วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565

ปากเป็นเอก

ปากเป็นเอก

อิจฺฉิตพฺเพสุ   กมฺเมสุ,      วาจาย  กุสลํ  มูลํ;
วาจาย  กุสเล  นฏฺเฐ,    อิจฺฉิตพฺพํ  น  สิชฺฌติ.

ความฉลาดในการเจรจาเป็นเบื้องต้น  (แห่งความสำเร็จ)ในการงานที่ปรารถนา  เมื่อไม่มีความฉลาดในการเจรจา  สิ่งที่ปรารถนา ย่อมไม่สำเร็จ.

(ธรรมนีติ กถากถา ๗๓ )

ศัพท์น่ารู้ :

อิจฺฉิตพฺเพสุ (ที่ควรถูกปรารถนา, ที่พึงถูกต้องการ) √อิสุ+อิ+ตพฺพ > อิจฺฉิตพฺพ+สุ แปลงที่สุด อิสุ ธาตุเป็น จฺฉ ได้บ้าง § อิสุยมูนมนฺโต จฺโฉ วา. (รู ๔๗๖)

กมฺเมสุ (ในกรรม, การงาน, กิจการ ท.) กมฺม+สุ

วาจาย (ในวาจา, คำพูด) วาจา+ส หรือ วาจา+สฺมึ ก็ได้ หลัง อาการันต์ในอิตถีลิงค์ แปลง ส เป็น อาย § ฆโต นาทีนํ. (รู ๑๗๙)

กุสลํ (ความฉลาด, กุศล) กุสล+สิ

มูลํ (มูล, ราก, ฐาน) มูล+สิ

วาจาย (วาจา, คำพูด)

กุสเล (เมื่อกุศล,​ ความฉลาด) กุสล+สฺมึ

นฏฺเฐ (ฉิบหาย, พินาศ, ไม่มีแล้ว) นส+ต > นฏฺฐ+สฺมึ

อิจฺฉิตพฺพํ (ที่ถูกปรารถนา, ที่ถูกต้องการ) √อิส+อิ+ตพฺพ > อิจฺฉิตพฺพ+สิ

น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สิชฺฌติ (สำเร็จ, สมหวัง) √สิธ+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ.

อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้

ความฉลาดแห่งวาจา  เป็นมูลรากในกิจการที่ตนปรารถนา

เมื่อความฉลาดสำหรับพูดไม่มีแล้ว  ที่ปรารถนาไว้ก็ย่อมไม่สำเร็จ.

อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...

ความฉลาดพูด เป็นมูลฐานในกิจการที่ตนปรารถนา

เมื่อไม่ฉลาดพูดสิ่งที่ปรารถนาไว้ก็ไม่สำเร็จ.

Credit: Palipage: Guide to Language - Pali

5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ 👇

74. ปากเป็นนาย , 73. ปากเป็นเอก , 72. หลักการพูด , 71. อย่าพูดมาก , 70.  คำสุภาษิต ,  69. เพื่อนมากเพื่อนน้อย , 68. เย็นกว่านั้นอีก ,  67. พึงชนะด้วยความอ่อนโยน , 66. วาจาของคนดี , 65. ดุจน้ำมันราชสีห์ , 64. คำสุภาษิตมีองค์ ๔

อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇

1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ ,  2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ  ,  3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา ,  4. สุตกถา - แถลงความรู้,  5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ ,  6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ

วัดมณีวงศ์ จังหวัดนครนายก

วัดมณีวงศ์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครนายก โดดเด่นด้วยความมีชื่อเสียงของถ้ำพญานาค ซึ่งภายในถ้ำมีความงดงาม​ตระการตา สุดอลังการมาก 







Previous Post
Next Post

0 comments: