วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

๖. ธนกถา - แถลงทรัพย์ - อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

สทฺธาธนํ  สีลธนํ,    หิริโอตฺตปฺปิยํ  ธนํ;
สุตธนญฺจ  จาโค  จ,    ปญฺญา  เว  สตฺตมํ  ธนํ.

อริยทรัพย์มี ๗ ประการ คือ :  ๑. ทรัพย์คือศรัทธา ๒. ทรัพย์คือศีล  ๓. ทรัพย์คือหิริ ๔. ทรัพย์คือโอตตัปปะ;  ๕. ทรัพย์คือสุตะ ๖. ทรัพย์คือจาคะ และ  ๗. ทรัพย์คือ ปัญญา.

(ธรรมนีติ ธนกถา ๗๕, กวิทัปปณนีติ ๑๗๖, องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕)

ศัพท์น่ารู้ :

สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา, -ความเชื่อ) สทฺธา+ธน > สทฺธาธน+สิ วิ. สทฺธา เอว ธนํ สทฺธาธนํ (ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า สัทธาธนะ) อวธารณบุพพบท กัมมธารยสมาส.

สีลธนํ (ทรัพย์คือศีล) สีล+ธน > สีลธน+สิ วิ. สีลํ เอว ธนํ สีลธนํ (ทรัพย์คือศีล ชื่อว่า สีลธนะ) อวธารณบุพพบท กัมม.

หิรี (หิริ, ความละอายต่อบาป) หิริ+สิ

โอตฺตปฺปิยํ (โอตตัปปะ, ความเกรงกลัวต่อบาป) โอตฺตปฺปิย+สิ

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

สุตธนญฺจ ตัดบทเป็น สุตธนํ+จ (และทรัพย์คือสุตะ, พหูสูตร) สุต+ธน > สุตธน+สิ

จาโค (การสละ, การให้) จาค+สิ

จ (ด้วย, และ) นิ.

ปญฺญา (ปัญฺญา, ความรู้ทั่ว, รู้ตามเป็นจริง) ปญฺญา+สิ

เว (แล) นิ. ทำบทให้เต็ม (ปทปูรณ)

สตฺตมํ (ทีเจ็ด) สตฺตม+สิ

ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ทรัพย์คือความเชื่อ ความสงบการวาจา  ความละอาย ความเกรงกล้ว แลความเผื่อแผ่  รวมทั้งปัญญาด้วย เป็นทรัพย์ประเสริฐสุด.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ ๑. ศรัพท์ ความเชื่อ ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย  ๓. หิริ ความละอายใจ ๔. โอตัปปะ ความกลัวผิด ๕. สุตะ ความเรียนรู้ ๖. จาคะ ความเผื่อแผ่  ๗. ปัญญา ความรอบรู้ ทั้ง ๗ นี้ เป็นทรัพย์อันประเสริฐแท้.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

6. ธนกถา นิฏฺฐิตา  :  จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ,  76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ


Previous Post
Next Post

0 comments: