วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

อานิสงส์โพชฌงค์ ๗

อานิสงส์โพชฌงค์ ๗

ปัญหา เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ และจะเกิดอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ คือ

(๑) จะได้บรรลุอรหัตตผลโดยพลัน ในปัจจุบัน

(๒) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตตผลในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบัน ในเวลาใกล้ตาย จะได้เป็นพระอนาคามี ประเภทอันตราปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบัน ในเวลาใกล้ตาย ก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามี ประเภทอันตราปรินิพพายี... จะได้เป็น พระอานาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ประเภทอันตราปรินิพพายี... ทั้งประเภทอุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และ ไม่ได้เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี... จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๗) ถ้าในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายี... จะได้เป็นพระอนาคามีอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

ที่มา:  สีลสูตร มหา. สํ. (๓๘๒)

☸️☸️☸️

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่าง คือ

1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร

4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ

5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ

6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

☸️☸️☸️














Previous Post
Next Post

0 comments: