วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

คนชอบหาเรื่อง

คนชอบหาเรื่อง

น  วินา  ปรวาเทน,    รมนฺติ  ทุชฺชนา  ขลุ;
น  สา  สพฺพรเส  ภุตฺวา,     วินาสุทฺเธน  ตุสฺสติ.

พวกทุรชนคนชั่วย่อมไม่รื่นเริง  ยกเว้นหาเรื่องทะเลาะกะคนอื่น
สุนัขก็เช่นกัน ชิมรสทุกอย่างแล้ว  ย่อมพอใจหามิได้ ยกเว้นคูถ.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๓,  มหารหนีติ ๑๒๙)

ศัพท์น่ารู้ :

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

วินา (เว้น, ยกเว้น, นอกจาก) นินาต

ปรวาเทน (คำกล่าวของผู้อื่น, คำโต้แย้ง)

รมนฺติ (ยินดี, พอใจ,​ รักใคร่) √รม+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

ทุชฺชนา (คนชั่ว, ทุรชน ท.) ทุ+ชน > ทุชฺชน+โย แปลง โย ปฐมวิภัตติ เป็น อา

ขลุ, ขลู (คนชั่ว, เลว, ตะกอน, ขุ่นมัว) ขลุ+โย

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สา (สุนัข, หมา) สา+สิ อาการันต์ในปุงลิงค์

สพฺพรเส (รสทั้งปวง ท., สรรพรส) สพฺพ+รส > สพฺพรส+โย แปลง โย ทุติยาวิภัตติ เป็น เอ

ภุตฺวา (กิน, บริโภค) √ภุช+อ+ตฺวา > ภุตฺวา+สิ ลบ สิ

วินา (เว้น, นอกจาก) นิบาต

สุทฺเธน (หมดจด, สะอาด) สุทฺธ+นา, (ศัพท์นี้ในมหารหนีติเป็น อุจฺเจน หมายถึง อุจจาระ, คูถ ฉะนั้นจึงตามนัยมหารหนีติ) อนึ่ง คงเป็นบทสนธิว่า วินา+อสุทฺเธน ก็เป็นได้ ซึ่งหมายถึงของไม่สะอาด หรือคูถนั้นเอง. หมายเหตุ : ในต้นฉบับท่านพิมพ์ติดกันดังนี้ นวินาปรวาเทน, รมนฺติทุชฺชนาขลุ;

นสาสพฺพรเสภุตฺวา, วินาสุเทฺธนตุสฺสติฯ ก็เลยไม่ทราบว่าแยกกันหรือติดกันแน่ระหว่าง วินา สุทฺเธน.

ตุสฺสติ (ยินดี, ร่าเริง, พอใจ) √ตุส+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

ในมหารหนีติ คาถา ๑๒๙ มีศัพท์ในบาทคาถาสุดท้ายที่ต่างกัน่อย่างชัดเจน ดังนี้

น  วินา  ปรวาเทน,    รมนฺเต  ทุชฺชนา  ขลุ;

น  สา  สพฺพรเส  ภุตฺวา,    วินา  วจฺเจน  ตุสฺสติ.

คนชั่วคนเลวยินดีหาอะไรๆ หามิได้  ยกเว้นการโต้แย้งกะผู้อื่น, 

สุนัขก็เหมือนกัน  ชิมรสทุกอย่างแล้ว ย่อมพอใจหามิได้ ยกเว้นคูถ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ทุรชนแท้ย่อมไม่ชอบใจอะไร นอกจากภริยาผู้อื่น นางงามนั้นชิมรสทุกอย่างแล้ว ก็ไม่ชอบใจอะไร  นอกจากชายโสด.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ทรชนไม่ชอบใจอะไรนอกจากเมียท่าน  นางงามนั้น เมื่อได้ชิมรสทุกอย่างแล้ว  ก็ไม่ชอบใจอะไรนอกจากชายโสด.

หมายเหตุ : สำนวนแปลของท่านบุพราจารย์ทั้งสองที่ปรากฏเช่นนั้น เพราะว่า คาถาต้นฉบับที่ท่านใช้แปลมีข้อความแตกต่างกัน (คลาดเคลื่อน ในบาทที่ ๑ เป็น ปรทาเรน และบาทสุดท้ายท่านแยกเป็น วินา สุทฺเธน ) ดังนี้

น  วินา  ปรทาเรน,​    รมนฺติ  ทุชฺชนา  ขลุ;

น  สา  สพฺพรเส  ภุตฺตา,     วินา  สุทฺเธน  ตุสฺสติ.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ , คุณของคนพาล , ว่าเขาเป็นเสียเอง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร  


 วัดอ่างสุวรรณ (โบสถ์ไม้ตาล'หลังเดียวในโลก) จ.ประจวบคีรีขันธ์.






วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ว่าเขาเป็นเสียเอง

ว่าเขาเป็นเสียเอง

อิโตหาสตรํ  โลเก,    กิญฺจิ  ตสฺส  น  วิชฺชติ;
ทุชฺชโนติ  จ  ยํ  อาห,   สุชนํ  ทุชฺชโน  สยํ.

ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่น่าขบขัน  ยิ่งไปกว่าเรื่องต่อไปนี้อีกแล้ว
คือ คนพาลเรียกคนดีว่าคนชั่ว  ที่แท้ ตัวนั่นแหละเป็นคนชั่วเสียเอง.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๒, มหารหนีติ ๑๒๗)

ศัพท์น่ารู้ :

อิโต (แต่นี้, ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น) อิม+โต ปัจจัยลงหลังสัพพนาม เรียกว่า วิภัตติปปัจจยวิธาน วิธีแห่งปัจจัยที่กล่าวอรรถวิภัตติ.

หาสตรํ (น่าหัวเราะกว่า, น่าขำกว่า) หาส+ตร ปัจจัยในวิเสสตัดธิต > หาสตร+สิ

โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ

กิญฺจิ (สิ่งไร, บางสิ่ง, บางอย่าง) กึ+จิ > กิญฺจิ สัพพนาม

ตสฺส (...นั้น,​ ของคนพาลนั้น) ต+ส สัพพนาม

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

วิชฺชติ (มีอยู่) √วิท+ย+ติ ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก

ทุชฺชโนติ ตัดบทเป็น ทุชฺชโน+อิติ (ว่าทุรชน, ว่าคนไม่ดี) ทุ+ชน > ทุชฺชน+สิ

(ก็, ด้วย, และ) นิบาต

ยํ (..ใด) ย+อํ สัพพนาม

อาห (กล่าว) √พฺรู+อ+ติ หรือ √พฺรู+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก (ดูวิธีสำเร็จรูปในปทรูปสิทธิ สูตร ๕๐๒)

สุชนํ (คนดี, สุชน) สุ+ชน > สุชน+อํ

ทุชฺชโน (คนชั่ว, ทุรชน)

สยํ (เอง, ตัวเอง) สย+อํ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

สำหรับพวกพาล ไม่มีอะไรในโลกที่จะชอบใจไป  

กว่าความบัดซบเหล่านี้ ยังกลับลงเอาคนดีว่า

เป็นคนชั่ว (เซ่อเซอะโง่เง่า) แต่ที่แท้เขาเอง คือ คนชั่ว.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ไม่มีอะไรในโลก จะชอบใจคนพาลยิ่งกว่าความบัดซบ

แถมยังเห็นคนดีเป็นคนชั่วอีกด้วย

แต่ที่แท้ตัวคนพาลเองนั่นแหละคือคนชั่ว.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ , คุณของคนพาล

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร  

"วัดเขาพลอง" จ.ชัยนาท

หรือ วัดปฐมเทศนาอรัญวาสี อ.เมือง ประดิษฐาน "พระพุทธอริยธัมโม" พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ ศิลปะสุโขทัยงดงาม สามารถเดินขึ้นบันไดนาคไปสักการะ หรือขับรถยนต์ขึ้นไปชมวิวบนยอดเขาได้

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

นายช่างศร

นายช่างศร

นำเอาไม้ไผ่ลำหนึ่งมาจากป่าแล้ว  ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก)  แล้วทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่ถ่านเพลิง  ดัดที่ง่ามไม้ทำให้หายคดคือให้ตรง  ทำให้เป็นลูกศรควรที่จะยิงสัตว์ได้  ก็แลครั้นทำแล้ว   จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์  ย่อมได้สักการะและความนับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด

บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ผู้รู้แจ้ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  ทำจิตนี้อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น  ให้หมดเปลือก คือ ให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์และการอยู่ในป่า  แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา  ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต  ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คดได้แก่ให้สิ้นพยศ  ครั้นทำแล้ว  หมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลาย  ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว  ทำคุณวิเศษนี้ คือ

วิชชา ๓  อภิญญา ๖  โลกุตรธรรม ๙  ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว  ย่อมได้ความเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ดังนี้ ฯ

ดังพระพุทธพจน์ว่า

ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ     ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี       อุสุกาโรว เตชนํ
วาริโชว ถเล ขิตฺโต    โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ       มารเธยฺยํ ปหาตเวติ ฯ

แปลว่า

“ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น

จิตนี้ (อันพระโยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรค (เรื่องพระเมฆิยเถระ)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ



คุณของคนพาล

คุณของคนพาล

จารุตา  ปรทาราย,   ธนํ  โลกตปตฺติยา;
ปสุตํ  สาธุนาสาย,   ขเล  ขลตรา  คุณา.

คุณที่เลวระยำในคนพาล มีดังนี้คือ:
๑. ความงามของเมียเขา มีไว้เพื่อเป็นชู้
๒. ทรัพย์มีไว้เพื่อทำให้โลกเดือดร้อน
และ ๓. ขวนขวายเพื่อทำลายคนดี.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๑, มหารหนีติ ๑๒๖)

ศัพท์น่ารู้ :

จารุตา (ความเป็นผู้ดุจทองคำ) จารุ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต > จารุตา+สิ ลบ สิ, วิ. จารุโน ภาโว จารุตา.

ปรทาราย (ภรรยาของผู้อื่น) ปร+ทาร > ปรทาร+ส แปลง จตุตถีวิภัตติเป็น อาย ได้บ้าง § อาย จตุตฺเถกวจนสฺส ตุ. (รู ๓๐๔)

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

โลกตปตฺติยา (เพื่อทำโลกให้เดือดร้อน) โลก+ตปตฺติ? > โลกตปตฺติ+ส ในมหารหนีติ เป็น โลก-ตปฺปติยา ทั้งสองแห่งยังไม่ชัดเจนว่า วิธีทำตัวสำเร็จรูปเป็นอย่างไร? เท่าที่ทราบ รู้แต่ว่า „ตป“ ศัพท์ แปลว่า เผา, ทำให้ร้อน และทรมาน.

ปสุตํ (การขวนขวาย, พยายาม, ปรากฏ) ปสุต+สิ

สาธุนาสาย (เพื่อความทำลาย- ทำให้เสียหายแก่คนดี) สาธุ+นาส > สาธุนาส+ส

ขเล (ในคนพาล, ชั่ว, เลว) ขล+สฺมึ

ขลตรา (เลวกว่า, ชั่วกว่า) ขล+ตร ปัจจัยในวิเสสตัทธิต > ขลตร+โย

คุณา (คุณ, ความดี ท.) คุณ+โย

ส่วนในมหารหนีติ คาถา ๑๒๖ มีข้อความต่างกันในบาทคาถาที่ ๒ ดังนี้...

จารุตา  ปรทาราย,   ธนํ  โลกตปฺปติยา;

ปสุตํ  สาธุนาสาย,   ขเล  ขลตรา  คุณา.

ความงามของเมียเขา มีไว้เพื่อเป็นชู้ ๑

มีทรัพย์ไว้เพื่อทำให้โลกเดือดร้อน ๑

และขวนขวายเพื่อทำลายคนดี ๑

ทั้งสามนี้ เป็นคุณที่เลวระยำในพวกคนพาล.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ในจำพวกพาล ความเป็นคนสวยเปรียบด้วยทอง

สำหรับเป็นชู้ด้วยภรรยาผู้อื่น, ทรัพย์สำหรับทำโลก

ให้เดือดร้อน, การขวนขวายทำกิจสำหรับทำลาย

ความดี ความยิ่งบัดซบนั่นแหละ กลับเป็นคุณ

สำหรับพวกพาล.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ในจำพวกคนพาล ความสวยงามเปรียบดังทองเพื่อทำชู้เมียท่าน

คนพาลมีทรัพย์ก็เพื่อจะทำให้โลกเดือดร้อน

ช่วยเหลือก็เพื่อทำลายความดี

ความเย่อหยิ่งบัดซบนั่นแหละเป็นลักษณะคนพาล.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


วัดนันตาราม อ.เชียงคำ จ.พะเยา




บัณฑิตตกต่ำ

บัณฑิตตกต่ำ

มุฬฺหสิสฺโสปเทเสน,    กุนารีภรเณน  จ;
ขลสตฺตูหิ สํโยคา,    ปณฺฑิโตปฺยวสีทติ.

เพราะคำแนะนำของศิษย์ที่โง่เขลา  เพราะการเลี้ยงดูนารีชั่ว
และเพราะคบหาศัตรูคือคนพาล  แม้เป็นบัณฑิต ก็ตกต่ำได้.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๐, มหารหนีติ ๑๑๙, กวิทัปปณนีติ ๑๓๐, โลกนีติ ๑๒๗)

ศัพท์น่ารู้ :

มุฬฺหสิสฺโสปเทเสน (เพราะคำแนะนำของศิษย์โง่เขลา​, เพราะแนะนำศิษย์ที่โง่เขลา) มูฬฺห (หลง, งมงาย, โง่เขลา) +สิสฺส (ศิษย์, ผู้ควรสั่งสอน) +อุปเทส (คำแนะนำ, ข้อชี้แนะ) > มุฬฺหสิสฺโสปเทส+นา, แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙)

กุนารีภรเณน (เพราะเลี้ยงดูหญิงไม่ดี, -นารีชั่ว) กุ = กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ, ชั่ว) +นารี (นารี, หญิง) > กุนารี (หญิงไม่ดี,​ สตรีชั่ว) +ภรณ (การเลี้ยงดู, การชุบเลี้ยง) > กุนารีภรณ+นา

(ด้วย, และ) เป็นนิบาต

ขลสตฺตูหิ (ด้วยศัตรูชั่ว, -ศัตรูที่เป็นพาล) ขล+สตฺตุ > ขลสตฺตุ+หิ

สํโยคา (เพราะประกอบ, คบหา, สมคบ, สมาคม) สํ+โยค > สํโยค+สฺมา

ปณฺฑิโตปฺยาวสีทติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อปิ+อวสีทติ

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ

อวสีทติ (จมลง, ดิ่งลง, ตกต่ำ, เสียชื่อเสียง) อว+√สท+อ+ติ แปลง สท เป็น สีท ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สทสฺส สีทตฺตํ. (รู ๔๘๔) มาจากธาตุเดียวกันกับกริยาศัพท์ว่า นิสีทติ ที่แปลว่า ย่อมนั่ง, ส่วนในสัททนีติ ธาตุมาลา เป็น สีท ธาตุโดยตรงไม่ต้องทำการแปลงหรืออาเทศอีก.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

เพราะเหตุที่สอนศิษย์โง่  แลเพราะมีสตรีชั่วเป็นที่พำนัก

แลเพราะประกอบด้วยศัตรูคือคนพาล  แม้เป็นบัณฑิตก็ต้องตกต่ำ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

เพราะเหตุที่สอนศิษย์โง่  เพราะมีสตรีถ่อยเป็นที่พำนัก

เพราะอยู่ร่วมกับศัตรูคือคนโง่  ถึงเป็นบัณฑิตก็ต้องตกต่ำ.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

ขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์

ขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์

ไม่มีความทุกข์ใดเช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ นั้นเราต้องรักษา ต้องดูแล ต้องปกครอง ต้องดำเนินการ ?

๑. ต้องรักษา ด้วยการเลี้ยงดูให้กิน ให้ดื่ม ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือด้วยการออกกำลังกายบ้าง

๒. ต้องดูแล ด้วยการเอาใจใส่ ปกปักรักษา ให้อาบน้ำ ทาผิว บำรุงกำลังด้วยอาหารและยาต่างๆ และเมื่อเสื่อมก็ต้องดูแลเยียวยารักษาให้ดี

๓. ต้องปกครอง ด้วยการมีวินัยในการใช้ชีวิต ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์มีเลี้ยงชีวิตนี้ได้ ได้ทรัพย์มาแล้วจะใช้จ่ายแต่ละครั้งก็ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายรู้จักเผื่อเหลือเผื่อขาด มีวินัยในการใช้ชีวิตที่ต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวพันธ์กับคนรอบข้างและคนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากต้องรู้จักเลือกคบคน และจะทำอย่างไรเมื่อชีวิตจนตรอก เพราะเวลามีสุขอาจจะเพลิดเพลินกับลาภยศ แต่เมื่อหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างบางคนอาจต้องจบชีวิต แต่ทำอย่างไรเราจึงจะยืนอยู่ได้ไปจนตลอดชีวิต นั่นคือรู้จักความพอเพียงตั้งแต่เริ่มต้นชีวิต อย่าได้ประมาทในการใช้ชีวิต

๔. ต้องดำเนินการ ด้วยการทำให้เป็นไป คือทำตามที่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ จึงต้องคิดทำประโยชน์คุณที่จะเป็นเหตุให้มีความสุขในภพหน้าชาติหน้าต่อไป หรือเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด คือความมีใจเป็นอิสระ ความมีจิตหลุดพ้นจากการถูกบังคับบงการชีวิตด้วยอำนาจของความอยากได้ อยากมี อยากเป็น จนมีจิตใจปลอดโปร่งผ่องใสเบิกบานอยู่เป็นพื้นฐานเพราะปราศจากกิเลส คือนิพพาน

ดังพระพุทธพจน์ว่า

นตฺถิ  ราคสโม อคฺคิ     นตฺถิ  โทสสโม  กลิ

นตฺถิ  ขนฺธาทิสา  ทุกฺขา    นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขนฺติ ฯ

แปลว่า

“ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี,  โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,  ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี,  สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี” ดังนี้ ฯ

ท่านอรรถาธิบายไว้ว่า

“ไฟอื่นที่เสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี เพราะไฟราคะสามารถที่จะไม่แสดงควัน เปลว หรือถ่านออกมาให้ปรากฏ แต่ไหม้ในจิตใจภายในเท่านั้นแล้วจึงกระทำกองเถ้าให้ปรากฏ

แม้โทษที่เสมอด้วยโทสะก็ย่อมไม่มี เพราะโทสะประทุษร้ายทั้งตนเองและผู้อื่น

ส่วนทุกข์ที่เสมอด้วยขันธ์ทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะขันธ์ทั้งหลายแม้ที่บุคคลบริหารอยู่ด้วยการดูแลรักษาปกครองดำเนินการอย่างดีแต่ก็เป็นทุกข์ได้ในกาลทุกเมื่อ ด้วยทุกข์ประจำสังขารคือความเกิดแก่เจ็บตายอันไม่มีผู้ใดหนี้พ้น

ดังนั้น สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพาน ย่อมไม่มี, แม้ความจริงแล้ว สุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน แต่พระนิพพานเป็นบรมสุข” ดังนี้ ฯ

สาระธรรมจากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรค (เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง)

พระมหาวัชระ เชยรัมย์ (ติกฺขญาโณ) วัดสามพระยา กรุงเทพ ฯ


ขัดสีถ่าน

ขัดสีถ่าน

พุเธหิ  สาสมาโนปิ,    ขโล  พหุตเกตโว;
ฆํสิยมาโนปงฺคาโร,     นิลมตฺตํ  นิคจฺฉติ.

คนพาล แม้เหล่าผู้รู้สั่งสอนอยู่  ก็ยังเป็นคนโกงหลอกลวงเหมือนเดิม
เปรียบเหมือนถ่านไฟถึงคนขัดสีอยู่  ย่อมถึงความเป็นสีหม่น ๆ นั่นเอง.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๙, มหารหนีติ ๑๒๕)

ศัพท์น่ารู้ :

พุเธหิ  (ผู้รู้, คนมีปัญญา ท.) พุธ+หิ

สาสมาโนปิ  ตัดบทเป็น สาสมาโน+อปิ (แม้สั่งสอนอยู่, แม้ถูกสั่งสอนอยู่?) √สาส+อ+มาน > สาสมาน+สิ, ถ้าเป็นรูปกัมมวาจก ต้องเป็น สาสิยมาโน (อันเขาสั่งสอนอยู่, ถูกสั่งสอนอยู่)

ขโล  (คนพาล, คนโง่, ดักดาน, ลานข้าว, ตะกอน, ความชั่ว) ขล+สิ

พหุตเกตโว  (คนโกง-, คนหลอกลวงได้หลากหลาย) พหุต (หลาย, มาก) + เกตว (โกง, หลอกลวง,​ สกา) > พหุตเกตว+สิ

ฆํสิยมาโนปงฺคาโร  ตัดบทเป็น ฆํสิยมาโน+อปิ+องฺคาโร, √ฆํส+อิ+ย+มาน > ฆํสิยมาน+สิ = ฆํสิยมาโน (อันเขาขัดสีอยู่, -เสียดสีอยู่, ถูกขัดสีอยู่) ถ้าเป็นกัมมวาจก นิยมใช้กัน มาน ปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้เป็น อนฺต ปัจจัย, อปิ (แม้) เป็นนิบาต, องฺคาร+สิ = องฺคาโร (ถ่านเพลิง, เถ้า, ถ่านไฟ).

นิลมตฺตํ  (สักว่าเป็นสีนิล, เพียงหม่นๆ, ดำนิล) นิล+มตฺต > นิลมตฺต+อํ

นิคจฺฉติ  (เข้าไป, เข้าถึง, มาถึง, ผ่านไป, บรรลุ) นิ+√คมุ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ในมหารหนีติ คาถา ๑๒๕ มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้

พุเธหิ  ภาสมาโนปิ,   ขโล  พหุตเกตโว;

ฆํสิยมาโน  องฺคาโร,   นิลมตฺตํ  น  คจฺฉติฯ

คนโง่เขลา แม้พวกผู้รู้บอกกล่าวอยู่  ก็ยังเป็นคนหลอกลวงขี้โกงวันยังค่ำ

เปรียบเหมือนถ่านไฟถึงเขาขัดสีอยู่  ย่อมไม่ทำให้เป็นสีเขียวได้เลย.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนสันดานโง่ แม้ผู้รู้จะพากันสั่งสอนอยู่มากสัก  เท่าไร ๆ ก็ดี ก็ย่อมงง ๆ อยู่นั่นเอง ชนิด

เดียวกับถ่านเพลิง แม้จะขัดสีสักเท่าไร สีหม่น ๆ เท่านั้นย่อมคลายออก [อันจะฟอกให้ขาวไม่ได้เลย].

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนสันดานโง่ แม้ผู้รู้จะพากันสั่งสอนสักเท่าไร ๆ  ก็ยังงง ๆ อยู่นั่นเอง อย่างเดียวกับถ่านเพลิง

แม้จะขัดสีสักเท่าไร ๆ ก็ยังดำอยู่นั้นเอง  จะให้ขาวไม่ได้เลย.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


วัดป่าห้วยลาด อ.ภูเรือ จ.เลย หลากพุทธศิลป์ในดินแดนภูเรือ

วัดป่าแห่งนี้เดิมชื่อว่าสำนักสงฆ์ห้วยลาดก่อตั้งขึ้นโดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และต่อมาได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้วัดป่าห้วยลาดได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาดของอำเภอภูเรือเลยทีเดียว
มีศาลาเฉลิมพระเกียรติที่ใหญ่โตโอ่อ่า สง่างาม ซึ่งประดิษฐานพระประธานสีขาวบริสุทธิ์  มีนามว่า พระสัพพัญญูรู้แจ้งสามแดนโลกธาตุ องค์ใหญ่ที่สุด ซึ่งงดงามปานเทวดาสร้างและศักดิ์สิทธิ์...




วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หม้อน้ำพร่อง

หม้อน้ำพร่อง

ยทูนกํ  สณติ  ตํ,    ยํ  ปูรํ  สนฺตเมว  ตํ;
อฑฺฒกุมฺภุปโม  พาโล,    ยํ  ปูรกุมฺโภว  ปณฺฑิโต.

สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นส่งเสียงดัง  สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นแลสงบนิ่ง

คนพาลเหมือนหม้อน้ำที่พร่อง  ส่วนบัณฑิตเหมือนหม้อที่เต็ม.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๘, มหารหนีติ ๑๒๔)

ศัพท์น่ารู้ :

ยทูนกํ  ตัดบทเป็น ยํ+อูนกํ (สิ่งใด+ที่พร่อง, ที่ขาด, ที่ไม่เต็ม) ย+สิ = ยํ, อูนก+สิ = อูนกํ.

สณติ  (ทำเสียง, ส่งเสียง) √สณ+อ+ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

ตํ  (สิ่งนั้น) ต+สิ สัพพนาม

ยํ  (สิ่งใด) ย+สิ สัพพนาม

ปูรํ (เต็ม, บูรณ์) ปูร+สิ

สนฺตเมว  ตัดบทเป็น สนฺตํ (สงบ, นิ่ง) + เอว (นั่นเทียว,​ เท่านั้น)

ตํ  (สิ่งนั้น) ต+สิ สัพพนาม

อฑฺฒกุมฺภุปโม  (เปรียบเหมือนหม้อ(มีน้ำ)ครึ่งหนึ่ง) อฑฺฒ (กึ่ง, ครึ่ง) +กุมฺภ (หม้อ, ไห) +อุปม,​ อุปมา (เปรียบเทียบ,​ อุปมา) > อฑฺฒกุมฺภุปม+สิ (มหารหนีติ ทำทีฆะสระ เป็น อฑฺฒกุมฺภูปโม)

พาโล  (คนพาล, คนโง่) พาล+สิ

ยํ  (สิ่งใด) ย+สิ สัพพนาม

ปูรกุมฺโภว  ตัดบทเป็น ปูรกุมฺโภ+อิว (เปรียบหมือนหม้อเต็ม) ปูร (เต็ม, แน่น) +กุมฺภ (หม้อ, ไห) > ปูรกุมฺภ+สิ = ปูรกุมฺโภ. ส่วน อิว ศัพท์เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ

ปณฺฑิโต  (บัณฑิต, คนฉลาด) ปณฺฑิต+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

น้ำ [ในหม้อ] ถ้าพร่องต้องกระฉอก ที่เต็มเปี่ยม ย่อมสงบเฉย 

คนพาลอุปมาเหมือนน้ำครึ่งหม้อ  ส่วนบัณฑิตเหมือนน้ำเต็มหม้อ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

น้ำในหม้อ ถ้าพร่องต้องกระฉอก  ที่เต็มเปี่ยมย่อมสงบเฉย

คนพาลเปรียบเสมือนน้ำครึ่งหม้อ  ส่วนบัณฑิตเปรียบเสมือนน้ำเต็มหม้อ.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร