เหล่าชนผู้มีทรัพย์
อิตฺถีนญฺจ ธนํ รูปํ, ปุริสานํ ธนํ กุลํ;
อุรคานํ ธนํ วิสํ, ภูปาลานํ ธนํ พลํ;
ภิกฺขูนญฺจ ธนํ สีลํ, พฺรหฺมณานํ ธนํ วิชฺชา.
สตรีมีรูปเป็นทรัพย์, บุรุษมีตระกูลเป็นทรัพย์, งูมีพิษเป็นทรัพย์, พระราชามีพระราชอำนาจเป็นทรัพย์, ภิกษุมีศีลเป็นทรัพย์, พราหมณ์มีวิชา(เวท)เป็นทรัพย์.
(ธรรมนีติ ธนกถา ๗๖, กวิทัปปณนีติ ๓๐๐, โลกนีติ ๙๕)
ศัพท์น่ารู้ :
อิตฺถีนญฺจ ตัดบทเป็น อิตฺถีนํ+จ (ของหญิง, สตรี ท. + ด้วย) อิตฺถี+นํ = อิตฺถีนํ; ส่วน จ ศัพท์เป็นนิบาต แปลว่า ด้วย, และ ใช้ในอรรถวากยสมุจจยัตถะ (รวมรวมพากย์)
ธนํ (ทรัพย์, สมบัติ, ของมีค่า) ธน+สิ
รูปํ (รูป, ลักษณะ, ทรวดทรง) รูป+สิ
ปุริสานํ (ของบุรูษ, ชาย ท.) ปุริส+นํ
กุลํ (ตระกูล, สกุล
อุรคานํ (แห่งผู้ไปด้วยอก, งู, นาค ท.) อุรค+นํ
วิสํ (พิษ) วิส+สิ
ภูปาลานํ (แห่งผู้รักษาผินดิน, พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา ท.) ภู+ปาล > ภูปาล+นํ
พลํ (กำลัง, พลัง, อำนาจ) พล+สิ
ภิกฺขูนญฺจ ตัดบทเป็น ภิกฺขูนํ+จ (ของภิกษุ ท. + ด้วย) ภิกฺขุ+นํ = ภิกฺขูนํ; จ ศัพท์เป็นนิบาต
สีลํ (ศีล, ปกติ) สีล+สิ
พฺรหฺมณานํ (ของพราหมณ์ ท.) พฺรหฺมณ+นํ
วิชฺชา (วิชา, ความรู้, พระเวท) วิชฺชา+สิ
ส่วนในโลกนีติและกวิทัปปณนีติ คาถานี้มีเพียง ๔ บาท ดังนี้ :
อิตฺถีนญฺจ ธนํ รูปํ, ปุริสานํ วิชฺชา ธนํ,
ภิกฺขูนญฺจ ธนํ สีลํ, ราชานญฺจ ธนํ พลํ.
สตรีมีรูปเป็นทรัพย์, ชายมีวิชาเป็นทรัพย์, พระภิกษุมีศีลเป็นทรัพย์, พระราชามีพระราชอำนาจเป็นทรัพย์.
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
รูปเป็นทรัพย์สำหรับหญิง สกุลเป็นทรัพย์สำหรับชาย พิษเป็นทรัพย์สำหรับงู พลนิกายเป็นทรัพย์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ศีลเป็นทรัพย์สำหรับภิกษุ วิชา (เวท) เป็นทรัพย์สำหรับพราหมณ์.
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
รูปเป็นทรัพย์ของหญิง สกุลเป็นทรัพย์ของชาย พิษเป็นทรัพย์ของงู พลนิกายเป็นทรัพย์ของพระเจ้าแผ่นดิน ศีลเป็นทรัพย์ของภิกษุ และ วิชาเป็นทรัพย์ของพราหมณ์(ครู).
Credit: Palipage: Guide to Language - Pali
6. ธนกถา นิฏฺฐิตา : จบแถลงทรัพย์ 👉 75. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง , 76. เหล่าชนผู้มีทรัพย์ , 77. ทรัพย์ช่วยได้ , 78. ทรัพย์เพื่อนแท้ , 79. ทรัพย์มีเพื่อนก็มา , 80. บุญกรรมต้องทำเอง
อ่านบทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม👇
1. อาจริยกถา แถลงอาจารย์ , 2. สิปปกถา - แถลงศิลปะ , 3. ปัญญากถา - แถลงปัญญา , 4. สุตกถา - แถลงความรู้ , 5. กถากถา - แถลงถ้อยคำ , 6. ธนกถา - แถลงทรัพย์ , 7. เทสกถา - แถลงประเทศ
0 comments: