วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ขัดสีถ่าน

ขัดสีถ่าน

พุเธหิ  สาสมาโนปิ,    ขโล  พหุตเกตโว;
ฆํสิยมาโนปงฺคาโร,     นิลมตฺตํ  นิคจฺฉติ.

คนพาล แม้เหล่าผู้รู้สั่งสอนอยู่  ก็ยังเป็นคนโกงหลอกลวงเหมือนเดิม
เปรียบเหมือนถ่านไฟถึงคนขัดสีอยู่  ย่อมถึงความเป็นสีหม่น ๆ นั่นเอง.

(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๑๙, มหารหนีติ ๑๒๕)

ศัพท์น่ารู้ :

พุเธหิ  (ผู้รู้, คนมีปัญญา ท.) พุธ+หิ

สาสมาโนปิ  ตัดบทเป็น สาสมาโน+อปิ (แม้สั่งสอนอยู่, แม้ถูกสั่งสอนอยู่?) √สาส+อ+มาน > สาสมาน+สิ, ถ้าเป็นรูปกัมมวาจก ต้องเป็น สาสิยมาโน (อันเขาสั่งสอนอยู่, ถูกสั่งสอนอยู่)

ขโล  (คนพาล, คนโง่, ดักดาน, ลานข้าว, ตะกอน, ความชั่ว) ขล+สิ

พหุตเกตโว  (คนโกง-, คนหลอกลวงได้หลากหลาย) พหุต (หลาย, มาก) + เกตว (โกง, หลอกลวง,​ สกา) > พหุตเกตว+สิ

ฆํสิยมาโนปงฺคาโร  ตัดบทเป็น ฆํสิยมาโน+อปิ+องฺคาโร, √ฆํส+อิ+ย+มาน > ฆํสิยมาน+สิ = ฆํสิยมาโน (อันเขาขัดสีอยู่, -เสียดสีอยู่, ถูกขัดสีอยู่) ถ้าเป็นกัมมวาจก นิยมใช้กัน มาน ปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้เป็น อนฺต ปัจจัย, อปิ (แม้) เป็นนิบาต, องฺคาร+สิ = องฺคาโร (ถ่านเพลิง, เถ้า, ถ่านไฟ).

นิลมตฺตํ  (สักว่าเป็นสีนิล, เพียงหม่นๆ, ดำนิล) นิล+มตฺต > นิลมตฺต+อํ

นิคจฺฉติ  (เข้าไป, เข้าถึง, มาถึง, ผ่านไป, บรรลุ) นิ+√คมุ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ในมหารหนีติ คาถา ๑๒๕ มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้

พุเธหิ  ภาสมาโนปิ,   ขโล  พหุตเกตโว;

ฆํสิยมาโน  องฺคาโร,   นิลมตฺตํ  น  คจฺฉติฯ

คนโง่เขลา แม้พวกผู้รู้บอกกล่าวอยู่  ก็ยังเป็นคนหลอกลวงขี้โกงวันยังค่ำ

เปรียบเหมือนถ่านไฟถึงเขาขัดสีอยู่  ย่อมไม่ทำให้เป็นสีเขียวได้เลย.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนสันดานโง่ แม้ผู้รู้จะพากันสั่งสอนอยู่มากสัก  เท่าไร ๆ ก็ดี ก็ย่อมงง ๆ อยู่นั่นเอง ชนิด

เดียวกับถ่านเพลิง แม้จะขัดสีสักเท่าไร สีหม่น ๆ เท่านั้นย่อมคลายออก [อันจะฟอกให้ขาวไม่ได้เลย].

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

คนสันดานโง่ แม้ผู้รู้จะพากันสั่งสอนสักเท่าไร ๆ  ก็ยังงง ๆ อยู่นั่นเอง อย่างเดียวกับถ่านเพลิง

แม้จะขัดสีสักเท่าไร ๆ ก็ยังดำอยู่นั้นเอง  จะให้ขาวไม่ได้เลย.

_______

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว ,  หม้อน้ำพร่อง

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร 


วัดป่าห้วยลาด อ.ภูเรือ จ.เลย หลากพุทธศิลป์ในดินแดนภูเรือ

วัดป่าแห่งนี้เดิมชื่อว่าสำนักสงฆ์ห้วยลาดก่อตั้งขึ้นโดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และต่อมาได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้วัดป่าห้วยลาดได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวห้ามพลาดของอำเภอภูเรือเลยทีเดียว
มีศาลาเฉลิมพระเกียรติที่ใหญ่โตโอ่อ่า สง่างาม ซึ่งประดิษฐานพระประธานสีขาวบริสุทธิ์  มีนามว่า พระสัพพัญญูรู้แจ้งสามแดนโลกธาตุ องค์ใหญ่ที่สุด ซึ่งงดงามปานเทวดาสร้างและศักดิ์สิทธิ์...




Previous Post
Next Post

0 comments: