”

มิใช่ว่าแค่มีเงินมีทองอย่างเดียวเท่านั้น เราจะใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ แต่เงินทองที่เราหาได้มานั้นพระพุทธองค์ตรัสสอนให้ใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ด้วย ดังเนื้อความที่ปรากฏในอาทิยสูตรว่า

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี  ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า 

“คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้  ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ

๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๑

๒. อริยสาวก  ย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๒

๓. อริยสาวก  ย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท ทำตนให้ปลอดภัย นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓

๔. อริยสาวก  ย่อมทำพลี ๕ อย่าง  คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ (๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสียภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔

๕. อริยสาวก  ย่อมตั้งทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดีมีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและความประมาท ดำรงมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และโสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ดับเย็นสนิท ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม  นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๕

คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล” ดังนี้เป็นต้น

เหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเช่นนี้ เพราะถ้าเมื่อบุคคลนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล้ว แม้โภคทรัพย์จะหมดสิ้นไป บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้  บุคคลนั้นจึงไม่มีวิปปฏิสาร (ไม่เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง)

อนึ่ง ถ้าเมื่อบุคคลนั้นได้ถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ บุคคลนั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารเช่นเดียวกัน กลับได้ความปีติเพิ่มขึ้นอีก ดังนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น บุคคลใดใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม แม้บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้แล.

สาระธรรมจากอาทิยสูตร

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ  14/3/65

ปราสาทนครหลวง หรือ พระนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ปราสาทนครหลวงสร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นโดยเอาปราสาทนครหลวง เข้าไปไว้ในเขตของวัดด้วย และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม

ปราสาทนครหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในชื่อ พระนครหลวง

Prasat Nakhon Luang

Prasat nakhon Luang is located in amphoe Nakhon Luang near River Pa Sak, Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province. The word "Nakhon Luang" is derived from "Muang Phra Nakhon Luang" aka "Sriyasothornpura" in Cambodia. The temple's architectural quality imitated Pra Sat Sila in Kingdom of Cambodia, ordered by King Pra Sat Thong in 1631 after he had occupied the throne for two years. The castle was built near Wat Thep Chandra to celebrate the king's honor that he could take Cambodia back.The castle used to be kings' rural residence when travelling to praise Buddha footprint in Saraburi and staying over night while going to Lopburi. The Prasat was gorgeously yellow. Then the mondop was built, following by four Buddha footprints inside the castle. Later these building were renovated and noticeably became more like western and Chinese, but the residences next to the castle are ruins. Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn came here to perform the castle opening ceremony in 1995.Initially, the construction of the castle began by making the soil hill. The whole castle was made of bricks and cement. It was surrounded by triforium in square shape and also Prang Tid and Prang Rai. Another interesting place nearby is Sarn Prachan Loy (Floating Moon Pavillion). It is in front of the castle. The building is a tetrahedron with Floating Moon made of huge granite plate from Wat Thep Chandra Loy inside. There is also Wat Mai Pra Chum Pon anear. It has beautiful Ayutthaya Period's style of Ubosot and Buddhaprang.Don't forget to see Prasat Nakhon Luang in the countryside when visiting Ayutthaya. As it's not very crowded so it fits those who love peaceful tourist attractions to enjoy seeing stunning architectur.

Source: https://www.tourismthailand.org/Attraction/prasat-nakhon-luang

ภาพ :  นักรบตะวันออก



Previous Post
Next Post

0 comments: