บัณฑิตตกต่ำ
มุฬฺหสิสฺโสปเทเสน, กุนารีภรเณน จ;
ขลสตฺตูหิ สํโยคา, ปณฺฑิโตปฺยวสีทติ.
เพราะคำแนะนำของศิษย์ที่โง่เขลา เพราะการเลี้ยงดูนารีชั่ว
และเพราะคบหาศัตรูคือคนพาล แม้เป็นบัณฑิต ก็ตกต่ำได้.
(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๐, มหารหนีติ ๑๑๙, กวิทัปปณนีติ ๑๓๐, โลกนีติ ๑๒๗)
ศัพท์น่ารู้ :
มุฬฺหสิสฺโสปเทเสน (เพราะคำแนะนำของศิษย์โง่เขลา, เพราะแนะนำศิษย์ที่โง่เขลา) มูฬฺห (หลง, งมงาย, โง่เขลา) +สิสฺส (ศิษย์, ผู้ควรสั่งสอน) +อุปเทส (คำแนะนำ, ข้อชี้แนะ) > มุฬฺหสิสฺโสปเทส+นา, แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙)
กุนารีภรเณน (เพราะเลี้ยงดูหญิงไม่ดี, -นารีชั่ว) กุ = กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ, ชั่ว) +นารี (นารี, หญิง) > กุนารี (หญิงไม่ดี, สตรีชั่ว) +ภรณ (การเลี้ยงดู, การชุบเลี้ยง) > กุนารีภรณ+นา
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
ขลสตฺตูหิ (ด้วยศัตรูชั่ว, -ศัตรูที่เป็นพาล) ขล+สตฺตุ > ขลสตฺตุ+หิ
สํโยคา (เพราะประกอบ, คบหา, สมคบ, สมาคม) สํ+โยค > สํโยค+สฺมา
ปณฺฑิโตปฺยาวสีทติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อปิ+อวสีทติ
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
อวสีทติ (จมลง, ดิ่งลง, ตกต่ำ, เสียชื่อเสียง) อว+√สท+อ+ติ แปลง สท เป็น สีท ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สทสฺส สีทตฺตํ. (รู ๔๘๔) มาจากธาตุเดียวกันกับกริยาศัพท์ว่า นิสีทติ ที่แปลว่า ย่อมนั่ง, ส่วนในสัททนีติ ธาตุมาลา เป็น สีท ธาตุโดยตรงไม่ต้องทำการแปลงหรืออาเทศอีก.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
เพราะเหตุที่สอนศิษย์โง่ แลเพราะมีสตรีชั่วเป็นที่พำนัก
แลเพราะประกอบด้วยศัตรูคือคนพาล แม้เป็นบัณฑิตก็ต้องตกต่ำ.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
เพราะเหตุที่สอนศิษย์โง่ เพราะมีสตรีถ่อยเป็นที่พำนัก
เพราะอยู่ร่วมกับศัตรูคือคนโง่ ถึงเป็นบัณฑิตก็ต้องตกต่ำ.
_______
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว , หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร
วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
0 comments: