วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565

ทรัพย์เพื่อนแท้

ทรัพย์เพื่อนแท้

ธนหีนํ  จเช  มิตฺตา,   ปุตฺตทารา  สโหทรา;
ธนวนฺเตว  เสวนฺติ,   ธนํ  โลเก  มหาสขา.

เพื่อนย่อมทิ้งเพื่อนที่ไร้ทรัพย์,  ลูกก็ทิ้งพ่อแม่ ภรรยาก็ทิ้งสามี  พี่น้องร่วมท้องเดียวก็ทิ้งกันได้  พวกเขาคบหาเฉพาะคนมีทรัพย์  ทรัพย์เป็นเพื่อนแท้ในโลก.

(ธรรมนีติ ธนกถา ๗๘, โลกนีติ ๘๑, มหารหนีติ ๑๓๙, กวิทัปปณนีติ ๒๓๕)

ศัพท์น่ารู้ :

ธนหีนํ (คนที่เลวด้วยทรัพย์. คนเสื่อมทรัพย์, คนสิ้นทรัพย์) ธน+หีน > ธนหีน+อํ

จเช (สละ, ละ, ทิ้ง) จช+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลง เอยฺย, เอยฺยาสิ, เอยฺยามิ เอยฺยํ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)

มิตฺตา (มิตร, เพื่อน, เกลอ) มิตฺต+โย (ในคัมภีร์อื่นที่เหลือ เป็น มิตฺโต)

ปุตฺตทารา (ลูกและเมีย, บุตรและภรรยา) ปุตฺต+ทาร > ปุตฺตทาร+โย

สโหทรา (ผู้เกิดร่วมท้องเดียวกัน, พี่น้องกัน) สห+อุทร > สโหทร+โย

ธนวนฺเตว ตัดบทเป็น ธนวนฺเต+เอว (ผู้มีทรัพย์เท่านั้น, เฉพาะคนมีทรัพย์) ธนวนฺตุ+โย, แปลง ที่สุดของ นฺตุ ปัจจัยเป็น อ ด้วยสูตรว่า นฺตุสฺสนฺโต โยสุ จ. (รู ๑๐๐), เอว ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถอวธารณะ (ห้าม, เจาะจง, บ่งให้ชัด) แปลว่า นั่นเทียว, เท่านั้น

เสวนฺติ (เสพ, คบหา, เสวนา) √เสว+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ

มหาสขา (เพื่อส่วนใหญ่, เพื่อนส่วนมาก, เพื่อนที่สำคัญ, เพื่อนที่ประเสริฐ) มหนฺต+สข > มหาสข+โย

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

คนไร้ทรัพย์เพื่อนก็ทิ้ง ลูกเมียแลพี่น้องร่วมท้องกัน   ก็อาจทิ้งได้ ส่วนคนที่มีทรัพย์เท่านั้นย่อมงาม  ทรัพย์ย่อมเป็นสหายใหญ่ในโลก.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

พอทรัพย์สิ้น เพื่อนก็ทิ้ง  ลูกเมียญาติพี่น้องร่วมท้องก็อาจทิ้งได้  คนมีทรัพย์เท่านั้นมีสง่า  ทรัพย์เป็นสหายในโลก.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ







Previous Post
Next Post

0 comments: