คุณของคนพาล
จารุตา ปรทาราย, ธนํ โลกตปตฺติยา;
ปสุตํ สาธุนาสาย, ขเล ขลตรา คุณา.
คุณที่เลวระยำในคนพาล มีดังนี้คือ:
๑. ความงามของเมียเขา มีไว้เพื่อเป็นชู้
๒. ทรัพย์มีไว้เพื่อทำให้โลกเดือดร้อน
และ ๓. ขวนขวายเพื่อทำลายคนดี.
(ธรรมนีติ ทุชชนกถา ๑๒๑, มหารหนีติ ๑๒๖)
ศัพท์น่ารู้ :
จารุตา (ความเป็นผู้ดุจทองคำ) จารุ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต > จารุตา+สิ ลบ สิ, วิ. จารุโน ภาโว จารุตา.
ปรทาราย (ภรรยาของผู้อื่น) ปร+ทาร > ปรทาร+ส แปลง จตุตถีวิภัตติเป็น อาย ได้บ้าง § อาย จตุตฺเถกวจนสฺส ตุ. (รู ๓๐๔)
ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ
โลกตปตฺติยา (เพื่อทำโลกให้เดือดร้อน) โลก+ตปตฺติ? > โลกตปตฺติ+ส ในมหารหนีติ เป็น โลก-ตปฺปติยา ทั้งสองแห่งยังไม่ชัดเจนว่า วิธีทำตัวสำเร็จรูปเป็นอย่างไร? เท่าที่ทราบ รู้แต่ว่า „ตป“ ศัพท์ แปลว่า เผา, ทำให้ร้อน และทรมาน.
ปสุตํ (การขวนขวาย, พยายาม, ปรากฏ) ปสุต+สิ
สาธุนาสาย (เพื่อความทำลาย- ทำให้เสียหายแก่คนดี) สาธุ+นาส > สาธุนาส+ส
ขเล (ในคนพาล, ชั่ว, เลว) ขล+สฺมึ
ขลตรา (เลวกว่า, ชั่วกว่า) ขล+ตร ปัจจัยในวิเสสตัทธิต > ขลตร+โย
คุณา (คุณ, ความดี ท.) คุณ+โย
ส่วนในมหารหนีติ คาถา ๑๒๖ มีข้อความต่างกันในบาทคาถาที่ ๒ ดังนี้...
จารุตา ปรทาราย, ธนํ โลกตปฺปติยา;
ปสุตํ สาธุนาสาย, ขเล ขลตรา คุณา.
ความงามของเมียเขา มีไว้เพื่อเป็นชู้ ๑
มีทรัพย์ไว้เพื่อทำให้โลกเดือดร้อน ๑
และขวนขวายเพื่อทำลายคนดี ๑
ทั้งสามนี้ เป็นคุณที่เลวระยำในพวกคนพาล.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ในจำพวกพาล ความเป็นคนสวยเปรียบด้วยทอง
สำหรับเป็นชู้ด้วยภรรยาผู้อื่น, ทรัพย์สำหรับทำโลก
ให้เดือดร้อน, การขวนขวายทำกิจสำหรับทำลาย
ความดี ความยิ่งบัดซบนั่นแหละ กลับเป็นคุณ
สำหรับพวกพาล.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
ในจำพวกคนพาล ความสวยงามเปรียบดังทองเพื่อทำชู้เมียท่าน
คนพาลมีทรัพย์ก็เพื่อจะทำให้โลกเดือดร้อน
ช่วยเหลือก็เพื่อทำลายความดี
ความเย่อหยิ่งบัดซบนั่นแหละเป็นลักษณะคนพาล.
_______
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👉 เห็นผิดเป็นพาล , คนพาลสำคัญผิด , ลบรอยบาป , ลักษณะคนโง่ , ลักษณะคนเลว , ใจคนชั่ว , หม้อน้ำพร่อง , ขัดสีถ่าน , บัณฑิตตกต่ำ
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ , 8. นิสสยกถา - แถลงนิสัย , ๙. มิตตกถา - แถลงมิตร
0 comments: